24 มิ.ย. 2020 เวลา 09:22 • ประวัติศาสตร์
กินกันมาตั้งแต่เด็กยันโต กับเมนูอาหารต่างๆที่ทำมาจาก"ปลานิล" ก็คิดว่ามันเป็นปลาพื้นเมืองของประเทศไทยซะอีก ตั้งแต่ผมเกิดมาก็เห็นมันอยู่เกือบทุกแหล่งน้ำในบ้านเรา แล้วอย่างนั้นปลาชนิดนี้มันมาจากที่ไหนกัน เราไปหาคำตอบกันเลยครับ
"ปลานิล"หรือ "ปลาหมอนิล" นั้นเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาหมอสี มีรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่แม่น้ำไนล์ ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึงและทะเลสาบ
thairath.co.th
ปลานิลมีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส ส่วนอาหารของปลานิลนั้น พวกมันกินได้หลายหลาย เช่นไรน้ำ, ตะไคร่น้ำ, ตัวอ่อนของแมลง, กุ้งฝอย ตลอดจนพืชผักชนิดต่างๆ
mgronline.com
ปลานิลนำเข้าสู้ประเทศไทยครั้งแรกโดย สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อนํ้าภายในสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา และในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 จึงได้พระราชทานลูกปลานิลขนาด 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัวให้แก่อธิบดีกรมประมง เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่แผนกทดลอง และเพาะเลี้ยง ในบริเวณเกษตรกลาง บางเขน และสถานีประมงต่าง ๆ อีกจำนวน 15 แห่ง ทั่วราชอาณาจักร จนกระทั่งเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจในบ้านเรานั่นเอง
posttoday.com
"เรื่องนี้มีตำนาน"ต้องไม่ลืมว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไม่โปรดเสวยปลานิล ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย จะโบกพระหัตให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยไม่รับสั่งอะไรเลย จนวันหนึ่งมีผู้กล้าหาญชาญชัยกราบบังคมทูลถามว่า"เพราะเหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล" มีกระแสรับสั่งว่า "ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันได้อย่างไร"
ได้อ่านแล้วผมเองก็น้ำตาคลอ ซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของท่านมากๆเลยครับ เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับปลานิลที่เรารู้จักกันมาตั้งแต่เด็กยันโต รู้แล้วใช่ไหมครับว่า พวกมันมีถิ่นกำเนิดจากที่ไหน และเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้อย่างไร ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาร่วมอ่าน และฝากกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia.com และ มติชนสุดสัปดาห์
โฆษณา