20 มิ.ย. 2020 เวลา 12:47 • ประวัติศาสตร์
Section 2: การปฎิวัติเกษตรกรรม(The Agriculture Revolution)
Chapter 5: ข้อมูลล้นสมอง(Memory Overload) และ ลงชื่อ คูชิม (Signed Kushim)
ในยุคสมัยก่อนการวิวัฒนาการนั้นเกิดขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์มีสติปัญญาและพัฒนาสัญชาตญาณให้อยู่รอดท่ามกลางธรรมชาติรอบตัว แต่ว่าวิวัฒนาการกับความสามารถนั้นไม่ได้มาคู่กัน ปัจจุบันก็คือพรสวรรค์กับพรแสวง
ยกตัวอย่างว่าเราไม่ได้วิวัฒนาการมาเพื่อเล่นฟุตบอลหรือบาสเก็ตบอล และเราก็ไม่ได้มียีนส์ที่รู้ว่าการเล่นกีฬาแต่ละชนิดต้องทำอย่างไร แต่เราสามารถรู้ได้จากการจินตนาการถึงวิธีท่าทาง รวมทั้งกฎกติกาได้
กติกาต่างๆในการเล่นกีฬาเป็นเพียงการจดจำข้อมูลสั้นๆที่ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอาณาจักร ศาสนจักรและการค้า แต่ว่าการที่จะจดจำเกี่ยวกับมาตรา หรือคำสอนทางศาสนา ไว้ในสมองของมนุษย์คนใดคนหนึ่งคงจะเป็นไปได้ยาก
ซึ่งน่าเสียดายที่ว่ามนุษย์เรานั้นไม่สามารถส่งต่อความรู้ผ่านมาดีเอ็นเอไปยังรุ่นหลานของเราได้ ถ้าหากเป็นเช่นนี้ระเบียบแบบแผนก็คงจะล่มสลายสูญหายไปในที่สุด ถ้าเรามองในมุมของพระราชาฮัมมูราบี ที่ได้มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมขึ้นมาเป็น อภิชน สามัญชน และทาส ก็เพื่อที่จะให้แต่ะชนชั้นจดจำรายละเอียดเกี่ยวชนชั้นของตนและสืบทอดไปยังรุ่นต่อไป
ฮัมมูราบี
การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภาษีอากร บัญชีของกองทัพ และปฎิทินเทศกาลเหล่านี้ได้ถูกเก็บไว้ในสมองของมนุษย์ แต่เหตุผล3ข้อที่จะพิสูจน์ว่าข้อมูลปริมาณมหาศาลขนาดนี้ไม่สมควรนี่จะดาวน์โหลดลงบนสมองคนใดคนหนึ่ง
เหตุผลที่ 1 การที่บุคคลอายุมากขึ้นแน่นอนว่าประสบการณ์แต่ข้อมูลที่อยู่ในสมองก็จะมากขึ้นเช่นกัน นักกฎหมายบางคนสามารถที่จะจำมาตราได้ทุกหัวข้อในหนังสือกฎหมาย แต่รายละเอียดที่ลงลึกมากเกินไปอ่านทำให้เกิดการสับสนระหว่างข้อมูลในสมองของเค้าเอง
เหตุผลที่ 2 อย่างที่กล่าวไปตอนแรกมนุษย์ไม่สามารถที่จะสืบทอดความรู้ผ่านยีนได้ เพราะฉะนั้นเมื่อผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆถึงเวลาตายสมองก็คงไม่รอดเช่นกัน และข้อมูลชุดนั้นก็จะถูกลืมและลบเลือนไป
ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องมีการถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกศิษย์บ้าง แต่ความน่าจะเป็นของการผิดเพี้ยนจากการถ่ายทอดข้อมูลก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน
เหตุผลที่ 3 สมองของเราเหมาะกับการจดจำในสิ่งที่จำเป็นและเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่นในการสังเกตุหาของพันธุ์พืช สิ่งที่จะแยกชนิดเห็ดมีพิษกับไม่มีพิษอาจจะจดจำลักษณะของสีและสถานที่ที่เกิดขึ้นของเห็ดชนิดนั้นถ้าเห็ดที่ใต้ต้นเอล์มในฤดูใบไม้ร่วงมีโอกาสเป็นพิษ
ส่วนเห็ดที่โตในฤดูหนาวใต้ต้นโอ้คมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดท้องได้ดี ซึ่งเหตุผลในข้อนี้ช่วยให้สมองมนุษย์ปรับตัวร่วมกับธรรมชาติและสังคมได้เป็นอย่างดี
ตั้งแต่หลังจากการปฎิวัติเกษตรกรรมเป็นต้นมาจำนวนข้อมูลได้เพิ่มมากขึ้นในทางคณิตศาสตร์ เนื่องจากขนาดสังคมและประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ต้องมีการจัดการทางบัญชีภาษีสินค้านำเข้าและส่งออก
แน่นอนว่าระบบของสมองมนุษย์ไม่ใช่สามารถที่จะรองรับการประมวลผลในข้อมูลขนาดใหญ่ได้ ถ้าเป็นปัจจุบันก็คือBig data ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยให้การประมวลผลในทางธุรกิจและทำการหาInsightเพื่อการตอบโจทย์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า แล้วในยุคสมัยก่อนพวกเราเริ่มต้นจากอะไรกันหละ
ก็คือ ชาวซูเมอเรียนโบราณ นั่นเองที่ใช้ดินเหนียวที่ผ่านการแผดเผาจากแสงอาทิตย์และนำมาใช้ในการจดบันทึกระเบียบแบบแผน ทำให้ชาวซูเมเรียนนั้นสามารถจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ได้ผ่าน'การเขียน'
อารยธรรมซูเมอเรียน
ซึ่งรูปแบบการจดบันทึกของชาวซูเมเรียน ที่อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟสตีส ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแทนตัวเลขและ คน สัตว์ สิ่งของ รวมทั้งภูมิศาสตร์ ซึ่งตัวเลขที่พวกเค้าคิดคือมานั้นคือระบบเลขฐาน 6 และฐาน10 ที่ช่วยให้เทคโนโลยีในปัจจุบันของเรานั้นพัฒนาพอที่จะพาเราไปอยู่ที่ดาวอังคาร
แต่แน่นอนว่าในสมัยก่อนการเขียนจึงเป็นเรื่องที่ใหม่ดังนั้นมันจึงถูกนำมาใช้งานในเฉพาะเรื่อง การจดบันทึกในสินค้าคงคลัง นี้เป็นเรื่องแรกที่บรรพบุรุษเราได้จดบันทึกไว้ซึ่งไม่เกี่ยวกับด้านปรัชญา หรือ การรบอะไรเลย จึงเรียกว่าเป็นอักขระแบบไม่สมบูรณ์เนื่องจากมีข้อจำกัดของตัวเขียนอยู่มากเลยไม่ได้เขียนบทกลอนรักมาให้คนรุ่นหลังได้อ่านกัน
ต่อมาได้มีการพัฒนาภาษาที่ใช้เชือกและสีในการบ่งบอกคำที่จะสื่อออกมานั่นก็คือภาษา กีปู เป็นการนำเชือกมาผูกเป็นปมในลักษณะของสีที่แตกต่างกันไป วัตถุประสงค์คือนำมาใช้งานที่เฉพาะการเก็บข้อมูลด้านภาษีและทรัพย์สิน
ในขณะเดียวกันจักรวรรดิอินคาที่เป็นจักรวรรดิโบราณใหญ่ที่สุดของทวีปอเมริกาใต้ ปัจจุบันก็คือประเทศเปรู เอกวาดอร์ ทางตอนใต้ของโคลอมเบีย โบลิเวีย และชิลี รวมทั้งบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอาร์เจนตินา ก็ได้นำภาษกีปูมาใช้ใการบริหารธุรกิจกับการปกครองผู้คนถึง10ล้านกว่าคน
ต่อมายุคการล่าอณานิคมที่เกิดขึ้นทำให้ชาวสเปนยึดครองทวีปอเมริกาใต้และได้นำภาษากีปูไปใช้เช่นกัน ชาวสเปนได้ยกเลิกภาษากีปูไปเนื่องจากชาวอินคาที่เป้นชาวพื้นเมืองนั่นมีความเชี่ยวชาญมากกว่าจึงทำให้เกิดการฉ่อโกงขึ้น จากนั้นจึงเป็นการยกเลิกภาษากีปู และเปลี่ยนไปใช้ในภาษาละติน
ขอบคุณครับ นี่ก็คงเป็นchapterสุดท้ายในsectionที่ 2 เกี่ยวกับการปฎิวัติเกษตรกรรมครับ
โฆษณา