Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
FURI KNOW everyone know
•
ติดตาม
30 มิ.ย. 2020 เวลา 11:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ทำไมซองกันชื้นหรือ "ซิลิกาเจล" จึงลดความชื้นในอากาศได้กันนะ
หลาย ๆ คนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันดีกับซองสีเหลี่ยมเล็ก ๆ บนซองติดคำว่า “THROW AWAY”และ “DO NOT EAT” บางคนพบเห็นมักทิ้งลงถังขยะ ซองนี้อาจจะมาคู่กับขนม หรือเจอได้ตามผลิตภัณฑ์อาหาร คุกกี้ ถั่ว ผลไม้อบแห้งต่าง ๆ หรือบางครั้งอาจพบในกล่องรองเท้า หรือแม้แต่ในกระปุกยา ซึ่งหากท่านแกะซองออกมาดูก็จะพบก้อนกลมเล็ก ๆ ใสๆ นั่นคือ ซิลิกาเจล (Silica gel) ที่กำลังจะพูดถึงนี่แหละค่ะ
ซิลิกาเจลหรือสารดูดความชื้นที่เรารู้จักกันนั้นมีชื่อทางเคมีว่า ซิลิกอนไดออกไซค์ (SiO2) ซึ่งสามารถหาได้จากการหลอมรวมของแร่ควอตซ์และโซเดียมคาร์บอเนต (Na₂CO₃)แต่ในอดีตจะสามารถหาได้จากขี้เถาแกลบ และแยกซิลิกาเจลออกด้วยวิธีการต้มร่วมกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ โดยในขี้เถ้าแกลบจะมีซิลิกาอยู่มากถึง 98-99%
ซิลิกาเจลลดความชื้นได้เพราะเป็นสารที่มีโพรงและรูพรุนจำนวนมากเพื่อดูดซับและกักเก็บความชื้น สามารถกักเก็บน้ำหรือความชื้นเอาไว้ เกือบครึ่งของน้ำหนักซิลิกา(40%) และเก็บได้สูงสุดที่ความชื้นสัมพัทธ์ 40 %
กล้อง Electron microscopes ฉายภาพซิลิกาที่มีโพรงและรูพรุนจำนวนมาก
และเมื่อซิลิกาเก็บความชื้นจนอิ่มตัวแล้วเราสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยการใช้ความร้อน มากกว่า 150 องศาเซลเซียส หรือจะใช้วิธีตามธรรมชาติ เพียงตากแดดก็เพียงพอสำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่ แต่อาจใช้เวลาที่นานกว่าการใช้ความร้อนจากไมโครเวฟ และด้วยซิลิกามีราคาถูก เราจึงมักพบถูกนำมาใช้ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้าและอื่น ๆ มากมาย
แต่ทำไมซิลิกาเจลบางชนิดกลับมีสีสัน ?
จริงๆ แล้ว ซิลิกาเจลเป็นสารทีใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่ว่าซิลิกาบางชนิด จะมีสีฟ้าและเปลี่ยนไปเป็นสีชมพูเมื่อเก็บความชื้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสีของสารที่ชื่อว่า โคบอลต์คลอไรด์ ที่ใส่เพิ่มเข้าไปเพื่อวัดความชื้นของซิลิกาเจลว่าอิ่มตัวหรือยังนั้นเอง โดยทั่วไปจะมีสีน้ำเงินเข้มเมื่อแห้งหรือมีความชื้นต่ำจะเริ่มเปลี่ยนสีไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสีชมพูสว่างตามความชื้น
ซิลิกาสีน้ำเงินเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามระดับการกักเก็บความชื้น(จากน้อยไปมาก)
แต่ซิลิกาเจลแบบที่มีตัวบ่งบอกความชื้น จะไม่พบในผลิตภัณฑ์อาหาร เพราะเป็นสารที่ค่อนข้างอันตรายและนอกจากนั้นไม่มีความจำเป็นที่ต้องรู้ว่าซิลิกาเจลอิ่มตัวหรือยัง เพราะมันถูกออกแบบมาเพื่อใช้รอบเดียวและทิ้งไปนั้นเอง
FURI KNOW everyone know
ฝากกดไลค์ กดติดตามให้กำลังใจกันด้วยน้า❤️
Ref.
- Innovative Materials for Processes in Energy Systems
by Bidyut Baran Saha, Anutosh Chakraborty and Kim Choon Ng Research Publishing Services.
-
http://cuir.car.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/12568/1/Sarintorn_Silica.pdf
-
https://www.academia.edu/38064307/Three-Dimensional_Structure_of_a_Sintered_Macroporous_Silica_Gel
-
http://www.undermicroscope.com/alkali-silica-gel/?fbclid=IwAR1lbWOiyuMsckL4pkDk1O-Hb7dmmm09nVtvcs87FkLAqDrp_LW2YSS4IMY
1 บันทึก
2
2
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย