22 มิ.ย. 2020 เวลา 12:10
Pareto คนโรงงานอย่าแค่รู้จัก แต่ต้องรู้จริง (ตอนที่ 2/4)
⛽️Pareto Chart เครื่องมือสุดคลาสสิค ง่ายๆ ได้ใจความ⛽️
😱 ถ้าหากความพยายามของคุณมีค่า อย่าให้เสียเปล่า จงใช้มันกับสิ่งที่ "ใช่" มากกว่าสิ่งที่ "ชอบ"
จากตอนที่แล้วเราพูดถึงกฏ 80:20 ซึ่งก็คือหลักการ เป็นนามธรรมยังจับต้องไม่ได้ สื่อสารได้ยาก และที่สำคัญอะไรคือสิ่งที่สำคัญจริงๆสำหรับการใช้ทรัพยากรที่มีตอนนี้ให้คุ้มค่า
Pareto ได้คิดเครื่องมือช่วยให้ทุกคนเกิดความกระจ่าง เห็นภาพตรงกันเลื่อนกรอบความคิดจากความเชื่อสู่ข้อเท็จจริงได้อย่างสวยงาม ที่เรียกว่า Pareto Chart
Pareto Chart - แผนภาพพาเรโต้
🌟ในความคิดส่วนตัว ก็แอบคิดเปรียบเทียบ เครื่องมือของ Pareto ว่าเป็นของโบราณที่คลาสสิค มีความเรียบง่าย แต่ลึกซึ้งยิ่งนัก🌟
🗝 จากรูป Pareto Chart มองเผินๆ ก็คือกราฟแท่งปนกับกราฟเส้น เห้ย แต่การผสมกันแบบนี้นี่มันลึกซึ้งนะ มันสร้างความชัดเจนได้อย่างสิ้นข้อส่งสัย ดูง่าย เข้าถึงง่ายมากๆ ช่วยยุติการถกเถียงจากมโน ความจำ ความเชื่อที่ปราศจากข้อเท็จจริงรองรับได้ดีเยี่ยมเลย
ถ้าไม่เชื่อที่ผมพูด ก็ลองพิสูจน์ง่ายๆ โดยที่เราอาจลองเดินไปในโรงงานแล้วถามถึงปัญหาของเสีย หรือปัญหางานสามลำดับแรกกับคนสัก 5 คนก็ได้ แล้วคุณจะพบว่าไม่ทุกคนที่จะบอกหัวข้อปัญหามาได้ไม่เหมือนกัน รวมถึงไม่รู้ลำดับความรุนแรงมากน้อยอย่างถูกต้อง เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะทุกคนไม่ชัด ไม่เห็น ไม่มีการรวบรวมให้ง่ายต่อการเข้าถึง เขามีแค่ความจำ ความเชื่อ และ Sense เท่านั้น ซึ่งคุณว่ามันเพียงพอต่อการบริหารผลงานในโรงงานหรือไม่ ถ้าทุกคนต่างคนต่างไป และที่สำคัญทรัพยากรของโรงงานอาจถูกดูดไปกับ สิ่งที่สำคัญน้อยที่มีอยู่มากมายกระจัดกระจายตามที่ผู้คนมองเห็นและสัมผัสได้ด้วยตา (Trivial Many) แล้วคุณว่าโรงงานจะเป็นยังไงต่อ !!!
🆘 นั้นลองมาดูไปพร้อมๆกัย ว่าองค์ประกอบของ Pareto Chart ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นอย่างไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ดังนี้เลยครับ
1. มีกราฟสองชนิดคือ กราฟแท่งและกราฟเส้นอยู่ร่วมกัน และ
2. มีแกน y สองแกนที่เป็นอิสระต่อกัน และ
3. ข้อมูลของกราฟแท่งถูกเรียงลำดับความถี่จากมากไปหาน้อย
🆘 คุณเชื่อไหมว่าคุณจะไม่พบเอกลักษณ์นี้ในแผนภาพชนิดอื่น โดยเฉพาะในยุคของ Pareto ราวๆ 50 ปีที่แล้ว เจ๋งไหมละ
ดังนั้นลักษณะของแผนภาพที่ปรากฏ จะบอกเรื่องราวดังต่อไปนี้
- กราฟแท่งบอกความถี่ ปริมาณ มูลค่า หรือระดับผลกระทบของปัญหา โดยอ้างอิงหรือเทียบระดับกับแกน y ด้านซ้ายมือ
- กราฟแท่งถูกจัดเรียงความถี่หรือปริมาณจากมากไปน้อย ทำให้เข้าใจ และสร้างภาพในหัวได้ทันที
- กราฟเส้นบอก % ความถี่สะสมของปัญหา เพื่อสะท้อนผลกระทบจากการรวมตัวเมื่อเกิดการเพิ่มเข้ามาของปัญหาตามลำดับ ให้เกิดความง่ายในการพิจรณาผ่านแผนภาพ โดยอ้างอิงหรือเทียบระดับกับแกน y ด้านขวามือ
🤔 สำหรับผมแล้ว ผมว่าเจ๋งมากๆ คิดได้ยังไง เรียบง่าย แต่ทรงประสิทธิผล มีครบจบในที่เดียว
หากลองเอากฏ 80:20 เข้ามาจับ เราก็จะเห็นจากตัวอย่างว่า ปัญหาของเสียมีเพียง 2-3 ชนิดเท่านั้นที่ส่งผลต่อปริมาณของเสียทั้งหมด แล้วเราจะพุ่งไปที่ไหน ทุกคนเห็นเหมือนกัน ชัดเจน ลุยได้
🎡 เมื่อเราพอรู้จักเครื่องมือ และประโยชน์ที่จะได้รับ ในโพสต์หน้าเรามาดูวิธีการแบบ How to กันสักนิด ที่หลายคนสงสัยว่า "แล้วไงต่อ" โดยขอเอากรณีศึกษาทั่วๆไปของโรงงาน คือเรื่องของเสียมาแบ่งปันกันครับ
โฆษณา