1 ก.ค. 2020 เวลา 04:00 • ประวัติศาสตร์
นักจิตวิทยาในตำนาน! เกร็ดสาระน่ารู้ของ 'ซิกมันด์ ฟรอยด์' จ้าวแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ซิกมันด์ ฟรอยด์ คือแพทย์ประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ผู้เป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ เขาได้คิดค้นทฤษฎีขึ้นมาเพื่ออธิบายถึงบุคลิกภาพของผู้ใหญ่ที่แตกต่างกันไป จากประสบการณ์ในวัยเด็กของแต่ละคน ซึ่งเชื่อว่าใครที่เคยศึกษาเรื่องจิตวิทยาเกี่ยวกับแรงจูงใจของมนุษย์ก็น่าจะเคยผ่านตากันมาบ้าง
ต้องบอกก่อนว่างานวิจัยของซิกมันด์ ฟรอยด์ นั้นมีมากมายเกินกว่าที่เราจะหยิบยกขึ้นมากล่าวทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ แต่สิ่งที่เราอยากนำเสนอก็คือเบื้องหลังชีวิตของบิดาแห่งจิตวิเคราะห์ผู้นี้ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง
WIKIPEDIA PD
1. ซิกมันด์ ฟรอยด์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1856 จาคอบ พ่อของเขาเป็นพ่อค้าขนสัตว์ที่มีลูกติดจากการแต่งงานครั้งเก่า ส่วนอเมเลีย แม่ของเขาก็อายุน้อยกว่าพ่อเกือบ 20 ปี ทั้งคู่แต่งงานกันและให้กำเนิดฟรอยด์ ด้วยเหตุจึงทำให้เขามีพี่น้องรวมกันถึง 9 คน
2. ซิกมันด์ ฟรอยด์ เคยติดโคเคนมาก่อน ในยุคมันนั้น โคเคนถูกใช้เพื่อเป็นยาแก้ปวดและช่วยให้รู้สึกร่าเริง เรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้อย่างแพร่หลายในครัวเรือน ด้วยเหตุนี้ฟรอยด์จึงนำโคเคนมาใช้ในงานวิจัย ก่อนที่ภายหลังจะมีประกาศให้โคเคนเป็นยาเสพติด ซึ่งมันทำให้งานวิจัยทางการแพทย์ของฟรอยด์ได้รับผลกระทบ
3. งานวิจัยของฟรอยด์ เป็นรากฐานสำคัญของสถาบันจิตวิทยาในช่วงแรก ในปี ค.ศ.1899 ฟรอยด์ได้ค้นพบทฤษฎีและวิธีการวิเคราะห์ความฝันในเชิงจิตวิทยา และ หนังสือ ‘The Interpretation of Dream’ ได้รับการตีพิมพ์ในปีต่อมา ซึ่งทำให้ฟรอยด์ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ในปี ค.ศ.1902
1
4. ตอนที่ฟรอยด์อายุได้ 26 ปี เขาได้พบรักกับหญิงสาววัย 21 ปี ที่ชื่อ มาร์ธา เบร์เนย์ ทั้งคู่ได้เข้าพิธีหมั้นในอีกสองเดือนต่อมา หลังจากนั้นอีกหกเดือน ฟรอยด์เลิกเป็นนักวิทยาศาสตร์ และหันมาเอาดีด้านการแพทย์แทน เขาใช้เวลาสามปีในการฝึกอบรมที่โรงพยาบาลในกรุงเวียนนา ก่อนแต่งงานกับมาร์ธาในท้ายที่สุด
WIKIPEDIA PD
5. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ มักถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยนักจิตอายุรเวทในปัจจุบัน แต่ก็มีนักจิตวิทยาไม่น้อยที่ยังใช้ทฤษฎีของเขาในการอ้างอิงงานวิจัยหรือใช้เพื่อการแพทย์ ด้วยการพูดคุยกับผู้ป่วย เพื่อมองหาเหตุการณ์ฝังใจอะไรบางอย่างในตัวคนไข้ ที่ส่งผลกระทบต่อความคิดและพฤติกรรมในปัจจุบัน
6. แอนนา ฟรอยด์ บุตรสาวของฟรอยด์ ทำงานด้านจิตวิทยาร่วมกับพ่อของเธออย่างใกล้ชิด และเธอได้ศึกษาและวิจัยต่อยอดงานด้านจิตวิทยาต่อจากพ่อ และหนึ่งในผลงานที่โดดเด่นของเธอก็คืองานทฤษฎีที่อธิบายเรื่อง ‘กลไกในการป้องกันตัวเอง’ ในหนังสือของเธอที่ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.1936
7. มักมีการอ้างอิงคำพูดที่ว่า ‘บางครั้งซิการ์ก็คือซิการ์’ ว่าเป็นคำพูดของฟรอยด์ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่เออเนสต์ โจนส์ นักเขียนชีวประวัติส่วนตัวของเขา เคยกล่าวว่าฟรอยด์สูบซิการ์วันละ 20 มวน จนเคยมีคนไปถามฟรอยด์ว่าซิการ์ที่เขาสูบเป็นประจำอาจเป็นสัญลักษณ์อะไรบางอย่างหรือเปล่า แต่นักจิตวิเคราะห์ชื่อดังส่วนใหญ่เชื่อว่าทุกอย่างไม่จำเป็นต้องสื่อความหมายในเชิงสัญลักษณ์ อาจเป็นไปได้ว่ามันเกิดจากความเข้าใจผิดของคนที่ไปสัมภาษณ์ จนทำให้เชื่อว่านั่นเป็นคำพูดของฟรอยด์จริง ๆ
WIKIPEDIA PD
8. ในปี ค.ศ.1909 นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน จี. สแตนลีย์ ฮอลล์ ได้เชิญ ซิกมันด์ ฟรอยด์ มาสนทนาเรื่องจิตวิเคราะห์ที่ Clark University หลังจากนั้นคณะของฟรอยด์ก็ใช้เวลา
ท่องเที่ยวในนิวยอร์กหลายวัน และนั้นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่ฟรอยด์เดินทางไป
สหรัฐฯ
1
9. ตอนที่นาซีเยอรมันบุกออสเตรีย ฟรอยด์และแอนนาลูกสาวถูกจับตัวไปเพื่อถูกสอบสวนโดยตำรวจลับเกสตาโป น้องสาวของฟรอยด์สี่คนเสียชีวิตในค่ายกักกัน
10. ฟรอยด์สูบซิการ์มาอย่างหนักตลอดชีวิต จนทำให้เขาล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งในปี ค.ศ.1939 เมื่อเห็นว่าตัวเองไม่น่าจะรอด ฟรอยด์ได้ขอให้หมอกระทำการุณยฆาตด้วยการฉีดมอร์ฟีนเพื่อให้เขาเสียชีวิตอย่างสงบในวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1939
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
1
โฆษณา