29 มิ.ย. 2020 เวลา 01:30 • ธุรกิจ
❤️ Agile เป็นเรื่องของ Soft Skills ❤️
ผมเป็นเด็กสายวิทย์ ตอน ม.ปลายก็เข้าค่ายคอมฯโอลิมปิก เรียนวิศวะ จบมาก็เขียนโค้ด และมาก็รู้จัก Agile ผ่านโลกของการพัฒนาซอฟต์แวร์จำได้ว่าในตอนแรกๆนั้น ผมตื่นเต้นกับ Test Driving Development (TDD) มาก บอกตัวเองว่านี่แหละคือทางที่ใช้ หัวหน้าเก่าของผมท่านหนึ่งถึงกับนิยามว่าโปรแกรมเมอร์ใดไม่ทำ TDD นี่คือไม่รับผิดชอบต่ออาชีพ เทียบได้เหมือนกับเป็นคุณหมอที่ทำการผ่าตัดโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อกันเลยทีเดียว!
1
มีรุ่นพี่ที่เคารพท่านหนึ่งที่เคยทำงานเป็น Manager ด้วยกันที่รอยเตอร์และทำ Agile ล้มลุกคลุกคลานมาด้วยกัน พอออกจากรอยเตอร์แล้วพี่เขาก็ไปเป็น CTO ที่บริษัท Fintech สุดฮ๊อตแห่งหนึ่ง คุมโปรแกรมเมอร์ร่วมร้อยและผมก็ได้มีโอกาสไปช่วยทำ Agile Transformation อยู่ที่บริษัทนี้ด้วย จำได้ว่ามีอยู่วันหนึ่งพี่เขาพูดขึ้นมาทำนองว่า
1
😅 พี่ไม่ส่งน้องไปเรียน TDD นะเสียเวลา พอโดนเร่งมาก็ไม่ได้ทำอยู่ดี 😅
1
อ้าวเฮ้ย ไหงงั้นหล่ะพี่ แค่คิดนะครับ ไม่ได้พูดออกไป ตอนนั้นผมคิดแต่ว่าทำอย่างนี้ไม่ถูกต้องนะ ไม่เชื่อในศาสดา Kent Beck ผู้คิดค้น TDD แบบนี้จะเจริญได้อย่างไร จะว่าไปแล้ว จริงๆมาคิดดูตอนนี้ คำถามที่ว่าทำ Agile ต้องทำ TDD หรือไม่ก็คล้ายๆกับคำถามที่ว่าเอสเปรสโซ่ใส่น้ำตาลได้ไหม กว่าผมจะถึงบางอ้อว่า Agile มันไม่ได้เกี่ยวกับว่าเราจะ TDD หรือไม่ เวลาก็ผ่านไปหลายปี
1
มาจนถึงวันนี้ผมบอกได้เต็มปากว่า Agile ไม่ใช่เรื่องของ Hard Skills หรือ Technical Skills อย่าง TDD สักเท่าไหร่ แต่
Agile เป็นเรื่องของ Soft Skills แทบจะล้วนๆเลย ขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้บอกว่า Hard Skills ทั้งหลายไม่สำคัญ มันสำคัญแน่ๆ และสำคัญมากด้วย แต่ถ้าเราไม่มี Soft Skills มาประกอบแล้ว Hard Skill เหล่านั้นมันจะไม่มีความสำคัญอะไร และวันหนึ่งอาจโดนคลื่นซัดหายไปเหมือนปราสาททรายริมหาดที่เราอุตสาห์สร้างมากับมือด้วยความยากลำบาก
3
❤️ ย้อนกลับมาดู Agile Manifesto
ลองย้อนกลับมาดูหัวใจที่สำคัญที่สุดของ Agile ที่ไม่น่าเชื่อว่า หลายคนที่ใช้ Agile อยู่ ไม่เคยได้ยิน หรือได้ยินแต่ก็ลืมไปแล้ว นั่นคือ Agile Manifesto ซึ่งกล่าวไว้ถึงค่านิยม สี่ข้อที่ว่า
1️⃣ Individuals & Interactions OVER Processes & Tools
ให้ความสำคัญกับ “คน” — เรากำลังทำงานกับ ป้าจอย ผู้รักการวิ่ง กำลังดูแลคุณพ่อที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และชอบซี่รี่ส์เกาหลี่เรื่อง Crash Landing On You มาก ไม่ใช่แค่ Product Owner จาก Marketing การที่ป้าจอย หงุดหงิดผิดปกติเมื่อวันก่อน อาจไม่ใช่เป็นเพราะทีมทำ Story ไม่เสร็จ แต่อาจเป็นเพราะแกเครียดเรื่องพ่อก็เป็นไปได้
2
ให้ความสำคัญกับ “การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน” — Neuroscience พิสูจน์มานานแล้วว่า มนุษย์เราตัดสินใจด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผล แต่เรายังหลงคิดว่าทุกคนควรจะใช้เหตุผลในการตัดสินใจกันอยู่เลย การจะปฏิสัมพันธ์และสื่อสารกับคนอื่นได้ดี จึงขึ้นกับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) มากกว่าสติปัญญา (IQ)
2
มากกว่าการให้ความสำคัญกับ “กระบวนการทำงานและเครื่องมือ”
2️⃣ Working Software OVER Comprehensive Documentation
ให้ความสำคัญกับของที่ “ใช้ได้จริงๆในมือลูกค้า” — ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องเกิดจากการที่เราเข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร และในยุคของ Design Thinking ครองโลกนี้ เราก็คงห
นีไม่พ้นที่จะกล่าวว่า เราต้องไป Empathize หรือไปนั่งอยู่ในใจลูกค้าตัวจริง
2
มากกว่าการให้ความสำคัญกับ “การทำงานเอกสารให้ครบถ้วน”
3️⃣ Customer Collaboration OVER Contract Negotiation
ให้ความสำคัญกับ “การร่วมไม้ร่วมมือกับลูกค้า” — ซึ่งเราไม่ได้พูดถึงการประสานงานกันกับแค่ลูกค้าคนสองคน แต่เป็นการประสานงานกับลูกค้าทั้งสาย ทั้งลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอก ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ ซึ่งแน่นอนว่า ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเห็นตรงกันไปซะทุกเรื่อง
1
มากกว่าการให้ความสำคัญกับ “การต่อรองให้เป็นไปตามสัญญา” — หรือที่ลูกค้าคนหนึ่งของผมพูดถึงข้อนี้ด้วยความอัดอั้นตันใจว่า “เอาสัญญาเควี้ยงใส่ (ก็ทำตามที่เขียนไว้แล้วนี่ไง ใช้ได้ไม่ได้ ไม่ใช่ปัญหาของผม)”
4️⃣ Responding To Change OVER Following A Plan
ให้ความสำคัญกับการ “ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์” — แต่ข่าวร้ายคือมนุษย์เราไม่ค่อยชอบการถูกบังคับให้เปลี่ยน และคนเดียวที่เราควบคุมให้เปลี่ยนได้ก็คือตัวเราเอง ซึ่งยังเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย การจะปรับเปลี่ยนแผนได้ต้องทำงานร่วมกับคนจำนวนมาก จึงยิ่งยากเป็นทวีคูณ
1
มากกว่าการ “ยึดตามแผนเดิมที่วางไว้แต่แรก”
สิ่งที่เราได้ร่ำเรียนกันมาในโรงเรียน มหาวิทยาลัย รวมไปถึงคอร์สที่ HR บริษัทส่งพนักงานไปเรียน ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน การใช้เครื่องมือต่างๆในการทำงาน ทักษะการอ่าน การเขียน งานเอกสาร การทำสัญญา การเขียน Spec การวางแผน ล้วนแต่อยู่ฝั่งขวาของ Manifesto ทั้งสิ้น
ส่วนฝั่งซ้ายของ Manifesto นี่ ไม่ใครมีบรรจุไว้ในหลักสูตร Main Stream สักเท่าไหร่ อาจต้องไปหาตามหนังสือ Self Help ตามแผง ก็มักจะได้แต่เปลือกมา จะหาใครปรึกษาก็ยาก ทักษะเหล่านี้จึงมักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ชีวิตที่สั่งสมมา แต่ถ้าใครโชคดีได้ครูบาอาจารย์ดีๆ อาจจะเป็นคนใกล้ตัวคือพ่อแม่ หรือหัวหน้า หรืออาจไปเจอโค้ชแท้ๆ ที่ไม่ใช้ โค้ช .JPG หรือโค้ชสร้างภาพ ก็อาจจะโชคดีกว่าคนอื่นๆ
ลองมาพิจารณาฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของ Manifesto ดูอีกทีจะเห็นว่า
🙃 ฝั่งขวาของ Agile Manifesto เป็นเรื่องของ Hard Skills ส่วน ฝั่งซ้ายที่เราควรให้ความสำคัญมากกว่า เป็นเรื่องของ Soft Skills ทั้งสิ้น 🙃
1
แต่หลายๆคน โดยเฉพาะเด็กสายวิทย์อย่างผม ไม่เคยได้ร่ำได้เรียนเรื่อง Soft Skills อะไรเหล่านี้มาเลย จึงไม่น่าแปลกใจที่ไม่ค่อยเห็นมีใครทำ Agile ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่หวังไว้กันสักเท่าไหร่ ยิ่งถ้าไปเจอผู้นำสาย Hard นี้ จบตั้งแต่ยังไม่ต้องเริ่มเลย
❤️ Disrupt AI ด้วย ทักษะทางใจ ฝั่งซ้ายของ Agile Manifesto
1
ในยุคที่หุ่นยนต์เริ่มเข้ามาแย่งงานมนุษย์มากขึ้นเรื่อยๆ เราเริ่มพูดกันบ่อยขึ้นว่า อาชีพไหนจะหายไป AI จะมาแทนใครบ้าง คำว่า AI เริ่มเข้ามาอยู่ในสังคมไทย จนเมื่อไม่นานมานี้ยังมีดราม่ากันอยู่เลยว่า โครงการเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาลช่วงโควิทนั้น ใช้ AI หรือเปล่า
1
ผมมีนิยามง่ายๆแบบของผมเองว่า ถ้าโปรแกรมที่เราสร้างมันสามารถ “เรียนรู้ได้” มันถึงจะเป็น AI ถ้ามันแค่ทำตาม logic ที่มนุษย์เป็นผู้คิด แล้วก็ถอดกระบวนการคิดนั้นออกมาเป็นโค้ด มันก็เป็นแค่โปรแกรมปกติที่เรารู้จักกัน
ลองมาคิดดูว่าในอนาคตข้างหน้า เมื่อเรามีคอมพิวเตอร์ที่มีกำลังเร็วขึ้นมหาศาล และสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลขนาดมหึมา AI จะสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้นขนาดไหน การจะสามารถสร้าง AI ที่ ทำตามกระบวนการและเครื่องมือที่ซับซ้อน สร้างเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน ตรวจสอบบังคับใช้สัญญาที่มีรายละเอียดมากมาย และสอดส่องดูตัววัดผลให้งานทุกอย่างเป็นไปตามแผน คงไม่ใช่เรื่องยาก อีกนัยหนึ่งก็คือ สิ่งที่อยู่ด้านขวาของ Agile Manifesto ซึ่งเป็น Hard Skills ทั้งหลายนี้ จะถูก AI เข้ามาแทนที่ได้ไม่ยากเลย หลายอาชีพไม่ว่าจะเป็น ช่าง เลขา ทนายความ หรือแม้แต่ Project Manager ก็อาจจะถูก Disrupt อย่างที่เราได้ยินได้อ่านกัน
1
หันกลับมาดูทางซ้ายของ Manifesto ซึ่งเป็นฝั่งของ Soft Skills ผมยังไม่เห็นทางว่า AI จะมาทดแทนทักษะเหล่านี้ได้อย่างไร
เราอาจจะเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์ “ทำงาน” ได้เร็วกว่ามนุษย์หลายล้านเท่า เราอาจสร้าง AI ให้มีสมองที่จะ “เรียนรู้” และ “ตัดสินใจ” ได้เร็วกว่ามนุษย์หลายล้านเท่า แต่เรายังไม่สามารถทำให้ AI ใช้ใจ “คิด” ได้เหมือนมนุษย์
สิ่งที่คอมพิวเตอร์สามารถทำแทนมนุษย์ได้มีเพียงแค่ HAND และ HEAD แต่ไม่ใช่ HEART
1
❤️ Soft Skills สำหรับยุค Digital
ลูกค้าผมท่านหนึ่งเคยบอกกับผมว่า เขาคิดว่าจริงๆแล้ว Agile นี่มันอยู่กับตัวเรามาตั้งแต่แรกเกิด แต่ไม่รู้ว่าอะไรเหมือนกันทำให้เราหลงลืมมันไป ทั้งที่มันอยู่ข้างในเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรามองว่า Agile เป็นเรื่องของ Soft Skills จริงๆแล้ว Soft Skills ก็อยู่ในตัวเราทุกคนนี่แหละ เพียงแต่เราต้องปลดล๊อค และค้นหามันให้เจอ และถ้าจะใช้ชีวิตอยู่กับโลก AI ได้ เราต้องปลดล๊อคนี้ในตัวเราให้ได้
1
ผมเชื่อว่า Agile เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ ลูกค้าได้ของที่ถูกใจ ธุรกิจแข่งขันได้ และ คนทำงานมีความสุขกับงานที่เขาทำ ผมจึงได้ร่วมก็ตั้ง Agile66 Community เพื่อช่วยเผยแพร่ Agile ในเมืองไทย ผมจึงได้ร่วมก็ตั้ง Lean In Consulting เพื่อช่วยองค์กรที่ต้องการนำ Agile ไปปรับใช้ แต่ผมก็สังเกตเห็นด้วยว่า สิ่งที่เรายังต้องการกำลังเสริมกันส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของ Soft Skills มากกว่า Hard Skills ผมกับกลุ่มเพื่อนๆ จึงได้ร่วมจัดตั้ง ทีมงาน Profundus ขึ้นมา เพื่อช่วยให้คนไทยค้นพบ Soft Skills ที่อยู่ในตัวเราได้
1
พวกเราคิดกันเล่นๆว่า บางทีการเดินทางค้นหาตัวตนที่แท้จริงของเรานั้น อาจจะเหมือนกับการเดินทางของหนูน้อยโดโรธี ในเรื่อง Wizard of Oz ก็ได้ ซึ่งในเรื่องนี้ โดโรธี ถูกพายุหมุนหอบจากแคนซัส พัดหลุดเข้าไปอยู่ในเมืองมรกตของพ่อมดอ๊อซ ในระหว่างการเดินทางเพื่อหาหนทางกลับบ้าน ได้พบกับสหายร่วมผจญภัย 3 ท่าน อันได้แก่ หุ่นไล่กาผู้ไร้สมอง หุ่นกระป๋องผู้ไร้หัวใจ และราชสีห์ผู้ไม่มีความกล้า สิ่งที่สหายทั้ง 4 ได้ค้นพบร่วมกันในการผจญภัยครั้งนี้ก็คือ สิ่งที่พวกเขาค้นหานั้น ล้วนมีอยู่ในตัวพวกเขาตั้งแต่แรก เพียงแต่เขาต้องค้นหามันให้เจอ
1
โครงการแรกของ Profundus คือ Wisdom of Leadership ในโครงการนี้เราไม่ได้มีแม่มดแห่งตะวันตกหรือพ่อมดอ๊อซ มาช่วยให้ค้นหาตัวตนเหมือนใน Oz แต่เรามีสุดยอดปรมาจารย์ด้าน Soft Skills ของเมืองไทย ที่มารวมตัวกันอยู่ในโครงการเดียวกันเป็นครั้งแรกของเมืองไทย
3
ใน Episode ที่ 1 จะเป็นการค้นพบความสามารถของสมอง อวัยวะที่สร้างสรรค์และกำหนดพฤติกรรมของร่างกายและจิตใจของเรา เหมือนที่หุ่นไล่กาค้นหาสมองของตัวเอง อาจารย์แต่ละท่านจะมาช่วยให้ความรู้และตั้งคำถามให้กับสมองของผู้เรียนทุกท่าน ได้เปิดรับและเห็นความสามารถของสมองของตนเองในการกำหนดกลยุทธ์และวิธีคิด
ใน Episode ที่ 2 การเดินทางจาก Episode ที่ 1 จะทำให้เราเกิดความเข้าใจในเรื่องการทำงานของสมองในการสร้างกลยุทธ์ด้วยตัวเราเอง เมื่อเราเข้าใจการสร้างความคิดจากสมองแล้ว เราต้องมาเข้าใจเรื่อง “อารมณ์” ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจของมนุษย์ มนุษย์คือสัตว์ชนิดเดียวที่มีอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายและชัดเจน ทำอย่างไรให้เราเห็นอารมณ์ของตัวเรา ทำอย่างไรให้เรากำหนดอารมณ์ของตัวเราที่แสดงต่อผู้อื่น และต่อตัวเราเองได้ และพร้อมรับทุกอารมณ์ของผู้คน และสุดท้ายทำอย่างไรที่จะสร้างตัวเราที่แตกต่างจากปัญญาประดิษฐ์ที่สุดท้ายค้นพบอารมณ์และความรู้สึก เหมือนหุ่นกระป๋องไร้หัวใจที่ค้นพบหัวใจของตัวเอง
2
ใน Episode ที่ 3 หลังจากที่เราได้สมองที่กำหนดกลยุทธ์เพื่อความสำเร็จแล้ว และเราได้หัวใจที่สามารถบริหารจัดการผู้คนรอบตัว 360 องศาแล้ว เรายังจำเป็นต้องได้ความกล้าหาญมาด้วย เพื่อให้เราหลุดพ้นจากความกลัวในใจ เพื่อให้เราก้าวข้าม Comfort Zone ที่เคยอยู่และสร้าง Growth Mindset ของตัวเราเองที่จะเห็นความกล้า สลัดทิ้งความกลัว กำหนดทิศทางความเป็นผู้นำแบบที่มีปณิธานแน่วแน่ในการทำงานและสร้างความสุขและความสำเร็จ เหมือนเป็นเรื่องง่ายแต่ถ้าลองทบทวนดูจะค้นพบว่า ความกลัวอยู่ในใจเราตลอดเวลา เราต้องเติมความกล้าจำนวนมากลงไปเพื่อทำในสิ่งที่ใช่และถูกต้อง เพื่อนำทางชีวิตสู่ปัญญาที่แท้และยั่งยืน
1
เมื่อได้ สมอง หัวใจ และ ความกล้า มา สหายทั้ง 3 จึงช่วยพาโดโรธี ให้บรรลุเป้าประสงค์ในการเดินทางกลับบ้านได้ ไม่ว่าคุณจะเป็น สกรัมมาสเตอร์ อไจล์โค้ช หัวหน้างาน ผู้บริหาร หรือใครก็ตามที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะ ภาวะผู้นำในตัวคุณ คุณก็สามารถ เพิ่มพลังสมอง ปั๊มพลังใจ ใส่เพิ่มความกล้า เพื่อให้คุณบรรลุเป้าประสงค์ของคุณได้เช่นกัน
1
สนใจโครงการ Wisdom of Leadership ของ Profundus สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มได้ที theprofundus@gmail.com หรือ inbox ของ Profundus FB Page
มาร่วมกัน Disrupt AI ด้วย ทักษะทางใจ ฝั่งซ้ายของ Agile Manifesto กันนะครับ
โฆษณา