25 มิ.ย. 2020 เวลา 08:00 • ความคิดเห็น
รีวิวหนังสือ GRIT: The Power of Passion and Perseverance
By Angela Duckworth
แปลโดย จารุจรรย์ คงมีสุข
13 บท 366 หน้า
สำนักพิมพ์ WE LEARN
ประวัติผู้เขียน : Angela Duckworth เป็นอาจารย์จิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย เธอเคยเป็นที่ปรึกษาให้บุคลากรจากทำเนียบขาว ธนาคาารโลก ทีมบาสเกตบอล NBA ทีมอเมริกันฟุตบอล NFL รวมถึงบริษัทชั้นนำระดับโลก 500 อันดับแรกจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์จูน
จบจากปริญญาตรีสาขาประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปริญญาโทสาขาประสาทวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด และปริญญาเอกสาขาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยเพนซิเวเนีย
เริ่มต้นจากการแนะนำคำคำหนึ่งที่จะใช้ไปตลอดทั้งเล่มว่า “Grit” หรือ “ความทรหด” คืออะไรและสำคัญอย่างไร ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการ “สร้างความทรหดจากภายในสู่ภายนอก และการ “สร้างความทรหดจากภายนอกสู่ภายใน”
หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่าถึงการค้นพบและติดตามผู้คน องค์กร และโครงการต่างๆ ที่มีส่วนเชื่อมโยงเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า “ความทรหด” ซึ่งคือหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะสามารถใช้พิสูจน์ความสามารถและความสำเร็จที่ไม่ธรรมดาของกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆว่า จริงๆ แล้วทุกคนก็สามารถที่จะเป็นเหมือนกับคนกลุ่มนั้นได้เช่นกัน
ซึ่งการเดินทางนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
1 ความทรหดคืออะไรและสำคัญอย่างไร - พวกเราจะได้เรียนรู้และเข้าใจไปพร้อมๆ กับว่าอะไรคือความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ความทรหด” และมันมีผลกระทบอย่างไรกับตัวของเราทุกคนบ้าง นอกจากนี้ในส่วนหนึ่งยังมีในเรื่องของการเปรียบเทียบความทรหดกับพรสวรรค์ว่ามันมีอะไรที่เหมือนหรือแตกต่างกัน เราจะได้ทดสอบความทรหดของตัวเองผ่านแบบสอบถามที่จะบอกได้ว่า “คุณมีความทรหดมากแค่ไหน” เมื่อเรารู้แล้วก็จะเพิ่งน้อยใจไปว่าตัวเองมีความทรหดน้อยเกินไปหรือไม่ เพราะก่อนที่จะจบในส่วนนี้เราจะได้รู้เพิ่มอีกอย่างว่า “ความทรหดมันสามารถพัฒนาให้เติบโตขึ้นได้” ซึ่งนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของส่วนที่เหลือของหนังสือเล่มนี้นี่เอง
1
2 สร้างความทรหดจากภายในสู่ภายนอก - หลังจากที่เราได้รู้การคราวๆแล้วว่า ทุกคนสามารถพัฒนา “ความทรหด” ของตัวเองได้ ดังนั้นเราจะเริ่มต้นจากจุดที่สามารถเริ่มต้นได้ทันที นั่นก็คือ ตัวเราเอง การจะทำให้ความทรหดภายในตัวเราเพิ่มขึ้นได้นั้น ปัจจัยแรกเริ่มมักจะเกิดจาก “ความสนใจ” ที่เรามีก่อน ซึ่งความสนใจจะกลายเป็นตัวชี้นำที่ดีที่จะทำให้ความทรหดของเราเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งสนใจในกิจกรรมนั้นๆ ยิ่งทำออกมาได้นานและดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนั่นก็จะไปสนับสนุนกับปัจจัยที่สอง คือ “การฝึกฝน” ความทรหดเกิดจากความพยายามที่จะใส่ความตั้งใจและความสม่าเสมอเข้าไปในกิจกรรมนั้น การฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยสนับสนุนความทรหดของเรา
1
แต่อย่างไรก็ตามความสนใจและการฝึกฝนจะไม่ส่งผลเลยหากขาดสิ่งที่เรียกว่า “จุดมุ่งหมาย” นี่คือสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักพลาดไปเมื่อเดินมาถึงครึ่งทาง คนเหล่านั้นมักลืมจุดมุ่งหมายของตัวเองและไม่สามารถที่จะเดินทางต่อไปได้ และปัจจัยท้ายที่สุดของส่วนนี้ นั่นก็คือ “ความหวัง” ยิ่งเราเข้าใกล้จุดมุ่งหมายมากเท่าไร เรายิ่งต้องใช้ความหวังหรือความเชื่อว่า เราสามารถทำมันได้ เราสามารถเพิ่มความทรหดของเราได้ กำลังใจเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่สิ่งที่ดียิ่งกว่าเดิมนั่นเอง
1
3 สร้างความทรหดจากภายนอกสู่ภายใน - สำหรับส่วนสุดท้ายนี้คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการความเชื่อ ความหวัง และกำลังใจจากคนรอบตัวของเรา ไม่ว่าจะเป็น “การเลี้ยงดูลูกให้มีความทรหด” ที่ตัวของผู้เป็นพ่อและแม่เองจะต้องปรับตัวและเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกๆ ในด้านความทรหด เพราะในช่วงชีวิตวัยเด็กนั้น เด็กมักจะเลียนแบบคนใกล้ตัวมากที่สุด ยิ่งพ่อแม่แสดงให้เห้นถึงความทรหดมากเท่าไร ลูกก็จะได้เรียนรู้ความทรหดจากผู้เป็นพ่อแม่มากเท่านั้น
นอกจากนี้การเลือกสภาพแวดล้อมและสังคมที่มีความทรหดมาก จะยิ่งช่วยให้เราเองมีการปรับตัวตามสภาพแวดล้มและสังคมนั้นๆ ไปด้วย การลงไปเล่นใน “สนามแห่งความทรหด” และการได้เข้าร่วม “วัฒนธรรมแห่งความทรหด” จะเหมือนอีกหนึ่งจุดบ่มเพาะความทรหดในตัวให้สูงขึ้นและสูงขึ้นไปอีก คนเหล่านี้สามารถถ่ายทอดความทรหดให้กันและกันได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อีกมีคนที่มีความทรหดอยู่รวมกันมาก พลังที่เราและเขาจะได้รับก็จะยิ่งทวีคูณให้กันและกันมากยิ่งขึ้นนั่นเอง...
สุดท้ายครับ ผมของฝากไว้สั้นๆ ว่า “ไม่ว่าเราจะมีความทรหดมากหรือน้อยแค่ไหน สิ่งเราต้องทำอยู่เสมอคือ “ตัดสินใจ” เลือกสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุดให้กับตัวของเราเอง เราไม่สามารถโทษอะไรได้หรอกครับว่า สังคมมันห่วย สภาพแวดล้อมไม่อำนวย พ่อแม่เลี้ยงมาไม่ดี ฉันมันแย่อยู่แล้ว มีแต่เราเท่านั้นที่เป็นคนตัดสินใจว่าจะให้อะไรมีผลกระทบกับชีวิตของเราเอง” :)
3
#readabookposcast #wavestory
โฆษณา