30 มิ.ย. 2020 เวลา 12:27 • ประวัติศาสตร์
“เพลงของพ่อ พระราชากับประชาชน”
ซีรีส์ชุด : เดินตามรอยพ่อ
..“ ดนตรีทุกชนิดเป็นศิลปะที่สำคัญอย่างหนึ่ง มนุษย์เกือบทั้งหมดชอบและรู้จักดนตรี ตั้งแต่เยาว์วัยคนเริ่มรู้จักดนตรีบ้างแล้ว ความรอบรู้ทางดนตรีอย่างกว้างขวางย่อมขึ้นกับเชาวน์ และสามารถในการแสดงของแต่ละคน อาศัยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า ในระหว่างศิลปะนานาชนิด ดนตรีเป็นศิลปะที่แพร่หลายกว่าศิลปะอื่นๆ และมีความสำคัญในด้านการศึกษาของประชาชนทุกประเทศด้วย”..
กระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายหลังที่สถาบันดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนาทูลเกล้าฯ ถวายประกาศนียบัตรเกียรติคุณชั้นสูง ให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2507
โดยเป็นพระราชดำรัสตอบในภาษาเยอรมัน
...
(ม.ล.เดช สนิทวงศ์ แปลและถ่ายทอดเป็นภาษาไทย)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
หรือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่
ยังดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิรา
ตอนพระชนมายุ 13 พรรษา ขณะประทับที่ประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์
เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่พระองค์ทรงศึกษาคือ
แอคคอร์เดียน หลังจากนั้นพระองค์ทรงศึกษา
ดนตรีจากครูชาวอัลซาส (Alsace)
นาม เวย์เบรชท์ (Weybrecht) เกี่ยวกับการเขียนโน้ต การบรรเลงดนตรีสากลต่าง ๆ ในแนวดนตรีคลาสสิกเบื้องต้น ศึกษาเครื่องดนตรีประเภทเป่าลม เช่น
แซกโซโฟน คลาริเนต และเครื่องทองเหลือง เช่น ทรัมเป็ต ส่วนเครื่องดนตรีจำพวกอื่นอย่าง เปียโน, กีตาร์, ขลุ่ย และ ไวโอลิน พระองค์อาศัยพื้นฐานจาก
แซกโซโฟนและเรียนรู้ด้วยตัวเอง
แนวดนตรีที่พระองค์โปรดคือ ดนตรีแจ๊ส
ในสไตล์แจ๊สดิ๊กซีแลนด์ (Dixieland Jazz)
ซึ่งมีที่มาจากชื่อวงดนตรีแจ๊สนักดนตรีผิวขาว
The Original Dixieland Jazz Band เป็นสไตล์
การเล่นเพลงของวงดนตรีจากเมืองนิวออร์ลีนส์
เป็นแจ๊สที่พัฒนามาจากเพลงแนวบลูส์
แต่จะออกมาในสไตล์ที่สนุกสนาน รื่นเริง
เมื่อครั้งในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จนิวัตประเทศไทย
ด้วยความที่ใช้ชีวิตอยู่ในยุโรปเป็นส่วนใหญ่ตั้งแต่
ยังทรงพระเยาว์มาจนถึงช่วงขึ้นครองราชย์
ในระยะแรกคงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ประชาชนส่วนมากแทบไม่รู้จักพระองค์เลย สิ่งที่พระองค์ทรงทำคือ
การทำความรู้จักกับประชาชนของพระองค์ ด้วยการ
ใช้ดนตรีเป็นสื่อกลางในการสร้างความสัมพันธ์
พระองค์ทรงรวบรวมพระประยูรญาติที่เป็นนักดนตรี
มาจัดตั้งวงดนตรี “ลายคราม”เป็นวงดนตรีส่วนพระองค์ ร่วมเล่นดนตรี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ทุกเย็นวันศุกร์
หลังจากนั้นพระองค์จึงทรงจัดตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้น
เพื่อเป็นสื่อกลางให้ความบันเทิงและสาระประโยชน์
โดยวงดนตรีลายครามได้มีโอกาสบรรเลงเพลงผ่านทางสถานีวิทยุ อ.ส. ในวันศุกร์
ด้วยพระอัจฉริยภาพ พระองค์ทรงใช้โอกาสนี้ เปลี่ยนสถานีวิทยุ อ.ส. ที่เป็นเครื่องมือส่งสารกับประชาชน
ทางเดียว ให้กลายเป็นเครื่องมือทั้งส่งและรับข้อมูลจากประชาชนด้วยทั้งสองทาง
การสื่อสารทางเดียวของวิทยุเลือนหายไปพร้อม ๆ
กับช่องว่างระหว่างพระราชากับประชาชน
ดังที่ได้เห็นในหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น
▫️เมื่อครั้งประเทศไทยเผชิญวิกฤตโรคโปลิโอระบาด พระองค์ทรงริเริ่มก่อตั้งกองทุน “ทำบุญกับในหลวง”
โดยให้ก่อตั้งกองทุนโปลิโอสงเคราะห์ขึ้น จากนั้นใช้วิทยุชักชวนประชาชน ให้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ พร้อมจัดรายการสารคดีให้ความรู้เรื่องการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยโปลิโอควบคู่ไปด้วย ผลคือมีประชาชน สมทบทุนเป็นจำนวนมาก จนสามารถสร้างตึกและซื้ออุปกรณ์เครื่องมือ เพื่อรักษาผู้ป่วยได้อย่างเต็มที่
▫️เมื่อครั้งพายุโซนร้อนแฮเรียตพัดถล่ม 12 จังหวัด ภาคใต้จนได้รับความเสียหายอย่างหนักเมื่อปี 2505
ขณะน้ันในหลวงกำลังทรงดนตรีร่วมกับวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ ออกอากาศในสถานี เมื่อทราบข่าว พระองค์
ก็โปรดฯ ให้นักดนตรีร่วมวง ประกาศออกไมโครโฟนเพื่อขอรับบริจาคทันที พร้อมเปิดสายให้ประชาชน โทรศัพท์เข้ามาขอเพลงแลกกับการบริจาค
กิจกรรมนี้ดำเนินไปต่อเนื่องถึง 10 เดือน มีผู้บริจาค
เข้ามากว่า 10 ล้านบาท หลังจากเปลี่ยนเงินบริจาคให้เป็นอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์ซ่อมแซมบ้าน
ท่ีพัก รวมท้ังสร้างสถานสงเคราะห์เด็ก เพื่อรองรับ
บุตรหลานของผู้ประสบภัยพิบัติที่กำพร้าบิดามารดา
จนเหตุการณ์บรรเทาลงแล้ว ยังเหลือเงินบริจาคจำนวนมากถึง 3 ล้านบาท พรงองค์จึงทรงให้ก่อตั้งมูลนิธิ
ราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อแจก
ถุงยังขีพพระราชทาน ไปทั่วประเทศเมื่อที่ใดเกิดเหตุ
ภัยพิบัติ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเล่าด้วย
พระอารมณ์ขันว่า
...
“จำได้มีคนโทรศัพท์บริจาคเงินขอเพลง และมีคนโทรศัพท์มาบริจาคเงินขอให้หยุดร้องด้วย ก็รวบรวมเงินได้พอควร”
“เพลงของพ่อ” จากการจัดรายการวิทยุ อ.ส. วันศุกร์
นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารอื่น ๆ ภายหลัง
ทรงโปรดฯ ให้ รศ.ดร.สุธี อักษรกิตติ์ ผู้เช่ียวชาญด้านสายอากาศ ซึ่งเคยทำงานกับนาซาเข้ามาช่วยพัฒนาระบบ จนเกิดเป็นมาตรฐานใหม่ ของสายอากาศที่เรียกกันว่า รอยัล สแตนดาร์ด (Royal Standard)
ข้อมูลทั้งหมดก็เช่ือมต่อกันเป็นเครือข่ายขนาดยักษ์ พร้อมนำไปใช้ทำงาน
ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวสถานีโทรทัศน์ BBC ที่ถามว่า ทำไมต้องมีเครื่องมือสื่อสาร
ในห้องทรงงานมากมายเช่นนี้ว่า
“เครื่องมือสื่อสารนี้มีประโยชน์ในการติดตามข่าวสารหากมีภัยพิบัติต่าง ๆ จะทำให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที”
เพราะปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนนั้นเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่เลือกเวลา ไม่เลือกสถานที่ ทางเดียวที่พระองค์ทำได้คือต้องมีข้อมูล ท่ีอัพเดตอยู่เสมอ
ตัวอย่างเช่นคร้ังหน่ึง เกิดเหตุวาตภัยข้ึนที่อำเภอสวนผึ้ง จังหวัด ราชบุรี นักวิทยุอาสาจำนวนมากเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแต่ติดปัญหาว่าหาวิธีจัดตั้งเครือข่ายสัญญาณวิทยุไม่ได้เสียที ในหลวงรัขกาลที่ 9 ทรงฟังเรื่องอยู่ในห้องทรงงานที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ก็ต่อสายเข้ามาแนะนำ ด้วยการให้รถยนต์ที่ติดตั้ง เครื่องรับ-ส่งวิทยุไปจอดในพื้นที่สูง
ใกล้ ๆ ที่เกิดเหตุ ทั้งยังกำชับให้เตรียมแบตเตอรี่สำรองพร้อมฉนวนหุ้มขั้วแบตเตอรี เพื่อป้องกันการลัดวงจร ด้วยความรอบคอบอีกด้วย
🙏 “ เพลงของพ่อ ” 🙏
เพลงที่เป็นมากกว่าเพลง
เพลงที่เป็นมากกว่าดนตรี
เพลงที่เป็นมากกว่าศิลปะใดในโลกนี้
ขอจบบทความด้วย
รายนามเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รวมทั้งสิ้น 49 เพลง
1. แสงเทียน (Candlelight Blues)
2. ยามเย็น (Love at Sundown)
3. สายฝน (Falling Rain)
4. ใกล้รุ่ง (Near Dawn)
5. ชะตาชีวิต (H.M. Blues)
6. ดวงใจกับความรัก (Never Mind the Hungry Men’s Blues)
7. ราชวัลลภ (Royal Guards)**
8. อาทิตย์อับแสง (Blue Day)
9. เทวาพาคู่ฝัน (Dream of Love Dream of You)
10. คำหวาน (Sweet Words)
11. มหาจุฬาลงกรณ์ (Maha Chulalongkorn)
12. แก้วตาขวัญใจ (Lovelight in My Heart)
13. พรปีใหม่
14. รักคืนเรือน (Love Over Again)
15. ยามค่ำ (Twilight)
16. ยิ้มสู้ (Smiles)
17. มาร์ชธงไชยเฉลิมพล (The Colours March)
18. มาร์ชราชวัลลภ (Royal Guards March)
19. เมื่อโสมส่อง (I Never Dream)
20. ลมหนาว (Love in Spring)
21. ศุกร์สัญลักษณ์ (Friday Night Rag)
22. Oh I say
23. Can’t You Ever See
24. Lay Kram Goes Dixie
25. ค่ำแล้ว (Lullaby)
26. สายลม (I Think of You)
27. ไกลกังวล (When), เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย
28. แสงเดือน (Magic Beams)
29. ฝัน (Somewhere Somehow), เพลินภูพิงค์
30. มาร์ชราชนาวิกโยธิน (Royal Marines March)
31. ภิรมย์รัก (A Love Story)
32. Nature Waltz
33. The Hunter
34. Kinari Waltz
35. แผ่นดินของเรา (Alexandra)
36. พระมหามงคล
37. ยูงทอง
38. ในดวงใจนิรันดร์ (Still on My Mind)
39. เตือนใจ (Old-Fashioned Melody)
40. ไร้เดือน (No Moon), ไร้จันทร์
41. เกาะในฝัน (Dream Island)
42. แว่ว (Echo)
43. เกษตรศาสตร์
44. ความฝันอันสูงสุด (The Impossible Dream)
45. เราสู้
46 เรา-เหล่าราบ ๒๑ (We-Infantry Regiment 21)
47. Blues for Uthit
48. รัก
49. เมนูไข่
ทรงพระราชนิพนธ์ทำนอง และคำร้องภาษาอังกฤษ
ด้วยพระองค์เอง 5 เพลง คือ
1. Echo (แว่ว)
2. Still on My Mind (ในดวงใจนิรันดร์)
3. Old-Fashioned Melody (เตือนใจ)
4. No Moon (ไร้เดือน, ไร้จันทร์)
5. Dream Island (เกาะในฝัน)
**เพลงราชวัลลภ เป็นอีกเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์
แตกต่างจากเพลง มาร์ชราชวัลลภ ส่งผลให้รวมบทเพลงที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ทั้งสิ้นเป็น 49 บทเพลง แทนที่จำนวน 48 บทเพลงตามที่เราเคยรับรู้มาก่อนหน้านี้
น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ 🙏🙏🙏
Reference:
▫️หนังสือ The Visionary
▫️https://en.m.wikipedia.org/wiki/Compositions_by_Bhumibol_Adulyadej
▫️https://th.m.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาดนตรี
▫️http://oknation.nationtv.tv/blog/balladdrums/2017/01/23/entry-1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา