29 มิ.ย. 2020 เวลา 11:42 • บันเทิง
dunkirk (ดันเคิร์ก)
คริสโตเฟอร์ โนแลน
Dunkirk(ดันเคิร์ก)
โนแลนได้หยิบนำเอาเหตุการณ์สำคัญอย่างการปฎิบัติการไดนาโม มาเล่าในแบบโนแลน ที่เน้นถ่ายกับสถานที่ เรือ เครื่องบิน ทั้งหมดเป็นของจริงเพื่อให้หนังมีความสมจริงให้ได้มากที่สุด
ทั้งวิธีการเล่าเรื่องที่ไม่เหมือนกับเรื่องก่อนๆ ที่เน้นให้ตัวหนังเล่าเรื่องตัวมันเอง ส่วนตัวละครเปรียบได้เสมือนแค่เดินเรื่องเท่านั้นเอง บทพูดแทบจะไม่เลย
backing track เป็นอะไรที่สำคัญมากทำให้บางฉากเราลุ้นไปตัวละครว่าจะรอดไหม ระเบิดมันจะมาอีกไหม แล้วจะมีเรือมาอีกหรือเปล่า
ในวันที่ 22 พฤษภาคม ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพก็เริ่มขึ้น ภายใต้รหัส ปฏิบัติการไดนาโม ซึ่งถูกสั่งการมาจากเมืองโดเวอร์โดยพลเรือโท เบอร์แทรม แรมเซย์ ซึ่งมีจุดประสงค์แรกคือการระดมกองเรือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยสั่งการให้เรือราชนาวีทุกลำที่สามารถบรรทุกทหารได้ลำละ 1,000 นายขึ้นไปภายในพิกัด มุ่งหน้าไปยังเมืองเดิงแกร์กเพื่อขนถ่ายกองกำลังผสมแห่งบริเตนใหญ่ 45,000 นายกลับมายังประเทศอังกฤษให้ได้ภายในสองวัน ห้าวันต่อมากองเรือสามารถขนถ่ายกำลังพลกลับมาได้ 120,000 นาย ในวันที่ 27 พฤษภาคม รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ทำการขอความร่วมมือพลเรือนที่ครอบครองเรือและอยู่ในพิกัด ให้ช่วยปฏิบัติการอพยพโดยการสนับสนุนเรือกระบังแคบทุกลำที่มีปริมาตรตั้งแต่ 9.14-30.48 เมตร (30-100 ฟุต) ให้แก่ทางราชการเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการครั้งนี้ ในคืนเดียวกันนั้นการดำเนินการอพยพอย่างเป็นทางการครั้งแรกก็เริ่มต้น เรือจำนวนมากรวมถึงเรือจับปลาและเรือเก่าที่ถูกซ่อมแซมใหม่ ร่วมด้วยเรือนาวิกพานิชย์และเรือรบราชนาวี เดินเรือไประดมพลกันที่เมืองเชียร์เนสแล้วทุกลำจึงมุ่งหน้าไปยังเดิงแกร์กและล้อมชายฝั่งใกล้ ๆ เพื่อขนถ่ายกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรกลับมา แต่เนื่องจากการระดมยิงด้วยปืนใหญ่อย่างหนักโดยฝ่ายเยอรมัน มีทหารเพียง 8,000 นายเท่านั้นที่รอดกลับมาได้
สถานการณ์บนแนวรบด้านตะวันตก 21 พฤษาภาคม - 4 มิถุนายน 1940
เรือพิฆาตอีกสิบลำได้ถูกเรียกระดมพลเพื่อปฏิบัติการอพยพครั้งที่สองในวันที่ 28 พฤษภาคมในช่วงเช้าตรู่ แต่ก็ไม่สามารถประชิดชายฝั่งได้มากพอเนื่องจากน้ำตื้นเกินไป อย่างไรก็ตามทหารหลายพันนายก็ได้รับการช่วยเหลือออกมาได้ และแสดงให้เห็นว่าเรือลำเล็กกว่ามีประโยชน์มากกว่าเรือลำใหญ่ในบางสถานการณ์ ทำให้อู่ต่อเรือก็เริ่มค้นหาเรือที่มีขนาดพอเหมาะ และให้พวกมันไปรวมกันที่เมืองเชียร์เนส แชทแฮม และโดเวอร์ ด้วยเรือที่มีขนาดเล็กลงทำให้จุดรวมพลสัมพันธมิตรอยู่ใกล้ขึ้น 30 ตารางกิโลเมตรภายในวันที่เดียวกัน ยุทธการหลังจากได้เรือลำเล็กแล้วประสบความสำเร็จดีเยี่ยม พร้อมกับทหารอีก 16,000 นายที่สามารถอพยพกลับมาได้ แต่ยุทธการทางอากาศของเยอรมนีก็เพิ่มขึ้นเช่นกันและเรือหลายต่อหลายลำอับปางลง และอีกหลายต่อหลายลำที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก รวมทั้งเรือพิฆาตเก้าลำ
ทหารบริติชอพยพที่หาดเดิงแกร์ก
ในวันที่ 29 พฤษภาคม กองยานเกราะเยอรมันหยุดการบุกเมืองเดิงแกร์กแล้วปล่อยให้ทหารราบและลุฟท์วัฟเฟอเป็นผู้บุก ยุทธวิธีที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์นิยมนำมาใช้ กลับไร้ผลและขาดประสิทธิภาพเทียบจากการปฏิบัติการในศึกครั้งนี้กับศึกครั้งก่อน (การบุกครองโปแลนด์) แต่ถึงกระนั้นก็มีทหารเพียงแค่ 14,000 นายเท่านั้นที่อพยพกลับมาในวันนั้น และในตอนโพล้เพล้ของวันที่ 30 พฤษภาคม เรือลำเล็กจำนวนมากเข้าเทียบท่าพร้อมกับทหาร 30,000 นาย ในวันที่ 31 พฤษภาคม กองกำลังสัมพันธมิตรต้อนเข้ามาสู่เมืองเดอปันเนอและแบร-ดูน ซึ่งห่างจากเมืองเดิงแกร์กอีก 5 กิโลเมตร ในวันเดียวกันนั้นทหารถึง 68,000 นายถูกอพยพกลับมา และอีก 10,000 นาย ภายในคืนเดียวกัน การอพยพครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายคือในในวันที่ 1 มิถุนายน ทหารอีก 65,000 นายเดินทางกลับมายังอังกฤษ แต่ปฏิบัติการย่อย ๆ นั้นยังคงยังคงดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 4 มิถุนายน
..
เครดิตเนื่อหาประกอบรีวิว
เครดิตรูป
โฆษณา