การพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์นั้นมีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างกันในแต่ล่ะบุคคล แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญตามที่ Erik Erikson นักจิตวิทยาได้กล่าวไว้ คือ สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการวางรูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพ เมื่อทารกแรกเกิดได้ปะทะกับสิ่งแวดล้อม จึงเริ่มต้นมีบุคลิกภาพของตน ตามทฤษฎี Psychosocial stage ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาการตามลำดับ พัฒนาการลำดับต้นมีผลต่อลำดับถัดไป มีด้วยกัน 8 ขั้น
1. ความไว้วางใจ หรือ ความไม่ไว้วางใจ ( Trust vs. Mistrust )
- ช่วงแรกเกิด ถึง อายุ 1 ขวบครึ่ง
- การได้รับการเลี้ยงดูจากแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่ดี จะพัฒนาความไว้วางใจกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ เป็นพื้นฐานการพัฒนาจริยธรรม เด็กที่ขาดความไว้วางใจจะเกิดลักษณะ ขี้สงสัย หนีสังคมและไม่ไว้วางใจใคร
- สิ่งที่มีอิทธิพลมากคือ สิ่งแวดล้อมของเด็ก
- ถ้าเด็กได้รับการตอบสนองทางกายและจิตใจอย่างเหมาะสม เช่น ได้รับความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว เด็กจะพัฒนาความไว้วางใจไปสู่ความไว้วางใจในตัวบุคคล หรือสังคมของเด็ก ส่งผลให้มีความมั่นคงทางจิตใจ
- ปัจจัยที่ส่งผลหลักๆ คือ เจตคติของแม่ผู้เลี้ยงดูที่มีต่อการเลี้ยงเด็ก
- ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับบุคลิกภาพของเด็กมีทั้งในทางบวกและลบ สาเหตุมาจากการได้รับการตอบสนองที่เหมาะสมหรือได้รับการตอบสนองที่ไม่เหมาะสม
1.บุคลิกภาพพึงประสงค์ (Strong ego) ได้รับการตอบสนองเหมาะสมเกิดเป็นบุคลิกภาพ
- มีความไว้วางใจผู้อื่น มีความเชื่อมัน มีความหวัง
2. บุคลิกภาพไม่พึงประสงค์ (Weak ego) ได้รับการตอบสนองไม่เหมาะสมเกิดเป็นบุคลิกภาพ
- ระแวง สงสัย ไม่แน่ใจ