24 มิ.ย. 2020 เวลา 08:09 • ธุรกิจ
Pareto คนโรงงานอย่าแค่รู้จัก แต่ต้องรู้จริง (ตอนที่ 3/4)
💥 แล้วไงต่อ ?
เฮ้ย ถามได้ดี และนี่หละที่คนโรงงานควรจะถามถ้ามีใครมาสอนเครื่องมืออะไรให้คุณ ใช่ครับ การประยุกต์ใช้ขั้นถัดไป ทำอย่างไรได้บ้าง
ถามมาก็ตอบไป แต่วันนี้ผมขอเพิ่มกิมมิคให้พวกเราสักหน่อย ⚡️"จุดเอ๊ะ"⚡️เดี๋ยวมาดูกันครับว่ามันคืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับ Pareto Chart รับลองว่ามันเพราะคุณจะเห็นการบูรณาการเครื่องมือในตอนท้ายๆครับ
🔥 กลับมาที่ "แล้วไงต่อ" แต่ถ้าสายฮาร์ดก็อาจถามว่า "แล้วไงว่ะ" เห้ยใจเย็นๆโว้ย เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟัง ขอเรียบเรียงสักหน่อนเถอะเพื่อน !!!
เมื่อทุกคนทำ Pareto Chart ออกมา ก็หน้าตาประมาณนี้
แล้วไงต่อ ร้อยทั้งร้อยต้องบอกว่าจัดการกับแท่งแรกก่อนเลย สุดยอด ใช่เลย ถูกต้อง แต่จัดการยังไงครับ เพราะว่าไอ้ปัญหาที่ว่าคนทำงานก็รู้จักมันดีอยู่แล้ว แต่จะไปจัดการให้มันหายซ่าส์นี่สิ ปวดหัว เพราะมันมีสาเหตุเต็มไปหมดเลย
😱 นั่นไง คุณพูดออกมาเองแล้วว่ามันมีสาเหตุเต็มไปหมดเลย ถ้ากลับไปที่กฏพาเรโต้ ก็แสดงว่าในบรรดาสาเหตุทั้งหลายทั้งแหล่ มันก็ต้องมีสาเหตุแบบ 80:20 เหมือนกัน เห้ย นึกออกยังมันเหมือนทำ Pareto ซ้อน Pareto เพราะมันคือความจริงกฏนี้กระทำกับทุกๆที่จริงๆ
แต่ว่าการหาสาเหตุ มันมองได้หลายมิติ และหลายแหล่งกำเนิด ดังนั้นคำว่า "จุดเอ๊ะ" จะเป็นตัวช่วยคลำทางให้คุณมีโอกาสถูกต้องมากยิ่งขึ้น
จุดเอ๊ะ หรือ contrasting Point หมายถึงพื้นที่ หรือแหล่งกำเนิดที่เราสามารถพบปริมาณของปัญหาได้อย่างชัดเจนมากว่าพื้นที่หรือแหล่งกำเนิดอื่น แสดงว่าเราก็กำลังจะล็อคเป้าให้แคบลง แต่ได้ผลในปริมาณมาก ใช่แล้ว! น่าสนใจ
เอ๊ะง่ายๆ พื้นฐานเลย คิดไรไม่ออกให้เอ๊ะที่ 3 อย่างนี้
1. เอ๊ะที่ตำแหน่งของเสีย คือการตรวจสอบข้อมูลดูว่าของเสีย(ในที่นี้ชื่อว่า BU = Bubble หรือฟองอากาศในชิ้นงาน) ชอบเกินที่ตำแหน่งใดเป็นพิเศษไหม
2. เอ๊ะที่ช่วงเวลาทำงานหรือกะ คือคือการตรวจสอบข้อมูลดูว่าของเสีย ชอบเกิดที่กะไหนเป็นกรณีพิเศษไหม
3. เอ๊ะที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน คือคือการตรวจสอบข้อมูลดูว่าของเสีย ชอบเกิดจากการทำงานของพนักงานคนไหนเป็นกรณีพิเศษไหม
เอ๊ะไปเรื่อยเดี๋ยวก็เจอ โดยใช้ PIE CHART ในการแสดงข้อมูลก็ทำให้สะดวกขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น เพื่อล็อคเป้า เอ๊ะ
จากนั้นคุณเลือกออกมา ว่าจุดเอ๊ะ ปรากฏตัวขึ้นจากแหล่งกำเนิดใดบ้าง ซึ่งจากตัวอย่างพบว่าจุดเอ๊ะ จากแหล่งกำเนิดด้านตำแหน่งของของเสีย เอาแล้วไงเริ่มสนุกละ
สุดท้ายสร้างความกระจ่างของจุดเอ๊ะด้วยแบบที่คุณถัด จะ Why-Why, KKDS หรือจะออกแบบการทดลอง ก็จัดไป แค่นี้ก็มีโอกาสดีกว่าเก่าแล้วครับ ถึงแก้ไม่ได้วันนี้ แต่มันมีความชัดเจนให้เดินต่อครับ
พูดมาซะยืดยาวก็หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆชาวโรงงาน ในการใช้เครื่องมือแบบผสมผสาน หรือบูรณาการ ซึ่งเป็นอะไรที่ผมเองชอบให้โรงงานสร้างการบูรณาการศาสตร์ต่างๆครับ
🎡 แล้วติดตามตอนจบในโพสต์หน้า บทสรุปสิ่งที่เราได้จาก Pareto และมาฟังสิ่งที่ Pareto อยากจะบอกอะไรกับคุณ ถ้าสนใจลองติดตามตอนจบครับ
โฆษณา