- ประโยชน์ของดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ และกลุ่มเป้าหมาย ทั้งในเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และผู้สูงวัย เพื่อตอบสนองความจำเป็นที่แตกต่างกันไป เช่น ปัญหาบกพร่องของพัฒนาการ สติปัญญา และการเรียนรู้, โรคซึมเศร้า, โรคสมองเสื่อม
อัลไซเมอร์, โรคหลอดเลือดสมอง, ความพิการทางร่างกาย, อาการเจ็บปวด และภาวะอื่นๆ
สำหรับบุคคลทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์จากดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ช่วยในการผ่อน
คลายความตึงเครียด และประกอบในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีดังนี้
1) ปรับสภาพจิตใจให้อยู่ในสภาวะสมดุล มีความสงบ และมีทัศนคติในเชิงบวกเพิ่มขึ้น
2) ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล (anxiety/ stress management)
3) กระตุ้น เสริมสร้าง และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และความจำ (cognitive skill)
4) กระตุ้นการรับรู้ (perception)
5) เสริมสร้างสมาธิ (attention span)
6) เสริมสร้างทักษะสังคม (social skill)
7) พัฒนาทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (communication and language skill)
8) พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (motor skill)
9) ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (muscle tension)
10) การจัดการอาการเจ็บปวดจากสาเหตุต่างๆ (pain management)
11) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (behavior modification)
12) สร้างสัมพันธภาพที่ดีในการบำบัดรักษาต่างๆ (therapeutic alliance)
13) ช่วยเสริมในกระบวนการบำบัดทางจิตเวช ทั้งในด้านการประเมินความรู้สึก สร้างเสริมอารมณ์เชิงบวก การควบคุมตนเอง การแก้ปมขัดแย้งต่างๆ และเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ของครอบครัว
- โดยสรุปดนตรีบำบัด มีประโยชน์หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ โดยบูรณาการเข้ากับการบำบัดรักษาอื่นๆ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ทั้งในโรงพยาบาล ใน
โรงเรียน และในกลุ่มเด็กพิเศษ
- ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด
ดนตรีบำบัดมีคุณลักษณะเด่นเฉพาะตัวหลายด้าน ทำให้สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุก
ระดับอายุ ทุกความหลากหลายของปัญหาสามารถกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการได้ในทุกด้าน ลักษณะเด่นของดนตรีบำบัด ได้แก่
1. กระตุ้นการทำงานของสมองได้หลายส่วน และช่วยให้มีสมาธิจดจ่อได้ดียิ่งขึ้น
2. ประยุกต์เข้ากับระดับความสามารถของบุคคลได้ง่าย และสะท้อนให้เห็นถึงระดับความสามารถด้วยเช่นกัน
3. เป็นเสมือนแบบฝึกหัดที่เข้าใจง่าย แม้จะไม่รู้ภาษาก็ตาม
4. เสริมสร้างการรับรู้ที่มีความหมาย และมีความสนุกสนานไปพร้อมกัน
5. เสริมสร้างบริบททางสังคม ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ให้โครงสร้างหลักเบื้องต้นใน
การสื่อสาร
6. เป็นเครื่องมือช่วยจำที่มีประสิทธิภาพ
7. สนับสนุนและเสริมสร้างทักษะการเคลื่อนไหว
8. สามารถแทรกซึมเข้าไปในความทรงจำ และอารมณ์ไก้
9. เสริมสร้างการตอบสนองต่อข้อมูลป้อนกลับแบบทันทีและไม่มีกำแพงด้านภาษา (nonverbal, immediate feedback)
10. มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการบำบัดได้ง่าย เนื่องจากประยุกต์ใช้ได้ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับความสามารถ
- การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือความเครียด เป็นการใช้ดนตรี ไม่ว่าจะโดยฟังหรือเล่น
เพื่อลดอาการของความเครียดทางกายใจ และลดตัวความเครียดเองด้วย การใช้ดนตรีรับมือกับความเครียดเป็นตัวอย่างกลยุทธ์การรับมือที่เพ่งอารมณ์ โดยมองว่าเป็นการปรับตัวที่ดี (adaptive) เพราะลดหรือกำจัดความรู้สึกที่เกิดขึ้นตอบสนองต่อความเครียด ไม่ใช่
จัดการตัวก่อความเครียดโดยตรง ผู้ที่สนับสนุนการบำบัดเช่นนี้อ้างว่า การใช้ดนตรีช่วยลด
ระดับความเครียดที่คนไข้รู้สึก และยังลดลักษณะที่วัดได้ทางชีวภาพ เช่น ระดับฮอร์โมน
อีพิเนฟรินและคอร์ติซอล ซึ่งหลั่งเมื่อเครียดอีกด้วยนอกจากนั้นแล้ว โปรแกรมบำบัดด้วย
ดนตรียังมีหลักฐานที่ทำซ้ำได้ว่า ช่วยลดอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยระยะยาว
- กลยุทธ์การรับมือ (coping strategy) เป็นเทคนิคหรือการปฏิบัติอะไรอย่างหนึ่งที่มุ่งลดหรือบริหารผลลบที่มากับความเครียด คือ แม้ว่าความเครียดจะเป็นการตอบสนองทาง
ชีวภาพตามธรรมชาติ แต่นักชีววิทยาและจิตวิทยาได้แสดงหลักฐานอย่างซ้ำ ๆ ว่า ความ
เครียดมากเกินสามารถมีผลลบต่อความอยู่เป็นสุขทั้งทางกายใจ ดังนั้น ความจำเป็นเพื่อ
หาวิธีที่ช่วยรับมือและลดระดับความเครียดที่ไม่ถูกสุขภาพเป็นเรื่องชัดเจน มีกลยุทธ์การ
รับมือเป็นร้อย ๆ และการใช้ดนตรีก็เป็นวิธีเฉพาะอย่างหนึ่งเพื่อช่วยต้านผลลบของความ
เครียด และเพราะมีกลยุทธ์มากถึงขนาดนี้ นักจิตวิทยาจึงได้แบ่งกลยุทธ์ออกเป็น
3 หมวด คือ
1. เพ่งการประเมินใหม่ (Appraisal) มุ่งเปลี่ยนความคิด เพราะว่า ความเครียดกำจัดได้
โดยการให้เหตุผล เปลี่ยนค่านิยม เปลี่ยนรูปแบบการคิด หรือใช้มุกตลก
2. เพ่งปัญหา (Problem) มุ่งเปลี่ยนเหตุของความเครียดโดยตรง ซึ่งอาจจะเป็นการกำจัดหรือปรับตัวให้เข้ากับตัวสร้างความเครียด
3. เพ่งอารมณ์ (Emotion) มุ่งเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อตัวก่อความเครียด เช่น
การเจริญสมาธิ/กรรมฐาน การหันไปสนใจสิ่งอื่น การปล่อยอารมณ์ การลดความเครียดอิงสติ (MBSR) เป็นต้น
เพราะว่าการรับมือโดยใช้ดนตรีมุ่งเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ของบุคคลต่อเหตุการณ์บางอย่าง จึงจัดว่าเป็นกลยุทธ์การรับมือที่เพ่งอารมณ์ คือแทนที่จะพยายามเปลี่ยนหรือกำจัดตัวสร้างความเครียดโดยตรง การรับมืออาศัยการเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์และทางใจ
ของบุคคลต่อตัวสร้างความเครียด โดยลดอาการความเครียดที่มีต่อสรีระภาพ หรือโดย
บรรเทาการตอบสนองทางอารมณ์ที่มีต่อความเครียด
- งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การใช้ดนตรีสามารถบรรเทาผลทางสรีระภาพที่บ่อยครั้งสัมพันธ์กับความเครียด เช่น
ลดความดันโลหิตหรืออัตราหัวใจ วรรณกรรมโดยมากตรวจสอบการใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์
รับมือโดยใช้เครื่องมือวัดเช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือเครื่องวัดหัวใจ เพื่อ
แสดงความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับผลทางสรีรภาพที่ชัดเจนกว่า ในงานศึกษาเหล่านี้
ผู้ร่วมการทดลองมักจะประสบกับตัวก่อความเครียดแล้วให้ฟังดนตรี ในขณะที่นักวิจัยวัด
ความเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพ และบางงานแสดงว่า การใช้ดนตรีที่เย็น ๆ หรือที่ชอบ
สามารถลดความตึงเครียดและความวิตกกังวลในผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดบ่อยกว่าและเห็นชัดกว่า
ในช่วงกลับคืนสู่ภาวะธำรงดุล แต่มีประสิทธิผลน้อยกว่าเมื่อกำลังเผชิญกับความเครียด
ส่วนงานศึกษาอื่นก่อให้เกิดสถานการณ์เครียด เช่นให้วิ่งบนสายพาน ในขณะที่ให้ฟัง
ดนตรีประเภทต่าง ๆ งานศึกษาเช่นนี้แสดงว่า อัตราการหายใจของผู้ร่วมการทดลองสูงกว่าเมื่อฟังเพลงที่เร็วกว่า ถ้าเทียบกับไม่ฟังหรือฟังเพลงกล่อมประสาท นอกจากจะเพิ่มอัตราการหายใจแล้ว การฟังเพลงยังมีผลทางสรีระภาพอื่น ๆ อีกด้วย โดยรวม ๆ แล้ว งานศึกษาแสดงว่า ดนตรีมีประสิทธิผลในการลดผลของความเครียดต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งอาจ
เปลี่ยนอัตราหัวใจเต้น อัตราการหายใจ หรือแม้แต่ลดความรู้สึกอ่อนเปลี้ย นี่อาจจะเห็นในเพลงที่มีจังหวะและเสียงสูงต่ำที่ไม่เท่ากัน เช่น เสียงต่ำมีผลสงบระงับต่อร่างกาย ในขณะที่เสียงสูงมักจะเป็นตัวก่อความเครียดต่อร่างกาย นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการเสนอด้วยว่า
ถ้าคนไข้สามารถเลือกเพลงฟังในช่วงฟื้นสภาพ การกลับเป็นปกติจะเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพดีกว่า เทียบกับถ้ามีการกำหนดประเภทดนตรีที่ตนไม่ชอบ
ดังนั้น ถ้าใช้วิธีการเก็บหลักฐานแบบปรวิสัย เช่น EKG นักวิจัยก็จะสามารถกำจัดค่า
บิดเบือนบางอย่างที่สัมพันธ์กับวิธีการตรวจสอบที่ถามคนไข้ และให้ค่าสหสัมพันธ์ที่
ชัดเจนกว่าระหว่างการใช้ดนตรีกับผลต่อการตอบสนองต่อความเครียด
วิธีการเก็บข้อมูลที่นิยมอย่างหนึ่งก็คือเก็บคำตอบจากคนไข้ ซึ่งไม่ต้องใช้ข้อมูลทาง
กายภาพที่อาจไม่สะดวกเก็บในบางกรณี ซึ่งเป็นข้อมูลทางใจที่เป็นอัตวิสัย เพราะว่าไม่
ต้องวัดอะไรที่ร่างกายแต่เป็นการถามคำถามประเภทว่า "คุณรู้สึกอย่างไร" เพื่อได้คำตอบ หลังจากได้ข้อมูล ก็จะมีการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาสหสัมพันธ์ระหว่างกลไกการรับมือ
และผลของมันต่อการตอบสนองต่อความเครียด เป็นวิธีที่นิยมสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ผลเปลี่ยนเพราะเหตุความตื่นกลัวของคนไข้ ผู้สนับสนุนวิธีนี้อ้างว่า ถ้า
ถามเด็กด้วยคำถามทั่วไปที่ไม่น่ากลัว เด็กจะรู้สึกสบายใจบอกระดับความเครียดของ
ตนเองตามที่รู้สึก งานศึกษาด้วยวิธีเช่นนี้แสดงหลักฐานว่า ดนตรีมีประสิทธิผลลดระดับ
ความเครียดที่คนไข้รู้สึก
การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์การรับมือสามารถประยุกต์ใช้ในวงการแพทย์ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น คนไข้ที่ฟังเพลงในช่วงการผ่าตัดหรือในช่วงฟื้นตัวพบว่าระดับความดันกลับไปสู่ปกติได้เร็วกว่าคนไข้ที่ไม่ฟัง นอกเหนือไปจากการรู้สึกว่าสถานการณ์ควบคุมได้และความเป็นอยู่ที่ดี งานศึกษายังแสดงอีกด้วยว่า สมาชิกครอบครัวหรือพ่อแม่ของคนไข้จะเครียดน้อยลงเมื่อฟังเพลงขณะที่รอ และวิตกกังวลน้อยลงเรื่องผลการผ่าตัด
การฟังเพลงก็มีประโยชน์ด้วยในการรักษาโรคมะเร็งในเด็ก คือ โดยใช้ในเคสเหล่านี้โดยเป็นเทคนิคล่อความสนใจเช่นที่ทำในการบำบัดโดยเล่น (play therapy) ซึ่งมุ่งล่อคนไข้ให้สนใจเรื่องอื่นนอกจากความรู้สึกเจ็บหรือเครียดเมื่อกำลังรักษา ให้ไปในกิจกรรมที่
เพลิดเพลิน โดยเปลี่ยนความสนใจทำให้เจ็บน้อยลง ซึ่งสามารถใช้ได้ด้วยกับผู้สูงอายุในสถานรักษาพยาบาลหรือสถานที่ดูแล คือ การบำบัดด้วยดนตรีในสถานที่เหล่านี้ลดความ
ก้าวร้าวและความกระวนกระวายของผู้สูงอายุ แต่เพราะว่า ผลการศึกษาเหล่านี้หลายงาน
อาศัยคำตอบจากคนไข้โดยมาก จึงมีปัญหาว่า ดนตรีมีผลลดระดับความเครียดจริงๆเท่าไร
การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์การรับมือได้ลองใช้กับคนไข้มะเร็งหลายครั้ง และดูมี
อนาคตที่ดี เช่น งานศึกษาหนึ่งทดลองกับคนไข้ 113 คนที่กำลังปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell transplant) โดยแยกคนไข้ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งประพันธ์เนื้อเพลงเกี่ยวกับชีวิตขของตนแล้วสร้างมิวสิกวิดีโอของตัวเอง และให้กลุ่มอื่นฟังการอ่านหนังสือ ผล
แสดงว่า กลุ่มมิวสิกวิดีโอมีทักษะการรับมือและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีกว่าโดยเปรียบ
เทียบ โดยเปลี่ยนความสนใจจากความเจ็บและความเครียดที่มากับการรักษา และให้
โอกาสแสดงความรู้สึกของตน
งานวิจัยอีกงานหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาแสดงการปรับปรุงอย่างน่าแปลกใจในการรักษาเด็กหญิงคนหนึ่งที่เกิดมาพูดไม่ได้ นักบำบัดจะมาหาเธอเพื่อร้องเพลงกับ
เธอ เพราะว่านั่นเป็นสิ่งเดียวที่เธอทำได้ และการร้องเพลงทำให้เธอพูดได้อย่างน่า
อัศจรรย์ เพราะการร้องเพลงและการพูดคล้ายกันโดยธรรมชาติ และช่วยสร้างการเชื่อมต่อทางวงจรประสาทในสมอง ในโรงพยาบาลเดียวกัน นักบำบัดจะไปเยี่ยมเด็ก ๆ ทุกวันและ
เล่นดนตรีกับเด็ก โดยทั้งร้องเพลงและใช้เครื่องดนตรี ดนตรีทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ช่วยลดความเครียดที่มากับการรักษา และให้เด็กสนใจสิ่งอื่นนอกจากสภาพแวดล้อมของเขา
นอกจากนั้นแล้ว กลยุทธ์การรับมือของครอบครัวและผู้ดูแลก็สำคัญมากสำหรับผู้ที่มีโรคหนักหรือร้ายแรง เพราะว่า บุคคลเหล่านี้ต้องดูแลคนที่ตนรักโดยหลัก นอกจากจะ
เครียดเพราะเห็นคนที่รักเป็นทุกข์แล้ว นักบำบัดได้ช่วยสมาชิกครอบครัวเหล่านี้ โดยร้อง
เพลงและเล่นเครื่องดนตรี เพื่อให้สนใจสิ่งอื่นนอกจากเรื่องเครียดเมื่อช่วยคนที่รักในการ
บำบัดรักษา และเหมือนกับที่ปรากฏในคนไข้เอง การบำบัดด้วยดนตรีช่วยให้คนดูแล
สามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการณ์เครียดในชีวิตประจำวันได้
- เทคนิคการใช้ดนตรีบำบัด
เทคนิคเฉพาะอย่างหนึ่งในการใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์ ซึ่งก็คือการเลือกฟังประเภทดนตรีที่
สัมพันธ์กับระดับความเครียดที่ต่ำกว่า ยกตัวอย่างเช่น (ในประเทศตะวันตก) มีการเสนอว่าการฟังดนตรีคลาสสิกหรือการเลือกเพลงฟังเองสามารถลดระดับความเครียดในผู้ใหญ่
ส่วนดนตรีที่เร็ว เสียงดัง หรือที่มองโลกในแง่ร้ายอาจเพิ่มระดับความเครียด แต่ว่า
คนหลายคนก็พบว่า การระบายอารมณ์จะเพิ่มขึ้นเมื่อฟังดนตรีที่เร่าร้อนเช่นนี้ ส่วนดนตรี
แอมเบียนต์สัมพันธ์กับความสงบและการทบทวนความคิดความรู้สึกของตนเอง และเมื่อ
ฟังเพลงที่เลือกเอง จะทำให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ ซึ่งอาจเป็นความรู้สึกที่
บุคคลนั้นไม่ค่อยมีในช่วงนั้นของชีวิต ดังนั้น การให้ความรู้สึกว่าควบคุมเหตุการณ์ได้ อาจ
เป็นสิ่งที่มีค่าสำหรับบุคคลที่กำลังรับมือกับความเครียด
ด้วยแนวคิดเยี่ยงนี้ มีเทคนิคโดยเฉพาะหลายอย่างเพื่อลดความเครียดและผลเกี่ยวกับความเครียด รวมทั้ง
• ฟังดนตรีคลาสสิก
• ฟังดนตรีที่เลือกเพื่อช่วยให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมชีวิตได้
• ฟังเพลงที่ทำให้นึกถึงความทรงจำที่เป็นสุข
• ฟังเพลงที่ไม่ทำให้นึกถึงความทรงจำที่เศร้า
• ฟังเพลงโดยเป็นวิธีสร้างความผูกพันในกลุ่มสังคม
• ไม่ฟังเพลงที่ดังหรือเปี่ยมไปด้วยความโกรธ เช่น เฮฟวีเมทัล
เทคนิคโดยเฉพาะอีกอย่างที่ใช้ได้ก็คือใช้เป็นเครื่องย้อนเวลาในความจำ ด้วยวิธีนี้ ดนตรีช่วยให้หนีไปสู่ความจำที่ดีหรือไม่ดีแล้วจุดชนวนการตอบสนองเพื่อรับมือ มีการ
เสนอว่า ดนตรีสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการประสบความรู้สึกในความทรงจำจากอดีตอีก
ดังนั้น การเลือกดนตรีที่รู้สึกดีอาจจะเป็นวิธีการลดความเครียดอย่างหนึ่ง
เทคนิคหนึ่งที่เริ่มใช้มากขึ้นก็คือการบำบัดด้วยเสียงแบบ vibroacoustic คือ ในช่วงการบำบัด คนไข้จะนอนลาดหลังบนที่นอนซึ่งมีลำโพงอยู่ข้างใน ที่ส่งคลื่นเสียงความถี่ต่ำ ซึ่งคล้ายกับนั่งบนลำโพง subwoofer ซึ่งพบว่ามีประโยชน์ต่อโรคพาร์คินสัน
ไฟโบรไมอัลเจีย และโรคซึมเศร้า และก็ยังมีงานวิจัยที่ทำอยู่เพื่อตรวจดูว่า มีประโยชน์ต่อคนไข้โรคอัลไซเมอร์ขั้นอ่อนหรือไม่
การใช้ดนตรีเป็นกลยุทธ์รับมือต่อความเครียดมีหลักฐานว่ามีผลต่อการตอบสนอง
ทางความเครียดของมนุษย์ โดยหลักฐานแสดงว่าลดความรู้สึกว่าเครียด และลดอาการ
ปรากฏทางกายของความเครียดอื่น ๆ ด้วย เช่น อัตราหัวใจเต้น ความดันโลหิต และระดับฮอร์โมนที่ปล่อยเมื่อเครียด ดูเหมือนว่าดนตรีประเภทต่าง ๆ จะมีผลต่าง ๆ ต่อระดับความ
เครียด โดยดนตรีคลาสสิกและที่เลือกเองจะมีประสิทธิผลดีที่สุด แต่ว่า แม้จะมีหลักฐาน
เช่นนี้ ก็ยังมีนักวิชาการเป็นจำนวนมากที่ตั้งข้อสงสัยต่อประสิทธิผลของการรับมือด้วย
กลยุทธ์นี้ ถึงอย่างนั้น กลยุทธ์ก็ยังอาจเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งสำหรับคนไข้ที่ต้องการหาการแก้/บรรเทาปัญหาที่ง่ายและไม่แพงเพื่อช่วยตอบสนองต่อความเครียด