22 มิ.ย. 2020 เวลา 00:07 • ธุรกิจ
ชาวนากับลาแก่
ณ สารขันธ์ "ชาวนาชรา" เลี้ยง "ลา" ไว้หลายตัว ลาทุกตัวทำงานด้วยความขยันขั้นแข๊ง ผลงานออกมาดี องค์กรก็เติบโตขึ้น บรรดาลารู้สึกว่ามีความสุขในการทำงานที่นี้ (Happy workplace) ผ่านไป 20 ปี “เวลาเปลี่ยนคนก็เปลี่ยน”
ลูกหลานชาวนาเข้ามาบริหารกิจการทุ่งนาแทนชาวนาชรา "ชาวนาหนุ่ม" เป็นคนรุ่นใหม่ เริ่มรังเกียจ "ลาแก่" คิดว่า "แก่ เชื่องช้า อ้วน เตี๋ย ดำ กินก็เยอะ ฯลฯ " เพราะ "อคติ ไม่ชอบ" หาทาง "ถ่ายเลือดใหม่แทนเลือดเก่า" บีบ "ลาแก่" ให้ออกจากงาน โดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมายแรงงาน
ลาแก่ เริ่มทนต่อไปไม่ได้อีกแล้ว "..กดขี่ ข่มเหง กลั่นเกล้งสารพัด...." ลาแก่พูด " ล่าสุด ซื้อลาตัวใหม่ให้มาทำงานแทน....แล้วให้ลาแก่โอนงานให้ลาใหม่ แถมบอกลาแก่ว่า "ต้องสอนงานให้เขาทำงานให้เป็นด้วย..." ให้ลาแก่เขียนรายงานทุกวันว่าอต่ละวันทำอะไรบ้าง ผิดนิดผิดหน่อยก็เรียกไปค่าเช้า ด่าเย็น อธิบายยังไง เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา
อยู่มาวันหนึ่ง "ชาวนาหนุ่ม" วางกับดักลาแก่โดยการขุดหลุมดินลึก เพื่อให้ลาที่แก่ตาฝ้าฟาง. เดินตกลงไปในหลุมดิน จากนั้นชาวนาหนุ่มบอก ได้ชวน "นางสนมหน้าห้อง" ให้มาช่วยกันตักดินบนปากหลุม เพื่อถมหลุมดินฝังลาแก่ ชาวนาหนุ่มย้ำ “ลามันแก่แล้ว เลี้ยงไว้ ไม่คุ้มค่าใช้จ่าย กำจัดเสียดีกว่า”
เมื่อดินสาดลงมาในหลุม เพื่อเอาตัวรอด "ลาแก่" ตั้งสติ คอยหลบดิน อย่าง "อดทน" เพราะนึกถึงครอบครัว ภาระหน้าที่ของตัวเองต้องส่งเสียพ่อแม่ เลี้ยงดูลูกเมีย....จนกระทั่งดินสูงขึ้นในระดับหนึ่ง "ลาแก่" จึงได้โอกาสปีนออกจากหลุมดินได้ ตัวเองรอดตายหวุดหวิด แต่อนาคตไม่รู้ว่าจะเจออะไรอีก แล้วถ้าคุณเจอเหตุการณ์อย่างนี้ จะทำอย่างไร ?
สำหรับนิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า "หลุมดินก็เหมือนอุปสรรค การที่จะฝ่าอุปสรรคได้ ต้องมี “สติ” ก่อน เพื่อหาสาเหตุและทางแก้ไข รู้จัก "อดทน" เพื่อเอาตัวรอด ได้จังหวะเมื่อไหร่ "เช็ดบิล" เลยครับพี่น้อง "
ในประเทศสาระขันธ์ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เขามีมาตรฐานดีอยู่แล้ว กำหนดสิทธิหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง “ยึดหลักความสงบเรียบร้อยของประชาชน” ศาลแรงงานก็ไม่มีค่าใช้จ่าย มีทนายความช่วยว่าความให้ฟรี จัดไป !!
.(^Old_Cat.^)....
 "C. Chakkrit"
081-823-2594
โฆษณา