23 มิ.ย. 2020 เวลา 23:54 • สุขภาพ
#เมื่อเกิดภาวะโซเดียมต่ำ
#แก้ไขอย่างไรดี?
โซเดียม เป็น electrolyte หรือเกลือแร่ที่สำคัญในร่างกาย ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดให้ปกติ เป็นสิ่งที่ทำให้กล้ามเนื้อและเซลล์ประสาททำงานได้ตามปกติ เวลาระดับโซเดียมในเลือดต่ำ
เรียกว่า low serum sodium หรือ hyponatremia (ภาวะเกลือโซเดียมต่ำ) สาเหตุหลักๆ คือไฟไหม้น้ำร้อนลวก, ท้องเสีย, เหงื่อออกมากเกินไป, อาเจียน และการใช้ยาบางอย่างที่ทำให้ฉี่เยอะขึ้น เช่น ยาขับปัสสาวะ ถ้าไม่ดูแลรักษาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โซเดียมในเลือดต่ำแล้วทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดหัว เห็นภาพหลอน และถ้าร้ายแรงก็ถึงแก่ชีวิตได้เลย.
ถ้าอยากเพิ่มโซเดียมในเลือด ให้เปลี่ยนจากการดื่มน้ำธรรมดาไปดื่มน้ำที่มีเกลือแร่สูง เช่น เครื่องดื่มเกลือแร่ และน้ำมะพร้าว รวมถึงเพิ่มอาหารที่อุดมโซเดียมแต่ดีต่อสุขภาพ ที่สำคัญคือปริมาณของเหลวที่ออกจากร่างกาย (ฉี่ เหงื่อ) ต้องสัมพันธ์กันกับของเหลวที่ร่างกายได้รับ (น้ำและเครื่องดื่มอื่นๆ) ถ้าทำทุกวิธีที่แนะนำไปแล้วอาการหนักกว่าเดิม หรือระดับโซเดียมในเลือดไม่กลับมาเป็นปกติ ควรพบแพทย์จะดีที่สุด
วิธีที่แนะนำในเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะโซเดียมต่ำ
1.ลดและจำกัดปริมาณน้ำดื่ม.
ถ้าดื่มน้ำเยอะๆ อาจทำโซเดียมในกระแสเลือดเจือจาง จนระดับโซเดียมลดลง นอกจากนี้ยังเสี่ยงทำร่างกายกักน้ำ ยิ่งดื่มน้ำเยอะ ร่างกายก็ยิ่งกักเก็บ
คุณลดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวันได้อย่างปลอดภัย เช่น แทนที่จะดื่มน้ำวันละ 2,000 มล. ขึ้นไป ถ้ารู้ตัวว่าเป็น hyponatremia ก็ให้เปลี่ยนเป็นดื่ม 1,000 - 1,500 มล. ต่อวันแทน โซเดียมในร่างกายจะได้ไม่เจือจางหรือเสียไปกับฉี่และเหงื่อ
ดื่มน้ำเพิ่มเฉพาะบางกรณีเท่านั้น เช่น อากาศร้อน หรือออกกำลังกายจนเสียเหงื่อ เพราะร่างกายจะเสียน้ำจนเกิดภาวะขาดน้ำได้ จะกลายเป็นผิดจุดประสงค์ไป
2.เกเตอเรด จะมีเกลือแร่ (electrolytes)
ที่ร่างกายต้องการหลังเสียของเหลวต่างๆ ในร่างกาย เช่น เสียเหงื่อ หรืออาเจียน
เครื่องดื่มเกลือแร่จะมีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะโซเดียมกับโพแทสเซียม ช่วยแก้ปัญหาโซเดียมในเลือดต่ำได้ดี
3.ถ้าไม่ชอบเครื่องดื่มเกลือแร่ ก็ยังมีเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย. เราเข้าใจว่าบางทีรสชาติของเครื่องดื่มเกลือแร่ก็เหลือรับ แถมหาซื้อยาก หรือแพง เพราะงั้นลองพิจารณาตัวเลือกต่อไปนี้ดู
น้ำเกลือ เป็นอะไรที่ทำเองได้ง่ายๆ ใช้ดื่มชดเชยโซเดียมที่ร่างกายเสียไปได้ทันที แค่ผสมเกลือ 1 หยิบมือในน้ำ 1 แก้ว แล้วดื่มเลย
น้ำมะพร้าว เป็นน้ำที่มีเกลือแร่สูง ป้องกันร่างกายขาดน้ำได้ดี น้ำมะพร้าวมีทั้งโซเดียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียมสูง
กล้วย หลังออกกำลังกายหรือออกแรงหนักๆ ให้กินกล้วย 1 - 2 ลูก เพราะมีโพแทสเซียมสูง
4.กินอาหารโซเดียมสูง. ถ้าเสียโซเดียมไปพร้อมกับเหงื่อหรือสาเหตุอื่นๆ ก็ชดเชยได้ทันทีในอาหารมื้อถัดไป อาหารต่อไปนี้ช่วยเพิ่มและชดเชยโซเดียมที่เสียไปตอนทำกิจกรรมต่างๆ
เกลือ 1 ช้อนชา คือปริมาณที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน (2,300 มก.)
ซุปใส หรือซุปข้น ซุปก้อน 5 มก. จะมีโซเดียมประมาณ 1,200 มก.
ซาลามี่ 1 แผ่น มีโซเดียม 226 มก.
เบคอน 1 เส้น มีโซเดียม 194 มก.
ชีส 100 กรัม มีโซเดียม 215 มก.
มะกอก 100 กรัม มีโซเดียม 1,556 มก.
ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนชา มีโซเดียม 335 มก.
ไข่ปลาคาเวียร์ 100 กรัม มีโซเดียม 1,500 มก.
5.เพิ่มผักผลไม้.
จริงๆ อาหารแทบทุกอย่างที่เรากินก็มีโซเดียมอยู่แล้ว แต่วิธีเพิ่มโซเดียมในเลือดแบบดีต่อสุขภาพ คือกินผักผลไม้ที่มีโซเดียมนั่นเอง พวกอาหารแปรรูปก็โซเดียมสูง แต่คุณหมอและนักโภชนาการทั้งหลายไม่แนะนำ กินอาหารสดดีกว่า
น้ำผัก 1 แก้ว จะมีโซเดียม 500 มก. ง่ายๆ คือให้ปั่น cardoon (พืชตระกูลทานตะวัน), แครอท กับขึ้นฉ่าย แล้วแต่งรสด้วยเกลือ 1 หยิบมือ
มันหวานกับปวยเล้งก็โซเดียมสูง แต่ถ้าไม่ค่อยว่างทำอาหาร ให้กินถั่วขาวกระป๋อง ที่มีโซเดียม 1,174 มก. ต่อ 1 ถ้วยตวง หรือมะกอกกระป๋องแทน หรือมะกอกดอง 1 serving (5 ลูก) ก็มีโซเดียม 550 มก.
ผลไม้อย่าง mammy apple (ผลไม้ตระกูลมังคุด), ฝรั่ง และเสาวรส ก็มีโซเดียม 50 มก. - 130 มก.
ผลไม้แปรรูปจะมีโซเดียมเพิ่มไปอีก 50 มก. (อันนี้ข้อมูลของทางกระทรวงเกษตรของอเมริกาเขา)
1
6.เนื้อสัตว์ก็มีโซเดียม
. ซุปเนื้อหรือน้ำสต๊อกที่เคี่ยวจากกระดูก ก็มีโซเดียมสูง มีทโลฟกับสตูว์เนื้อก็เหมือนกัน ถ้าคุณไม่ชอบกินผักผลไม้ ก็ยังมีตัวช่วยจากเนื้อสัตว์นี่แหละ
พวกเนื้อสัตว์แบบ cold cut นี่แหละโซเดียมเต็มๆ จริงๆ แล้วเนื้อสัตว์แปรรูปทั้งหลายก็โซเดียมสูงทั้งนั้น เพราะขั้นตอนการถนอมอาหาร อาหารแปรรูปที่ว่ามีตั้งแต่นักเก็ตไก่ไปจนถึงพิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ และอาหารฟาสต์ฟู้ดต่างๆ ถ้าไม่เลือกกินให้ดีอาจกลายเป็น โซเดียมเยอะเกิน จนเสียสุขภาพไป
ส่วน 2 ของ 3:
#ควบคุมปริมาณโซเดียม
1.ระวังยาขับปัสสาวะ. ถ้าไม่ได้มีโรคประจำตัว หรือเจ็บป่วยอะไรมาก่อนหน้าจนคุณหมอต้องจ่ายให้ ก็อย่ากินยาขับปัสสาวะเด็ดขาด พวกนี้คนเขาเรียกกันว่า “water pills” (ยาขับน้ำ) เพราะมีสารกระตุ้นให้ฉี่จนร่างกายกักเก็บน้ำไว้ในร่างกายไม่ได้ ถึงจะบอกว่าน้ำในร่างกายเยอะเกินอาจทำโซเดียมเจือจาง แต่กรณีนี้จะทำให้เสียโซเดียมไปด้วย จนเกิดภาวะขาดน้ำได้
ยาขับปัสสาวะมีฤทธิ์ขับน้ำและโซเดียมออกจากร่างกาย ถ้ากินยาชนิดนี้ จะทำให้คุณสูญเสียโซเดียมกว่าเดิม อันตรายต่อสุขภาพโดยรวม
ยาขับปัสสาวะที่นิยมใช้กันก็เช่น Chlorothiazide (Diuril), Furosemide (Lasix) และ Spironolactone (Aldactone)
1
2.รู้จักปริมาณโซเดียมที่แนะนำ. ระบบดูแลสุขภาพแห่งชาติ (The National Health Service (NHS)) ของอังกฤษ แนะนำว่าผู้ใหญ่ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 6 กรัมต่อวัน กะง่ายๆ ก็คือ 1 ช้อนชาเต็มๆ ซึ่งตามข้อมูลไม่แนะนำให้กินอาหารที่เค็มจัด
ถ้าใครกิจกรรมเยอะหน่อย ก็ต้องมีระดับโซเดียมที่สูงกว่าคนทั่วไป รวมถึงคนที่เป็น hyponatremia คือภาวะเกลือโซเดียมต่ำ ก็ต้องเพิ่มเช่นกัน ยังไงปรึกษาคุณหมอประจำตัวดู
ตามสถิติ คนไทยบริโภคเกลือ (โซเดียม) เฉลี่ยแล้วเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการไป 2 เท่า เพราะงั้นบางทีระดับโซเดียมของคุณอาจไม่ใช่อย่างที่คิดก็ได้
ถ้าเป็นเด็กวัยเตาะแตะ ต้องได้รับโซเดียม 2 กรัมต่อวัน ส่วนเด็กโตต้องเป็น 3 - 5 กรัมต่อวัน ย้ำกันอีกทีว่าระดับโซเดียมที่แนะนำต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ คือไม่เกิน 6 กรัม (2,300 มก.)
3.น้ำเข้ากับน้ำออกต้องพอดีกัน. สำคัญมากว่าต้องคอยเช็คปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวัน อย่างตอนพักผ่อนก็จะต่างกับตอนออกกำลังกาย ให้กะปริมาณน้ำหรือของเหลวที่เสียไปตอนฉี่และเหงื่อออก จะได้รู้ว่าควรดื่มน้ำมากแค่ไหน
อย่าดื่มน้ำมากกว่า 800 มล. ต่อชั่วโมง โดยเฉพาะนักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายหนักๆ อาจเผลอดื่มน้ำเยอะจนน้ำในร่างกายเยอะเกินไป มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ชี้ว่านักวิ่งมาราธอนมักเกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเพราะดื่มน้ำชดเชยหรือดับกระหายมากเกินไป
Vasopressin คือฮอร์โมน ADH (ant-diuretic hormone) ในร่างกาย ที่เพิ่มขึ้นตอนร่างกายตึงเครียดขึ้นในช่วงสั้นๆ จนร่างกายกักน้ำแทนการเหงื่อออกมากๆ อย่างถ้าวิ่งจนร่างกายตึงเครียด จะทำให้ไตขับของเสียแย่ลง เหลือแค่ 100 มล. ต่อชั่วโมงเท่านั้น (ปกติ 1 ลิตร)
4.รักษาสุขภาพเป็นสำคัญ. ก่อนจะเปลี่ยนไปกินอาหารเน้นโซเดียม ต้องระวังโรคประจำตัวต่างๆ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคไต โรคหัวใจ และโรคกระดูกพรุน สรุปคือปรึกษาคุณหมอก่อนปรับเปลี่ยนอะไรจะดีที่สุด
มีแค่ไม่กี่กรณีเท่านั้น ที่ต้องเปลี่ยนไปกินอาหารโซเดียมสูง ปกติคุณหมอจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารเค็มอยู่แล้ว โดยเฉพาะอาหารไขมันต่ำและโปรตีนสูง ที่ช่วยป้องกันโรคความดันสูงและโรคหัวใจ
#ระวังอาการแทรกซ้อน
1.รู้จักอาการที่เกิดจากระดับโซเดียมต่ำ. พอเกลือโซเดียมในร่างกายลดลง จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ยิ่งถ้าเกิดภาวะเกลือโซเดียมต่ำรุนแรงแล้วไม่รีบดูแล อาจถึงแก่ชีวิตได้เลย อาการต่อไปนี้จะบอกได้ ว่าระดับโซเดียมในเลือดของคุณต่ำหรือเปล่า
ปวดหัว
คลื่นไส้ อาเจียน
อ่อนเพลีย หรือไม่มีแรง
กล้ามเนื้อกระตุก
สับสนมึนงง
หงุดหงิด กระวนกระวาย
ถ้าถึงขั้นหมดสติ ชักเกร็ง และ/หรือโคม่า ต้องถึงมือหมอโดยด่วน ให้นำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2.ผลต่อสมอง. อาการ hyponatremia
พวกนี้ มักเกิดเพราะสมองไวต่อภาวะโซเดียมต่ำมาก (เลยแสดงอาการพวกนี้ออกมา) ถึงได้ย้ำว่าถ้าปล่อยไว้อาจถึงตายได้ เพราะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสมองนั่นเอง
ที่กระทบกระเทือนต่อสมองมาก เพราะพอโซเดียมในเลือดต่ำ น้ำส่วนเกินจะเข้าสู่เซลล์สมอง ทำให้เซลล์บวม ซึ่งอันตรายมาก ต้องถึงมือหมอเร็วที่สุด
3.ไปโรงพยาบาล. ถ้าคุณมีอาการตามที่บอก หรือสงสัยว่าระดับโซเดียมในเลือดของตัวเองต่ำ ให้รีบไปหาหมอเลย ระดับโซเดียมที่เหมาะสมเป็นอะไรที่กะลำบากมาก เพราะนิดเดียวก็มากหรือน้อยเกินไป คุณหมอนี่แหละที่จะแนะนำวิธีปฏิบัติตัวให้คุณได้ดีที่สุด
ถ้าปล่อยไว้อาการอาจลุกลามรุนแรงได้ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ว่ามาอย่างเคร่งครัด สงสัยตรงไหนให้ปรึกษาคุณหมอทันที ถ้าอาการไม่มาก แค่ปรับระดับโซเดียม/น้ำในร่างกายให้ปกติก็ช่วยได้ แต่ยังไงก็ควรปรึกษาคุณหมอ จะได้เจอทางเลือกที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายคุณที่สุดค่ะ
พบทุกเทคนิคการดูแลสุขภาพไต
กับออม #แอดมินไตสายอินดี้ทุกวันที่นี่
คลินิกไตออนไลน์หมออลงกต
ปรึกษาปัญหาสุขภาพไตทุกวัน
📲094-5291568, 📲063-9678678
Line:Oksystem, Line:Oksystem2
โฆษณา