2 ก.ค. 2020 เวลา 02:00 • การศึกษา
การหาขนาดกล่องดึงสาย ( Pull Box ) แบบการดึงสายแบบหักเลี้ยว (Angle Pulls)
การคำนวณขนาด Pull Box แบบการดึงสายแบบหักเลี้ยว (Angle Pulls)
ในการเดินสายไฟภายในอาคาร ก็จะมีความซับซ้อนค่อนข้างมากนะครับ ในหลายๆ ครั้งจะไม่สามารถทำการเดินสายไฟในระยะทางตรงตลอดทางได้ จึงจำเป็นต้องมีการดึงสายไฟไปในทิศทางต่างๆ
ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้ง กล่องดึงสาย หรือ Pull Box ไว้เป็นระยะครับ เพื่อความสะดวกในการดึงสายและป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าเสียหายครับ
กล่องดึงสาย
ข้อกำหนดมาตรฐาน NEC Section 314.28(A)
มาตรฐานระบุไว้ว่าระยะห่างระหว่างท่อไปถึงผนังฝั่งตรงข้ามของกล่อง จะต้องมีระยะไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อที่ใหญ่ที่สุดครับ รวมกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อที่เหลือซึ่งเข้าสู่ผนังของกล่องในแถวเดียวกัน และระยะที่สั้นที่สุดระหว่างท่อด้านเข้าและท่อด้านออก จะต้องไม่น้อยกว่า 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อนั้นครับ
ตัวอย่างที่ 2
โดย Pull Box ใบนี้ใช้กับท่อขนาด 2 นิ้ว ครับ เพื่อนลองดูวิธีการคำนวณหาความยาวน้อยสุดกับระยะสั้นที่สุดท่อด้านเข้า - ด้านออก ครับ
ตัวอย่างที่ 2
1. การหาความยาวน้อยสุดของกล่องดึงสาย
จากสูตรความยาวน้อยสุดของ Pull Box ใบนี้ = 6 x ขนาดท่อ 2 นิ้ว = 12 นิ้ว
ดังนั้นเราก็จะได้ Pull Box ขนาดความยาวน้อยสุดที่ 12 นิ้วไปใช้งานครับ
2. การหาระยะสั้นที่สุดของท่อด้านเข้าและด้านออก
จากสูตรระยะท่อสั้นที่สุด = 6 เท่าของขนาดท่อ 2 นิ้ว = 12 นิ้วครับ
ตัวอย่างที่ 3
โดย Pull Box ใบนี้ใช้กับท่อขนาด 3นิ้ว , 2 นิ้ว และ 1 นิ้วครับ
จากตัวอย่างท่อขนาด 3 นิ้ว คือท่อที่ขนาดใหญ่ที่สุดครับ
ตัวอย่างที่ 3
1. การหาความยาวน้อยสุดของกล่องดึงสาย
การหาขนาดความยาวของ Pull Box ใบนี้ = (ผลคูณ 6 เท่าของขนาดท่อที่ใหญ่ที่สุดคือท่อ 3 นิ้ว ) + ขนาดท่อที่เหลือ คือ ท่อ 2 นิ้ว และท่อ 1 นิ้ว
ดังนั้นเราจะได้ขนาด Pull Box ความยาวน้อยสุดที่ 21นิ้วไปใช้งานครับ
2. การหาระยะสั้นที่สุดของท่อด้านเข้าและด้านออก
ระยะ D1 จะมีค่าเท่ากับ 6 เท่าของขนาดท่อ 3” = 6 x 3" = 18 นิ้ว
ระยะ D2 จะมีค่าเท่ากับ 6 เท่าของขนาดท่อ 2” = 6 x 2" = 12 นิ้ว
ระยะ D3 จะมีค่าเท่ากับ 6 เท่าของขนาดท่อ 1” = 6 x 1" = 6 นิ้ว
รูปตัวอย่าง Pull Box แบบหักเลี้ยว
เพื่อนๆ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Link นี้ได้ครับ
โฆษณา