Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายเพื่อผู้ประกอบการ
•
ติดตาม
1 ก.ค. 2020 เวลา 10:39 • การศึกษา
"ค่าปรับตามสัญญา" กับ “ค่าเสียหายตามสัญญา” ไม่เหมือนกัน
2
ค่าปรับเป็นการเยียวยาความเสียหายโดยกลไกของสัญญา แต่ค่าสินไหมทดแทนหรือเราเรียกกันว่าค่าเสียหาย เป็นการเยียวยาความเสียหายโดยกลไกทางศาล
ดังนั้น ค่าปรับกับค่าเสียหายจึงต่างกัน ซึ่งพอสรุปได้ 5 ข้อ
1. ค่าปรับอาจกำหนดเป็นเงิน (ป.พ.พ. มาตรา 379) เช่นในสัญญาของรัฐจะมีการกำหนดค่าปรับกรณีส่งงานล่าช้าไว้ 0.1% ของค่าจ้าง หรือ 0.2% ของราคาที่ซื้อขาย หรือการกระทำหรืองดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้เป็นเงินก็ได้ (ป.พ.พ มาตรา 382) # ส่วนค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหาย ต้องเป็นเงินเสมอ เช่น ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสอง และวรรคสาม
2. ค่าปรับเกิดจากการตกลงกันล่วงหน้า โดยกำหนดในสัญญา ถ้าสัญญาไม่ได้กำหนดไว้ก็เรียกค่าปรับไม่ได้ # ส่วนค่าเสียหายแม้สัญญาจะไม่ได้กำหนดไว้ ถ้าผิดสัญญาศาลก็กำหนดให้ใช้ค่าเสียหายตามที่เสียหายไป (ป.พ.พ. 222)
3. ค่าปรับเป็นการใช้สิทธิริบกันได้นอกศาลโดยวิธีการบังคับจากกลไกของสัญญา เช่น บังคับจากหลักประกันสัญญา
# ส่วนค่าเสียหายจะเรียกได้ก็โดยการฟ้องร้องให้ศาลกำหนดให้ (ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคสี่)
4. กำหนดค่าปรับไว้ในสัญญาเป็นอย่างไร ไม่ต้องพิสูจน์ค่าเสียหาย เว้นแต่ว่าจะเรียกค่าเสียหายเกินกว่าค่าปรับ # ส่วนการฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทน เจ้าหนี้ต้องนำสืบ
5. ค่าปรับคือค่าเสียหายล่วงหน้า (Liquidated Damages) ถ้าสูงเกินส่วนศาลลดได้ แต่มีข้อสังเกตว่าลูกหนี้ผู้ที่จะขอลดค่าปรับจะต้องยังไม่ได้ชำระค่าปรับ ถ้าเจ้าหนี้หักค่าปรับไว้จากค่าจ้างก็ต้องโต้แย้งไว้ # ส่วนสินไหมทดแทนหรือค่า ค่าเสียหายศาลจะกำหนดให้ตามความเสียหายที่แท้จริง
ขอบคุณเพื่อน ๆ ที่ติดตามนะคะ
#กฎหมายเพื่อผู้ประกอบการ #ค่าปรับและค่าเสียหายตามสัญญา #ร่างสัญญา #บริหารสัญญา
อ้างอิง
ภาพประกอบบทความจาก <a href='
https://www.freepik.com/free-photos-vectors/abstract
'>Abstract photo created by freepik -
www.freepik.com
</a>
บันทึก
1
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย