27 มิ.ย. 2020 เวลา 09:25 • ธุรกิจ
เสียท่า !!! เซ็นต์สัญญาสละสิทธิค่าชดเชย
สัญญาจ้างงานมีข้อหนึ่งระบุไว้ว่า ลูกจ้างขอสละสิทธไม่รับค่าชดเชยหรือสิทธิใดๆ เมื่อถูกเลิกจ้าง ต่อมาเกิดเหตุเลิกจ้าง กรณีนี้ลูกจ้างยังมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชดได้หรือไม่ ?
ช่วงวิกฤตโควิด-19 “เก้าแก่อู้” กรรมการผู้จัดการ บจก. มังคุด มองเห็นโอกาส “ลดพนักงาน” ทำจดหมายแจ้งลูกจ้างว่า ธุรกิจขาดทุน สินค้าขายไม่ได้ ต้องขอเลิกจ้างพนักงานบางส่วน เพื่อลดต้นทุนหรือความอยู่รอด ประมาณนั้น
“ชัยชนะ” พนักงานขับรถยนต์ ได้รับหนังแจ้งเลิกจ้างโดยไม่ได้รับค่าชดเชยตามอายุงาน ด้วยเหตุผลว่า “ในตอนเริ่มงาน ชัยชนะได้ยินยอมเซ็นต์หนังสือสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย” ให้ไว้กับ “เถ้าแก่อู้” แลกกับการทำงานระยะยาวจนกว่าเกษียณอายุ
ชัยชนะ เห็นว่าเถ้าแก่อู้ ผิดสัญญา จึงเรียกร้องให้ เถ้าแก่อู้จ่ายค่าชดเชย เนื่องจากการเลิกจ้างเท่ากับเงินเดือนสุดท้ายจำนวน 10 เดือน เพราะทำงานมา 21 ปีแล้ว ดังนั้น ควรได้ค่าชดเชย ไม่น้อยกว่า 10 เดือน
แต่เถ้าแก่อู้ไม่ยอมจ่าย นำหนังสือสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยของชัยชนะมาอ้าง และยืนยันว่า ทำแบบนี้มาตลอดไม่มีใครมีปัญหา. ชัยชนะจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยอีกต่อไปตามข้อตกลงในสัญญา ดูผ่านๆ อาจจะมองว่าใช้ สัญญาควรเป็นสัญญา
ชัยชนะ เสียใจมาก ช่วงนี้ งานหายาก ไม่รู้จะทำมาหากินอะไร จะไปขับแท็กซี่ ก็ไม่มีใบอนุญาตขับขี่สาธารณะ แถมแถวๆ บ้านก็เห็นรถเท็กซี่ จอดอยู่กับบ้านเยอะแยะไปหมด เจ้าของรถบอกว่า “ไม่ค่อยมีผู้โดยสาร วิ่งไม่คุ้มกับค่าน้ำมัน” จะลงทะเบียนขอเงินเยี่ยวยาก็ไม่ได้ ไม่รู้จะทำอย่างไรดีแล้ว
การจ่ายค่าชดเชยเป็นหน้าที่ของนายจ้าง ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน หากฝ่าฝืนนายจ้างมีความผิดทางอาญา ถือว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย การที่ “ชัยชนะ” ลูกจ้างทำหนังสือสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย จึงไม่ทำให้สิทธิของลูกจ้างที่จะได้ค่าชดเชยระงับไป
งานนี้ “ชัยชนะ” ต้องได้รับค่าชดเชย. 10 เดือนจากเถ้าแก่อู้ เมื่อได้มาแล้ว ต้องวางแผนใช้จ่ายเงินอย่างระมัดระวัง ยืนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

.(^Old_Cat.^)....
 "C. Chakkrit”
081-823-2594
โฆษณา