2 ก.ค. 2020 เวลา 05:23
หลักเศรษฐศาสตร์กับการตั้งเป้าหมายทางการเงิน
การตั้งเป้าหมายการเงินที่ดี ย่อมเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ
แต่ชีวิตของเราก็มีความต้องการ/เป้าหมายในชีวิตมากมาย บางคนมาก บางคนน้อย แต่ด้วยทรัพยาการเงินที่มีอย่างจำกัด เราจึงต้องมีการวางแผนใช้จ่าย ทั้งในระยะสั้นและยาว
และการตัดสินใจเลือกสิ่งหนึ่ง ย่อมทำให้เราขาดโอกาสที่จะได้ในอีกสิ่งหนึ่ง เราจึงต้องมีการคิดให้รอบคอบ รอบด้านมากขึ้น
ซึ่งขั้นตอนการตั้งเป้าหมายที่ผมอยากจะแชร์มีดังนี้
ขั้นตอนแรก : List เป้าหมาย/ค่าใช้จ่ายที่มีทั้งหมด
อยากให้เราลองหลับตา นึกถึงเป้าหมายในชีวิตที่ต้องใช้เงินเป็นองค์ประกอบ และค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้น List ออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมายทางการเงิน
ขั้นตอนที่ 2 : จัดประเภทของเป้าหมายที่ตั้งขึ้น
ในเมื่อเรามีเป้าหมายที่ตั้งขึ้นค่อนข้างมาก เราจึงต้องจัดประเภทของเป้าหมาย เพื่่อให้ง่ายในการนำไปปฏิบัติจริง โดยถึงความจำเป็น/อยากได้ และเวลาที่ต้องใช้เงินก้อนนี้
จุดสำคัญของการตัดสินว่าเป้าหมายนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น/อยากได้ คือ ลองถามตัวเองว่าถ้าไม่มีสิ่งนี้ เรายังสามารถใช้สิ่งอื่นทดแทนได้ไหม และกระทบกับชีวิตดรามากน้อยแค่ไหน
ex. 1 โทรศัพท์ใหม่ ถ้าเรายังไม่ซื้อใหม่ ของที่เรามีอยู่ยังพอใช้ต่อไปได้ไหม
ex. 2 เงินสำรองฉุกเฉิน ถ้าเราต้องใช้จ่ายเงินเร่งด่วน เราจะใช้เงินจากไหน สามารถหาเงินจากที่อื่นมาทดแทนได้หรือไม่ หากเราไม่มีการสำรองเงินก้อนนี้ไว้
ตัวอย่างการแยกประเภทของเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 3 : ภาคปฏิบัติ
เมื่อจัดประเภทของเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว ต่อไปคือการลงมือทำ เมื่อเรามีรายได้เข้ามา เช่น เงินเดือน โบนัสต่างๆ พยายามบริหารรายรับ/จ่าย โดยยึดหลักความจำเป็นเป็นลำดับแรก
บางเป้าหมายต้องใช้เงินทันที เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน เราอาจจะวางแผนการเก็บเงิน โดยออมไว้ในบัญชีออมทรัพย์ เพื่อให้สะดวกในการใช้จ่าย ยามจำเป็น
บางเป้าหมายมีระยะเวลายาวนาน เราอาจนำเงินส่วนนี้ไปลงทุน เพื่อให้ได้ผลตอบแทนงอกเงย
จุดสำคัญคือ แต่ละเป้าหมาย เรามีวิธีการ/แผน ที่จะไปถึงเป้าหมายได้ภายในระยะเวลาทีกำหนดขึ้นได้ไหม
หากมีเงินจำกัด อยากให้เลือกทำเป้าหมายที่มีความจำเป็นมากที่สุดก่อน
แต่ถ้ามีเงินเหลือ เราอาจให้รางวัลตัวเอง ซื้อของในสิ่งที่อยากได้เป็นครั้งคราวก็ได้
สิ่งที่สำคัญ คือการที่เรามีความสุขกับชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคต เป็นแผนการเงินที่พอดี ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป
เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
ที่มา หนังสือการวางแผนการเงินแบบองค์รวม ชุดวิชาที่ 1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา