19 มิ.ย. 2020 เวลา 13:22 • การศึกษา
เยี่ยมชม...โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนรัชชประภา
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
หากเป็นช่วงเวลาปกติ ณ ขณะนี้โรงเรียนต่างๆ ในประเทศไทยก็คงเป็นเวลาแห่งการเปิดเทอมเริ่มการเรียนการสอนมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว
แต่สถานการณ์ไวรัสโคโรนา โควิด-๑๙ ที่ยังไม่สงบดี ทำให้รัฐบาลต้องมี
มาตรการต่าง ๆ ต่อไป
โดยเฉพาะโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
(สพฐ.) ที่ยังต้องหยุดทำการเรียนการสอนต่อไป โดยมีกำหนดการเปิดเทอมตามที่ประกาศไว้แต่เดิม คือ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓
ดังนั้น ในระยะนี้นักเรียนหลายคนหลายโรงเรียนก็เลยต้องมีประสบการณ์
การเรียนแบบใหม่ที่ไม่ค่อยคุ้นเคย
นั่นคือ การเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นการเรียนอยู่หน้าจอทีวีหรือไม่ก็โทรศัพท์
ซึ่งจะหวังผลให้มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลเหมือนได้ทำกิจกรรมจริง ๆ
กันในห้องเรียนโดยมีครูผู้สอนตัวเป็นๆคอยกำกับอยู่ในห้องก็คงจะไม่เต็มที่...แต่ก็เป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่าที่มีและคิดได้ ณ เวลานี้แล้ว
เมื่อพูดถึงการเรียนการสอนในยามปกติ กิจกรรมหนึ่งที่นักเรียนจะได้
ประโยชน์มาก ๆ เนื่องจากได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงและตรง
คือ การทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้
วันนี้ขอพาทุกท่านไปร่วมทัศนศึกษาแหล่ง
เรียนรู้กับเด็ก ๆ ที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฎร์ธานีค่ะ
เขื่อนรัชชประภาหรือเขื่อนเชี่ยวหลาน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ (แห่งแรกคือเขื่อนบางลาง จ.ยะลา)
แวะสันเขื่อนกันก่อนค่ะ
เขื่อนรัชประภาหรือเขื่อนเชี่ยวหลานเป็นเขื่อนที่สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ต.เขาพัง อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี
เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง ๙๔ เมตร ความยาวสันเขื่อน ๗๖๑ เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก ๕ แห่ง อ่างเก็บน้ำมีความจุ ๖,๖๓๙ ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ๑๘๕ กิโลเมตร
สำหรับโรงไฟฟ้าซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้คราวนี้ ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดตั้งเครื่องผลิต
ไฟฟ้าเครื่องละ ๘๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๓ เครื่องรวมกำลังการผลิต
๒๔๐,๐๐๐ กิโลวัตต์ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ ๕๕๔ ล้าน
กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง
คุณครูกับเด็กๆ
ส่วนลานไกไฟฟ้าตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำ ห่างจากโรงไฟฟ้าประมาณ
๑๐๐ เมตร ทำหน้าที่ส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าด้วยสายส่งไฟฟ้า
ขนาด ๒๓๐กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงสุราษฎร์ธานี
ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร และขนาด ๑๑๕ กิโลโวลต์ วงจรคู่ไปยังสถานี
ไฟฟ้าแรงสูงพังงา ระยะทาง ๘๒ กิโลเมตร
ขั้นตอนการเข้าชม เมื่อไปถึงโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนรัชชประภา ก็จะฟังการ
บรรยายให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่ก่อนเป็นเบื้องต้น
ฟังการบรรยายจากเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าชมห้องปฏิบัติการ
หลังจากนั้นก็เข้าแถวเดินตามเจ้าหน้าที่เข้าออกห้องต่าง ๆ โดยเฉพาะห้อง
ควบคุมการผลิตได้เห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ และกลไกการทำงานของ
เครื่องจักรกลต่าง ๆ เป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง
เดินชมภายในโรงไฟฟ้า
เป็นความรู้นอกห้องเรียน ที่ได้จากการได้ไปดู ไปรู้และไปเห็น นักเรียน
สามารถนำไปต่อยอดและสร้างแรงบันดาลใจ...นับเป็นโอกาสดี ๆที่เด็ก ๆทุกคนควรจะได้รับค่ะ
โฆษณา