19 มิ.ย. 2020 เวลา 08:37 • ข่าว
One Belt One Road ของจีน ไทยตกขบวนจริงหรอ?
.
ประวัติของ One Belt One Road 一带一路 เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) ราชวงศ์ฮั่นขยายเส้นทางการค้าส่วนเอเชียกลางราว 114 ปีก่อน ค.ศ. เพื่อเชื่อมจีนเป็นศูนย์กลางของโลก บนเส้นทางระหว่างจีนกับยุโรปและประเทศในเอเชีย ที่ริเริ่มขึ้นมานั้น วัตถุประสงค์ที่แท้จริงก็เพื่อแสวงหาการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการ คมนาคม พลังงาน การค้า และการสื่อสาร รวมทั้งด้านอื่นๆ ในบรรดาประเทศที่อยู่บนเส้นทางแม้จะถูกนำเสนอในฐานะยุทธศาสตร์ใหม่ แต่โดยเนื้อแท้แล้วเป็นการสานต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาของจีน
เพราะด้วยเศรษฐกิจที่เติบโตช้าลงรัฐบาลจึงต้องเร่งหาโครงการเมกะโปรเจคเพื่ออุ้มเศรษฐกิจของจีนที่มีเเนวโนมถดถอยลง เพื่อสร้างงานให้แกคนในประเทศ
.
งงละสิครับ ว่าจะสร้างงานให้คนในประเทศได้ยังไง?
ในบางประเทศนั้นขาดแคลนแรงงานที่มีความรู้ความสามารถ
ในการก่อสร้างสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนน,รางรถไฟ,วางท่อแก๊ส
เป็นต้น
.
รถไฟความเร็วสูงลาว-จีน
กระทรวงแรงงาน สปป ลาว ยอมรับว่าการก่อสร้างโครงการใช้แรงงาน 30,000 คน และเกือบทั้งหมดเป็นแรงงานจีน ตัวเลขแรงงานชาวจีนในปี 2018 อยู่ที่ 19,000 คน แต่ข้อมูลล่าสุดเดือน ก.พ. พบว่ามีแรงงานชาวจีนกว่า 27,000 คน ชี้ว่ารัฐบาลลาวเพิกเฉยคำมั่นที่จะปรับสัดส่วนแรงงานต่างชาติในโครงการนี้
จีนโต้ไม่ได้สร้างกับดักหนี้ล่อลวงประเทศยากจน ย้ำทำด้วยเจตนาดี
จีนพร้อมปล่อยกู้เงินมหาศาลให้แก่ประเทศที่มีส่วนร่วมกับโครงการ One Belt One Road ของจีน
โดยประเทศที่ลูกหนี้จีนอยู่ตอนนี้คือ
1.ศรีลังกา
สร้างสนามบิน ท่าเรือนํ้าลึก
แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วผลปรากฎเศรษฐกิจภายในประเทศก็ไม่ได้ดีนัก
ส่งผลให้ไม่มีเงินส่งคืนให้กับจีน จากสัญญาที่เซ็นกันไว้หากว่าไม่มีคืนส่งคืนให้กับจีน จีนมีสิทธิได้สัญญาถือเช่าพื้นที่ส่วนนั้น 99 ปี เรียกได้ว่า เป็นการล่าอนานิคมยุคใหม่ กันเลยทีเดียว
2.ปากีสถาน
สร้างท่าเรือนํ้าลึก จำนวน 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
3.บังกลาเทศ
สร้างรถไฟความเร็วสูง โครงสร้างพื้นฐาน
จำนวน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
4.ลาว
ในกรณีของ ลาว แค่มีความเสี่ยงเท่านั้นเพราะเงินที่กู้มา 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น GDP 70 เปอร์เซ็น ของลาวทั้งประเทศเลยทีเดียว
5.มาเลเชีย
สร้างรถไฟความเร็วสูง 20,000 ล้านเหรียญ
และโครงการนี้ยังสร้างโดยบริษัทจีนและแรงงานจีนทั้งหมด
...และเส้นทางทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นทั้งทางบกหรือทางนํ้า
ล้วนแล้วแต่เป็นเส้นทางเพื่อเชื่อมกลับไปถึง "จีน"
....
แล้วโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ละ?
ต้องชื่นชมรัฐบาลว่าสามารถต่อลองกับจีนได้จนสำเร็จ
โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะใช้วิศวกรไทย แรงงานไทย
วัสดุของไทยทั้งหมด โดยวิศวกรจีนจะมีหน้าแนะนำและถ่ายทอดวิชาและตรวจสอบงานโครงการทั้งหมด
.
แม้ว่าไทยจะไม่ได้อยู่แผน One Belt One Road ของจีน
และไม่ได้ถูกเชิญไปในการประชุมครั้งที่ 1
แต่ก็ได้รับเชิญไปในครั้งที่ 2 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
แต่ด้วยด้วยการที่ไทยนั้นเป็นศูนย์กลางของอาเซียน
ไทยจึงจัดอยู่ในแผนระเบียงเศรษฐกิจของจีน
ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าไทยจะถูกลดความสำคัญลงไป
ภาพตัวอย่างรถไฟความเร็วสูงจากจีนมาถึงไทย
จากเมืองคุมหมิงประเทศจีนลงมาถึง สปป.ลาว และจะเข้าไทยในจังหวัดหนองคาย
โดยรถไฟความเร็วสูง(ปานกลาง) ของ สปป.ลาว พร้อมเปิดทำการใน ปี 2021 นี้
.
แล้วตอนนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยเราไปถึงไหนแล้ว?
ขนะนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย กลางดง-ปางอโศก
ได้คืบหน้าไปกว่า 90 เปอร์เซ็นแล้ว โดยโครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566
.
สำหรับรถที่เราใช้นั้นได้แก่ CR300AF
ในขบวนรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน มีทั้งหมด 8 ตู้
แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) อยู่บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่เหลือ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง
และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ขายอาหาร สำนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บกระเป๋าขนาดใหญ่ และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร
สามารถทำความเร็วได้ถึง 300 กม/ชม
แต่สามารถวิ่งในประเทศไทยได้แต่ 250 กม/ชม เท่านั้น
19/08/2563
.
.
CR.
โฆษณา