28 มิ.ย. 2020 เวลา 03:37 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทุกคนสงสัยกันไหมว่าทำไมเบียร์ถึงมีรสขม แต่ฟองเบียร์ดันขมกว่าอี๊กกกกกก
ก่อนอื่นใด ก็ต้องรู้ว่า เบียร์ทำจากสี่วัตถุดิบสำคัญ นั้นคือ น้ำ บาร์เรย์ ยีสต์และฮอปส์ น้ำเป็นตัวทำละลายในเบียร์ ถัดมาคือบาร์เรย์ (มอลต์) คือธัญพืชที่ถูกสกัดเป็นแป้งและน้ำตาล ส่วนวัตถุดิบถัดมาเป็นวัตถุดิบที่เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็น แอลกอฮอล์ หรือ ยีสต์นั้นเอง และส่วนผสมสุดท้ายคือวัตถุดิบที่ทำให้หลายๆ คนสงสัยว่าทำไมเบียร์ถึงมีรสขม สิ่งนี้คือฮอปส์นั่นเอง ยิ่งใส่ฮอปส์มากก็จะทำให้เบียร์ขมมาก
วัตถุดิบในการคราฟเบียร์ น้ำ บาร์เรย์ ฮอปส์และยีสต์ตามลำดับ
เมื่อใส่ฮอปส์แล้วขมจะใส่ทำไม จริง ๆ แล้วฮอปส์เป็นวัตถุดิบสำคัญอีกอย่างนึงในด้านการคงคุณภาพความสดใหม่ของเบียร์ให้นานขึ้น และยังเป็นหัวใจสำคัญของกลิ่นและรสชาติขมของเบียร์
โดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วความขมของเบียร์ก็มาจากฮอปส์ แต่ไม่ใช่ทุกเบียร์จะใส่ฮอปส์เยอะเพื่อคงความสดใหม่ เช่น Guinness หรือพวก Dark Beer หรือเบียร์เยอรมันที่ออกไปทางหวานและฟรุตตี้(รสชาติแห่งผลไม้) แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีเบียร์ใส่ฮอปส์หนักอย่าง เช่น Pale ale pilsner เป็นต้น สำหรับนักดื่มที่ชอบในรสชาติแห่งความขม
มาถึงจุดนี้แล้วทุกคนคงเริ่มเห็นภาพแล้วว่าทำไมเบียร์ถึงขม แต่แล้วทำไมฟองเบียร์ขมกว่าละ ก่อนจะหาคำตอบเกี่ยวกับรสชาติของฟองเบียร์เราก็ต้องเข้าใจว่าฟองเบียร์เกิดจากอะไร
ฟองเบียร์เกิดจากการที่ ยีสต์ทำการเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์จะเกิดการผลิตแก็ส คาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) ซึ่งจะอัดอยู่แน่นอยู่ในเบียร์ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น การเปิดฝา การเท การชน จะทำให้ CO2 ลอยตัวขึ้นมาข้างบน ซึ่งเมื่อแก็สลอยตัวขึ้นจะไม่ลอยไปในอากาศแต่จะถูกหุ้มด้วยโปรตีนจากบาร์เรย์และกรดที่ได้จากฮอปส์ ทำให้เกิดเป็นฟองขาวนวลบนเบียร์ ซึ่งฟองที่มีกรดจากฮอปส์คอยหุ้ม คือต้นเหตุเห่งรสชาติขม จึงทำให้ฟองเบียร์ขมกว่าเบียร์นั้นเอง
Alpha Acid และ Protein ห่อหุ้ม CO2 ทำให้ฟองอยู่ได้นาน
กรดฮ็อปส์ในเบียร์ มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หลายชนิด จึงทำให้เบียร์เก็บได้นาน เป็นการถนอมเบียร์ และยังปลอดภัยจากเชื้อก่อโรค รสจาก Hops จะขมได้แตกต่างกันมากมายในหลายโทน เช่น ขมละมุน ขมติดคอ ขมในโคนลิ้น ขมฝาด ขมอ่อนๆ ซึ่งฮ็อปส์แต่ละสายพันธุ์ก็จะต่างกันออกไป
แต่ถึงแม้ฟองเบียร์จะขม แต่ฟองเบียร์เหล่านี้ก็ทำให้เบียร์มีรสชาติและกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ฃของตนเอง มีเครื่องดื่มไม่กี่ชนิดบนโลก ที่สามารถกักเก็บฟองไว้ในตัวเองได้
Ref.
Evans, D. E., .Bamforth, C.W.“Beer foam: Achieving a suitable head.” In Beer: A quality perspective, ed. C.W. Bamforth, 1–60. Burlington, MA: Academic Press, 2009.
FACTORS AFFECTING BEER FOAM I. CARBON DIOXIDE EVOLUTION By S. Jackson, M.A., B.Sc, D.Phil.
(Brewing Industry Research Foundation, Nutfield, Surrey)
Some Topics on the Physics of Bubble Dynamics in Beer Patricia Vega-Martínez, Oscar R. Enríquez and Javier Rodríguez-Rodríguez. ค้นหาจาก https://www.mdpi.com/2306-5710/3/3/38/pdf
FURI KNOW everyone know
ฝากกดไลค์ กดติดตามให้กำลังใจกันด้วยน้า❤️
โฆษณา