25 มิ.ย. 2020 เวลา 09:46 • ข่าว
#เจาะเบื้องหลังอะโครโพลิซมิวเซี่ยม
#พิพิธภัณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทวงสมบัติชาติ
1
เครดิตภาพ Discovergreece.com
หากใครมีโอกาสได้ไปเที่ยวกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ก็จะต้องแวะไปชม พาร์เธนอน วิหารศักดิ์สิทธิ์โบราณ สร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง ที่มีอายุมากกว่า 2,500 ปี ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโพลิซ สร้างไว้บูชาเทพีอาธีน่า ตามตำนานเทพปกรณัมของกรีกโบราณ ใครไม่ไปชม ถือว่ามาไม่ถึงกรีซทีเดียว
1
วิหารพาร์เธนอนนี้แห่งนี้ จัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมไอคอนของอารยธรรมกรีก และได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้ตัววิหารจะเก่ามาก และรัฐบาลกรีกก็กำลังบูรณะปฏิสังขรณ์อยู่
เครดิตภาพ Greek Reporter
ส่วนงานศิลปะ รูปปั้น อันล้ำค่าภายในวิหาร ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ทางรัฐบาลกรีกได้ขนย้ายไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อะโครโพลิส ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัววิหาร พาร์เธนอนมากนัก
1
แต่ต่อมามีการค้นพบสมบัติโบราณในยุคกรีกมากขึ้น ทางรัฐบาลกรีกจึงต้องสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ และจำเป็นต้องสร้างให้ยิ่งใหญ่ อลังการ สมศักดิ์ศรี มากกว่าเก่าหลายเท่า เพื่อเตรียมไว้สำหรับจัดแสดงงานศิลปะล้ำค่า อันประเมินค่ามิได้ชิ้นหนึ่ง ที่เคยประดับอยู่ในวิหารพาร์เธนอน
1
เครดิตภาพ Greek Reporter
สิ่งนั้นก็คือ The Parthenon Frieze หรือแถบแกะสลักหินอ่อนภายในวิหาร ผลงานของ ฟิเดียส ช่างแกะสลักหินอ่อนมือหนึ่งแห่งยุคกรีก
แถบแกะสลักแห่งวิหารพาร์เธนอน เคยมีความยาวถึง 160 เมตร นำเสนอเรื่องราวติดต่อกัน ตั้งแต่การต่อสู้ในตำนานกรีก เรื่องราวของเทพเจ้ากรีก และโลกมนุษย์ ไปจนถึงการสรรเสริญบูชาเทพีอาธีน่า
เครดิตภาพ Wikipedia
แต่ทว่า แถบแกะสลักหินอ่อนนี้ หลงเหลืออยู่ในเอเธนส์ในปัจจุบันนี้เพียงแค่ไม่ถึง 1 ใน 3 เท่านั้น
ส่วนที่เหลือ ถูกแกะออกไปจากวิหารพาร์เธนอน โดยผู้รุกราน และเจ้าอาณานิคม กระจายไปสู่ประเทศอื่น
และผู้ที่ถือสิทธิ์ จัดการแงะแถบหินอ่อนแห่งพาร์เธนอน ออกไปโดยที่เจ้าของประเทศ(ตัวจริง) ไม่ได้อนุญาต ก็คือ อังกฤษนี่เอง
2
แต่ก่อนที่แถบหินอ่อน และศิลปะบางส่วนจะถูกนำส่งไปที่อังกฤษ ตัววิหารพาร์เธนอนเอง ก็ผ่านร้อน ผ่านหนาว ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และไฟสงครามของมนุษย์มานับพันปี
หลังจากที่ยุคอารยธรรมกรีกเสื่อมถอย และกรุงเอเธนส์ถูกครอบครองโดยอาณาจักรโรมัน วิหารแห่งนี้ ก็ถูกดัดแปลงมาใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของลัทธิเพแกน ของชาวโรมัน
1
แต่ต่อมาในยุคคริสต์ วิหารแห่งนี้ก็ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นโบสถ์คริสต์ และเป็นจุดหมายของการแสวงบุญของผู้ศรัทธาชาวคริสเตียนในยุโรป
1
แต่พอมาถึงยุคจักรวรรติออตโตมันเรืองอำนาจ ยกทัพมายึดกรุงเอเธนส์ วิหารพาร์เธนอน ก็ถูกใช้เป็นสุเหร่าของชาวมุสลิม
2
เท่านั้นยังไม่พอ ต่อมาชาวเติร์ก แห่งออตโตมัน ยังเอาวิหารมาใช้เป็นคลังอาวุธ เก็บกระสุนดินปืน เมื่อต้องทำสงครามกับพวกเวนิส ในปี 1687 แล้วก็เกิดระเบิดภายในวิหาร ความแรงของระเบิดทำให้ กำแพง และเพดานวิหารถล่มลงมาครึ่งหนึ่ง รูปปั้นแกะสลักภายในตัววิหารเสียหายหนักมาก และมีบันทึกว่า มีผู้เสียชีวิตภายในวิหารมากถึง 300 คน
1
ภาพวาดแสดงการระเบิดภายในวิหารพาเธนอน เครดิตภาพ Greek Reporter
จนกระทั่งการมาถึงของท่านโธมัส บรูซ เอิร์ลที่ 7 แห่งตระกูลอิลกิน ที่เป็นเอกอัครราชฑูตอังกฤษ เดินทางไปกรุงเอเธนส์ ในปี 1798 เกิดสนใจแถบแกะสลักหินอ่อนแห่งพาร์เธนอนขึ้นมา เลยเดินเข้าไปเจรจาขอกับสุลต่านแห่งออตโตมัน ที่ปกครองเอเธนส์อยู่
เครดิตภาพ Wikipedia
โดยท่านเอิร์ลอ้างว่า ได้รับอนุญาตจากสุลต่านแล้ว ก็จัดการถือวิสาสะเข้าไปแงะเอาผลงานแกะสลักหินอ่อนอันสุดยอดของ ฟิเดียส ชิ้นนี้ไปมากกว่าครึ่ง
1
นอกจากจะเอาแถบหินอ่อนส่วนใหญ่ไปแล้ว ยังไปขนรูปแกะสลักชิ้นอื่นๆใน วิหารอิเลกเทียม และวิหาร อาธีนา ไนกี ด้วย
1
รูปแกะสลักเทพีพิทักษ์เสาวิหาร ที่เคยมี 6 สาวพี่น้อง แต่เหลืออยู่ในพิพิธภัณฑ์ อะโครโพลิซแค่ 5 อีก 1 เสา อยู่ในบริติช มิวเซี่ยมในลอนดอน เครดิตภาพ Discovergreece/ Wikipedia
โดยความตั้งใจแรกคือ จะเอาไปประดับตกแต่งในคฤหาสถ์ส่วนตัวหลังจากกลับไปอังกฤษแล้ว
1
แต่ปรากฏว่า ค่าขนส่งจากเอเธนส์ ไปลอนดอน ราคาสูงมาก ท่านเอิร์ลจ่ายจนหมดตัว จึงจำเป็นต้องขายงานศิลปะทั้งหมดที่ขนมาให้แก่รัฐบาลอังกฤษ
แล้วรัฐบาลอังกฤษก็นำงานศิลปะจากวิหารพาร์เธนอน ไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อังกฤษ หรือ British Museum ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แถมยังเรียกว่า "Elgin Marbles" หรือ งานหินอ่อนของตระกูลอิลกิน
1
แถบหินอ่อนแห่งพาร์เธนนอนใน บริติช มิวเซี่ยม เครดิตภาพ Wikipedia
และอ้างสิทธิ์ว่า เก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัยในลอนดอน ดีกว่าจะทิ้งให้เสียหายยิ่งไปกว่านี้หากยังอยู่ในเอเธนส์ ที่ยังมีภัยสงคราม
1
แต่พอเวลาผ่านเนิ่นนาน หลายร้อยปี จนสงครามโลก 1-2 ก็จบไปแล้ว อังกฤษก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะคืนแถบหินอ่อนนี้ให้กับกรีซ
1
และรัฐบาลของกรีซก็ทวงถามมาหลายสิบปี เพราะความตั้งใจของกรีซคือ ต้องการรวบรวมแถบหินอ่อนแห่งพาร์เธนอนนี้ ให้ครบเป็นงานผืนเดียวกันอีกครั้ง
1
จากแถบหินอ่อนความยาวกว่า 160 เมตร
- เหลืออยู่ในเอเธนส์ 50 เมตร
- จัดโชว์อยู่ในบริติช มิวเซียมเต็มขนาดถึง 80 เมตร
- 1 ท่อนอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ ที่ปารีส
- อีกเสี้ยวกระจายอยู่หลายพิพิธภัณฑ์ ทั้งในอิตาลี เยอรมัน ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์
1
ถ้าอังกฤษส่งคืนงานผืนใหญ่กว่า 80 เมตรมา ชิ้นส่วนย่อยๆ ก็จะตามได้ไม่ยาก
แต่อังกฤษก็ยังไม่ยอมคืนให้กรีซ
1
และหนึ่งในข้ออ้างที่อังกฤษยังเก็บแถบหินอ่อนแห่งพาร์เธนอนชิ้นใหญ่ไว้ เพราะกรีซยังไม่มีที่จัดแสดง ที่เหมาะสม เป็นเกียรติ เป็นศรี สมศักดิ์ศรีงานชิ้นเอกของโลก นี่เอง
ดังนั้น รัฐบาลกรีซจึงไม่รอช้า ทุ่มงบสร้างพิพิธภัณฑ์ New Acropolis Museum แห่งนี้ จนเสร็จออกมาสวยงาม ยิ่งใหญ่สมใจ ในปี 2009
เครดิตภาพ Why Athens
แต่สร้างเสร็จมาก็ 10 กว่าปีแล้ว รัฐบาลกรีซก็ทวงแล้ว ทวงอีกกับทางรัฐบาลอังกฤษ ก็ไม่ยอมคืนให้ซักที
1
โดยรัฐบาลอังกฤษได้ให้เหตุผลในความอิดออดนี้ว่า เอิ่ม! จะว่ายังไงดี คือศิลปะของโลก ก็เหมือนสมบัติผลัดกันชม เราควรเปิดโอกาสให้คนทั่วโลกได้มีโอกาสเข้าถึง ชื่นชมได้ง่ายๆ
อย่างบริติช มิวเซี่ยมของเรา ก็เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมาก รวบรวมงานศิลปะ และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ล้ำค่าจากทั่วโลก มาไว้ในที่เดียวกว่า 8 ล้านชิ้น ในแต่ละปีก็มีคนมาชมถึง 6 ล้านคน และเราเปิดให้ชมฟรี
แล้วทางกรีซก็มีแถบหินอ่อนอยู่แล้วส่วนหนึ่ง ดังนั้นจะดีกว่าไหม ถ้าอังกฤษจะยังคงเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ให้คนมาชมได้อีก ดีกว่ารวบรวมไปไว้แค่เพียงที่เดียว ชาวโลกหลายคนก็อาจเสียโอกาสที่จะได้ชมงานศิลปะทางประวัติศาสตร์นี้
1
แถบหินอ่อนแห่งพาร์เธนอน ในพิพิธภัณฑ์อะโครโพลิซ เครดิตภาพ Why Athens
เมื่อทางอังกฤษส่งสัญญาณตีมึน กรีซก็ไม่ยอมแพ้ ยืนยันว่าจะขอคืน เพราะแถบหินอ่อนชิ้นนี้ มันจะบอกเล่าเรื่องราวอย่างสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อต่อให้เป็นชิ้นเดียวกัน ถึงจะทรงคุณค่าสูงสุด
1
และกรีซก็จะเดินหน้า ทวง ทวง และ ทวง ทุกปี ทุกรัฐบาล จนกว่าจะได้ เพราะมันเป็นสมบัติของกรีซ และควรได้กลับคืนสู่เอเธนส์
นักโบราณคดีชาวกรีซ ผู้ดูแลงานศิลปะกรีกในพิพิธภัณฑ์อะโครโพลิซ เครดิตภาพ Discovergreece
ถึงแม้ตอนนี้จะเริ่มมีหลายฝ่ายออกมากดดันให้รัฐบาลอังกฤษ คืนงานหินอ่อนแห่งพาร์เธนอนให้กรีซเขาได้แล้ว เพราะมันเป็นสมบัติชาติของกรีซ ไม่ใช่ของยูว์ แต่อังกฤษก็จำเป็นที่จะต้องมี "ความลีลา" นิดนึง😀
1
เพราะอย่างที่เรารู้กันว่า ในบริติช มิวเซียม มีงานศิลปะของชาติอื่น ที่อังกฤษรับมาเป็นของตน ทั้งที่ขอ และ ไม่ได้ขอจากเจ้าของประเทศตัวจริงอยู่เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่สมัยล่าอาณานิคม
1
ดังนั้น หากจะคืนให้ง่ายๆ คงไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะมีโจทก์อีกหลายประเทศ ตามมาขอทวงสมบัติชาติของเขาคืนบ้าง เดี๋ยวจะไม่เหลืออะไรให้จัดแสดง อีกหน่อยคงต้องยกสโตนเฮนจ์ ทั้งก้อน เข้ามาจัดแสดงแทนแน่ๆเลยค่า😅
1
รูปแกะสลักหินอ่อนจากกรีก ใน บริติช มิวเซียม เครดิตภาพ Artnet.com
แหล่งข้อมูล
โฆษณา