19 มิ.ย. 2020 เวลา 10:19 • ความคิดเห็น
เศรษฐกิจสหรัฐแย่แต่ทำไมตลาดหุ้นถึงขึ้น (ที่มาที่ไป)
หลายสัปดาห์มานี้ นักลงทุนนักธุรกิจหรือคนทั่วไปรู้ดีว่าเศรษฐกิจในภาคReal sector นั้นอยู่ในช่วงRecession คือถดถอย แถมประชาชนในภาค Main street นั้นย่ำแย่ธุรกิจค้าขายไม่ได้จากทั้งผลกระทบของCOVID-19 และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว หลายธุรกิจที่มีสัญญาณ Default Risk เช่น ธุรกิจสายการบิน เป็นต้น
ถ้าให้ตอบคำถามนี้สั้นๆที่เศรษฐกิจสหรัฐแย่แต่ทำไมตลาดหุ้นถึงขึ้น นั้นเพราะการอัดฉีดหรือทำUnlimited QE ของ Fed โดยการเพิ่ม balance sheet เพื่อเข้าไปเสริมสภาพคล่อง(liquidity) ในตลาดทุน ตลาดเงิน Mortgage – backed securities และreal sector ให้ยังคงหมุนต่อไปได้ เพราะFed เรียนรู้จากวิกฤตปี2008ที่ส่วนนึงเกิดจากสภาพคล่องที่หายไปในระบบเศรษฐกิจ
-นั่นคือคำตอบของทั้งหมด แต่ แล้วทำไมFedถึงทำแบบนั้นละ วันนี้ผมจะมาบอกที่มาที่ไปของการปั้มเงินเข้าระบบเพิ่มเติมจากคำตอบที่ว่า เพื่อพยุงเศรษฐกิจ
-คงต้องพาทุกท่านย้อนเวลากลับไป ตอนช่วงก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ณ หัวมุมถนนวอลล์สตรีท (Wall Street) ในฐานะตัวกลางการระดมทุนของธุรกิจ และแน่นอนว่าสหรัฐนั้นถือเป็นเจ้าพ่อตลาดทุนนิยมอย่างแท้จริงในโลกใบนี้ ถ้าเรามองมุมมองสหรัฐเราจะเห็นได้ว่าในระบบทุนนิยม ตลาดหุ้นถือเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจ เมื่อตลาดหุ้นขึ้นนั้นหมายความว่าบริษัทเกิดกำไร เกิดการลงทุน เกิดการวิจัยเทคโนโลยีใหม่ๆ และเกิดการจ้างงานตามมา เมื่อเป็นไปตามนั้นเศรษฐกิจก็จะเติบโตขึ้นตามลำดับ ฉนั้นโดยมุมมองสหรัฐเมื่อตลาดหุ้นขึ้นนั้นหมายความว่าเศรษฐกิจจะดี เกิดการจ้างงาน ลงทุนและผลผลิตออกสู่ตลาด แน่นอนว่าเมื่อดูโดยรวมแล้วมันก็จริงตามหลักทุนนิยม
-แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปมีแนวคิดที่ทรงอิทธิพลแนวคิดหนึ่งจนมาถึงปัจจุบัน(ขอไม่บอกว่าแนวคิดของใคร) แนวคิดนั้นมีใจความที่บอกว่า หน้าที่ของเจ้าของบริษัทหรือCEOคือต้องทำให้ผู้ถือหุ้นนั้นมีกำไรสูงสุดหรือปันผลสูงสุดนั่นเอง maximize profit แนวคิดนี้ดูเหมือนจะดีเพราะเมื่อCEOทำให้ผู้ถือหุ้นได้เงินปันผลมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีคนอยากเอาเงินมาลงทุนมากเท่านั้นและตนเองก็จะได้เงินเดือนมากขึ้นด้วย(เงินเดือนของCEOขึ้นอยู่กับการปันผลให้ผู้ถือหุ้น ปันผลมากตนเองยิ่งได้เงินเดือนมากตามไปด้วย) และนี่เองที่CEO ต้องหาทางให้บริษัทยิ่งมีกำไรมากขึ้นไปเพื่อที่จะเอาเงินไปจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น ทำให้มันไม่เหมือนการระดมทุนในอดีตที่เมื่อบริษัทมีกำไรจะนำเงินนั้นไปลงทุนขยายการผลิต วิจัยลดต้นทุน หรือจ่ายโบนัสแก่พนักงาน แต่ตอนนี้คือการจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ทำให้การลงทุนไม่เกิด วิจัยไม่เกิด การพัฒนาไม่เกิด เงินไม่เพิ่มถึงมือพนักงานแต่เพิ่มในมือผู้ถือหุ้นและเจ้าหน้าที่บริหาร ระดับสูง มองในภาพโครงสร้างจากกำไรของบริษัทที่ค่อนข้างกว้าง คำนึงถึงลูกจ้าง สังคม สินค้า ณ ตอนนี้คำนึงถึงในภาพแคปลงแค่ผู้บริหาร ซึ่งต่างจากการบริหารแนวญี่ปุ่น ที่มองภาพรวมการทำงานเป็นทีม CEO จะมีเงินเดือนสูงไม่เกิน 2 – 3 เท่าของพนักงาน
-แต่ก่อนยุคเดิมบริษัทสหรัฐใน Wall Street ยังไม่ได้เน้นหรือมีแนวคิดทำกำไรเพื่อตอบแทนผู้ถือหุ้นมากที่สุดเหมือนในตอนนี้ ทำให้ณ ตอนนั้นผลผลิตและเศรษฐกิจจึงเติบโตอย่างมีคุณภาพ
-สิ่งนี้คงตอบคำถามอย่างละเอียดได้ว่าทำไมช่องห่างระหว่าง wall street กับ main street ถึงมีมากกว่าปัจจุบัน แต่ถึงอย่างนั้นตลาดและเศรษฐกิจจริงมันก็ยังอยู่ได้ เพราะในwall streetยังมี demand-supplyของเงินตราไหลเข้ามาเกร็งกำไรอย่างต่อเนื่อง รวมถึง real sector ที่FEDอัดฉีดเงินเข้าผ่านทั้งธนาคารบริษัทตราสารต่างๆ บริษัทยังจ้างงานและกองทุนรวมสวัสดิการยังคงดำเนินต่อไปได้ เงินที่FEDพิมพ์เข้ามานั้นไปไหนทุกคนคงตอบคำถามนี้ได้แล้ว
-อีกไม่กี่ปีเราจะได้รู้กันว่า ทุนนิยมจะล่มสลายโดยตัวมันเองตามคำบอกของ คาร์ล มากซ์ หรือไม่
-และบทความนี้นอกจากจะตอบคำถามเรื่องราวในสหรัฐได้แล้วยังตอบคำถามในประเทศแถบนี้ได้อีกด้วย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา