Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Sriphat Medical Center
•
ติดตาม
25 มิ.ย. 2020 เวลา 23:00 • การศึกษา
มะเร็งปากมดลูก โรคร้าย อันตรายจากเพศสัมพันธ์
Cr. Sriphat Medical Center
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากในสตรีไทย
เป็นอันดับสองรองจากมะเร็งเต้านม
โดยพบมากที่สุดในสตรีทางภาคเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง
ศ.พญ.สายพิณ พงษธา สูตินรีแพทย์ อธิบายว่า สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 90 เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ( Human Papilloma Virus) บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
โดยเฉพาะที่ปากมดลูก ซึ่งการติดเชื้อเกิดจากการสัมผัสโดยตรง
คือ การมีเพศสัมพันธ์ ทั้งเพศสัมพันธ์ที่ผ่านทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก
หากเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด เชื้อ HPV จะแทรกซึมเข้าไปโดยการผ่านรอยถลอกที่ผิวเยื่อบุของอวัยวะสืบพันธุ์
และผ่านเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้เซลที่ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงและผิดปกติไปทีละน้อย
จนกระทั่งกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกไปในที่สุด
เนื่องจากการติดเชื้อ HPV มีสาเหตุจาการมีเพศสัมพันธ์
ดังนั้น ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกจึงเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม
ดังต่อไปนี้
- การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เช่น ก่อนอายุ 18 ปี
- การมีคู่นอนหลายคนหรือมีสามีหลายคน
- คู่นอนหรือสามีสำส่อนทางเพศ
- การสูบบุหรี่
- การติดเชื้อ HIV
Cr. Sriphat Medical Center
อาการของมะเร็งปากมดลูก
โดยมากมักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ
แต่หากมีอาการเหล่านี้อาจสงสัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก เช่น
- ตกขาวมีกลิ่นผิดปกติ
- ตกขาวปนเลือดเหมือนน้ำล้างเนื้อ
- เลือดออกทางช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์หรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์
- เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
ทั้งนี้ หากมีอาการดังกล่าว ไม่ได้หมายความว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก
ดังนั้น หากมีอาการที่ผิดปกติเหล่านี้ ควรพบสูติแพทย์เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติม
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่มีวิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ
สามารถค้นหาเซลล์ผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็ง
แนะนำตรวจในสตรีอายุ 25 ปี ขึ้นไป โดยการตรวจคัดกรองมี 2 แบบ คือ
1. Conventional Pap smear
เป็นวิธีการดั้งเดิมที่ค้นพบมานานถึง 91 ปี โดยนายแพทย์จอร์จ นิโคลาส พาพานิโคเลา (Gorge Nikolas Papanicolaou)
แต่ได้รับการรับรองให้ใช้เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่อ 78 ปีที่ผ่านมา
โดยเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยไม้พายเล็กๆ แล้วป้ายบนกระจกแก้ว
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อย้อมสีและส่องกล้องจุลทรรศน์
ปัญหาของวิธีนี้คือเซลล์บางส่วนเท่านั้นที่ถูกเก็บส่งตรวจ ส่วนที่เหลืออีกมากติดไม้พายและถูกทิ้งไป
นอกจากนั้นแล้วการอ่านเซลล์จะอ่านได้ยาก เมื่อเซลล์มีการซ้อนทับกันหรือปนเปื้อนด้วยมูกเลือดที่ติดออกมา และบดบังเซลล์ที่ผิดปกติ
ทำให้พยาธิแพทย์มองเห็นไม่ชัด การอ่านก็อาจจะผิดพลาดได้
การตรวจวิธีนี้สามารถพบความผิดปกติได้ประมาณร้อยละ 50-60
โดยวิธีการนี้เป็นการอ่านเซลล์ที่ปากมดลูกเท่านั้น เรียกว่า Cytology
2. Liquid- based Pap smear
การตรวจวิธีนี้เป็นวิธีการใหม่ โดยการเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกใส่ในขวดน้ำยาเฉพาะ
นำส่งตรวจทางห้อง ปฏิบัติการเพื่อเตรียมกระจกแก้วด้วยเครื่องอัตโนมัติ
จากนั้นย้อมสีและตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
ข้อดีของน้ำยา คือสามารถสลายมูกเลือดที่ปนเปื้อนไม่ให้มารบกวนการอ่านได้
ดังนั้น เซลล์ที่ปรากฏบนกระจกแก้วจึงมีการเรียงตัวดี ไม่ทับซ้อนกัน จึงทำให้พยาธิแพทย์มองเห็นได้ง่าย
โอกาสในการอ่านผิดพลาดจึงน้อย และพบเซลล์ที่ผิดปกติได้ง่าย
ซึ่ง ปัจจุบันนี้ Liquid- based Pap smear เป็นวิธีการที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าแบบ Conventional Pap smear
การป้องกันมะเร็งปากมดลูก นอกจากต้องเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในด้านเพศสัมพันธ์แล้ว
การใช้ถุงยางอนามัยก็ ถือเป็นการป้องกันอีกวิธีหนึ่ง
แต่วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบัน คือ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
รวมทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการค้นหาเซลล์ที่ผิดปกติก่อนที่จะเป็นมะเร็ง
โดยหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
บทความเรื่อง รู้ทันมะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบที่คุกคามสตรีไทย
sriphat.med.cmu.ac.th
Sriphat Medical Center |
สามารถติดตามช่องทางเพิ่มเติมได้ที่
• Call center : 0-5393-6900-1
• LINE Official :
https://lin.ee/h3Wxyp3
• Facebook :
https://bit.ly/2Kid6X9
• Youtube :
https://bit.ly/3anQsH6
• Twitter :
https://bit.ly/3eACDJ2
• Instagram:
https://bit.ly/2VnrTGo
• Blockdit :
https://bit.ly/2VqvL9D
• Website:
http://sriphat.med.cmu.ac.th/
บันทึก
7
3
7
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย