Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฉุดคิด
•
ติดตาม
26 มิ.ย. 2020 เวลา 05:16 • การศึกษา
ไม่บ่อยนัก กับการแข่งขันที่ CEO จะแพ้ให้กับ.....
marshmallow challenge (มาชเมลโล่ชาเลนจ์)
cr. รูปจาก https://www.schoolofchangemakers.com/journal/11354/
เป็นเรื่องราวของการนำ ต่อหอคอยมาชเมลโล่ให้สูงที่สุดโดยมีข้อแม้ว่า มาชเมลโล่ต้องอยู่บนสุดของหอคอยเท่านั้น และใช้อุปกรณ์ที่จำกัด ไว้ให้ก็คือ เส้นสปาเก็ตตี้ 20 เส้น เชือก 1 ม้วน(ยาว 1หลา) และเทป 1 อัน ในการทำให้เวลา 20 นาที ทีมละ 4 คน
โดยผู้ที่ริเริ่มโครงการนี้ก็คือ Peter Skillman
และเขาก็นำมันไปทดลองให้คนหลากหลายกลุ่มเล่นนั่น โดยเขาได้จัดการเล่นนี้ไปมากกว่า 70 ครั้งทั่วโลก โดยมีกลุ่มคนที่เข้าร่วมหลากหลายมาก ๆ เช่น CEO นักเรียนนักศึกษา สถาปนิก เป็นต้น
คราวนี้ผมจะให้ลองถ่ายดูว่าระหว่าง กลุ่มคน 4 กลุ่มนี้ ใครคือผู้ที่สร้างหอคอยมาชเมลโล่ได้สูงที่สุดกันครับ
1. พนักงานหัวกะทิในออฟฟิศ
2. ผู้บริหารระดับสูง CEO cfo
3. นักศึกษา Business school
4. เด็กอนุบาล
ที่จริงมีกลุ่มนะครับแต่กลุ่มนี้เนี่ยถ้าเขาไม่ใช่กลุ่มคนที่สร้างหอคอยได้สูงที่สุดผมว่าพวกเราคงจะน่าหนักใจเพราะพวกเขาคือวิศวกร
มีคำใบ้ที่ 1 ให้ว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่สร้างหอคอยสูงที่สุดอยู่เกือบ 30 นิ้วเลยทีเดียว
TikTok...... TikTok...... TikTok......
TikTok...... TikTok...... TikTok......
TikTok...... TikTok...... TikTok......
อาจจะยากไปหน่อย ผมใบ้ให้อีก อย่างก็แล้วกัน
คำว่าให้ก็คือ ในกลุ่มปกติแล้ว จะใช้เวลาส่วนมากในการคิด เพื่อที่จะหาแผนที่ดีที่สุด และก็แบ่งหน้าที่กันอย่างลงตัว หลังจากนั้นสิ่งสุดท้ายที่พวกเขาทำ นั่นก็คือ "ลงมือทำ" แต่แล้วผลที่ได้ก็คือ มีกลุ่มที่ล้มเหลวมากถึง 50% หลังจากที่สร้างหอคอยเสร็จไปแล้ว หรือหอคอยพังระหว่างนำเสนอนั่นเอง ส่วนอีก 50% นั้นรอด แต่ได้หอคอยที่ไม่ได้สูงเท่าไหร่นัก
และกลุ่มที่ทำความสูงได้มากที่สุดนั้นใช้วิธีการที่แตกต่างไป นั่นก็คือ เพราะเขาไม่ได้แบ่งหน้าที่กัน ว่าใครจะทำอะไรแต่สิ่งที่เขาทำก็คือ ลงมือในทันที เพื่อสร้างหอคอย และเมื่อทำไม่สำเร็จ ก็นำมาปรับปรุงแก้ไขจนในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป 20 นาที ก็ได้หอคอยที่มีความสูงมากกว่าค่าเฉลี่ย
ตอนนี้คิดว่าใครเป็น ผู้ชนะกันครับ??
เฉลย!!!
กลุ่มที่ชนะนั่นก็คือ เด็กอนุบาลครับ
ฮะ!!! นี่คือคำอุทานแรกที่ผมได้ยินเรื่องนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งไม่รู้ว่าคุณจะอุทาน แบบเดียวกับผมรึเปล่า และรู้ไหมครับในบรรดา 4 กลุ่มนี้ ผลงานค่าเฉลี่ย กลุ่มไหนทำได้แย่ที่สุด??
ไม่ต้องคิดหนักครับ ผมเฉลยให้เลย กลุ่มนั้นก็คือ กลุ่ม นักศึกษา Business school
น่าแปลกใจใช่ไหมหละครับ??
ความแตกต่างของความคิด นั่นคือ "คีย์เวิร์ด" ที่สำคัญของเรื่องนี้
ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิต นักศึกษา Business school หรือ CEO สิ่งแรกที่พวกเขามักจะทำนั่นก็คือ วางแผน และแบ่งหน้าที่ก่อนเสมอ นั่นก็เพราะว่า ในการทำงาน และในการเรียน พวกเขาถูกสอนมาให้ทำอย่างนั้น
แต่ สำหรับการสร้างหอคอยนี้ วิธีการนี้กลับใช้ไม่ได้ครับ
อาจจะด้วยเวลาที่จำกัด และอุปกรณ์ที่มีเพียงน้อยนิด นั่นทำให้ การวางแผน เป็นสิ่งที่ใช้ทีหลังก็ได้
กลับกัน กลุ่มที่ทำได้ดีนั่นก็คือ กลุ่มของเด็กอนุบาล
เด็ก ๆ จะไม่มานั่งวางแผนหรอกครับ ว่าจะสร้างเป็นแบบไหนยังไง และไม่เสียเวลามาแบ่งหน้าที่กันหรอกว่าใครจะทำอะไร สิ่งที่พวกเขาทำเป็นอันดับแรก นั่นก็คือ การลงมือทำในทันที ซึ่ง ข้อดีของมันก็คือ เด็กจะรู้ได้ทันทีเลยว่า ไอ้ที่ทำอันแรก มันไม่เวิร์ค ต้องแก้ไข และปรับปรุงใหม่ จนสุดท้าย พอจบ 20 นาที เด็กอาจจะทำหอคอยอันที่ 3 ไปแล้ว แต่ผู้ใหญ่กลับ ทำหอคอยได้เพียงอันเดียว
ความสำคัญ ของการ ทำ Prototype และ Test แบบ Design Thinking นั้นเริ่มเห็นผลชัดเจน ถึงแม้ว่าเด็ก ๆ จะไม่เคยเรียนเรื่องราวเหล่านี้มาก็ตาม
เรารู้มาตลอดว่า คนที่ผิดพลาดเร็ว และแก้ไขได้เร็ว คนนั้นจะเป็นคนที่ก้าวไปได้เร็วกว่าเสมอ
เด็กนั้นคือวัยในช่วงที่ความคิดโลดแล่น พร้อมที่จะทำผิดพลาดอยู่ตลอด พร้อมที่จะทดลองสิ่งต่างๆ ซึ่งผิดกับผู้ใหญ่ ที่มักจะกลัวว่า ฉันจะทำผิดพลาดไปไหม แก้ไขได้อีกรึเปล่า
ด้วยเหตุผลแบบนี้ เด็กๆ จึงมีจินตนาการที่โลดแล่นมากกว่าผู้ใหญ่เอามากๆ
ผลลัพธ์ ของหอคอย ของพวกเด็ก ๆ นั้น ไม่ใช่แค่สูงเพียงอย่างเดียว แต่มีความแปลก และประหลาดเข้ามาด้วย บางอันอาจไม่ใช่รูปทรงที่เราคุ้นเคยกันเสียด้วยซ้ำ แต่ด้วยจินตนาการที่มีมากมาย และไม่มีกรอบมาคอยกันนั่นแหละ จึงทำเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา
ในตอนแรก หลาย ๆ คนก็คิดว่า marshmallow challenge ก็เป็นแค่กิจกรรมสนุก ๆ ไม่ได้จริงจังอะไร แต่เมื่อนำผลที่เป็นระดับกลุ่มคนหลากหลายมาดูแล้ว ทำให้พบเรื่องราวที่น่าสนใจซ่อนอยู่อีกมากมาย อาทิเช่น
กลุ่มของ CEO ถ้าให้มาร่วมกันคิดเอง จะต่อได้สูง แค่ประมาณ 20 กว่านิ้ว แต่เมื่อในกลุ่มนั้นมีเลขาเข้ามาด้วย กลับทำให้ต่อได้สูงขึ้นไปถึงเกือบ 30 นิ้วเลยทีเดียว
ทุกวันนี้ ก็ยังมีบางคนนำ marshmallow challenge มาใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่มขององค์กร อยู่เป็นประจำ เพราะนอกจากจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้กับคนในทีมแล้ว ยังแฝงไปด้วยแง่คิดการบริหาร และการจัดการ ระหว่างการทำงานอีกด้วย
ถ้าใครว่างๆ ลองเอาไปเล่นกันดูได้นะครับ และมาบอกผมด้วยหละ ว่าผลเป็นยังไง ^^
คิดว่าเรื่องราวนี้คงจะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย นะครับ
cr.
https://www.ted.com/talks/tom_wujec_build_a_tower_build_a_team/transcript#t-296789
12 บันทึก
35
6
17
12
35
6
17
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย