3 ก.ค. 2020 เวลา 12:00 • สุขภาพ
เมื่อไหร่ที่เราจะเรียกว่าโรคความดันโลหิตสูง
หนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ในปัจจุบันนี้ โรคความดันโลหิตสูงพบมากขึ้นในปัจจุบัน โดยสมัยก่อนจะพบโรคนี้มากในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้ป่วยสูงอายุจะมีหลอดเลือดที่แข็งมากขึ้นแต่ขาดการยืนหยุ่น ทำให้เวลาที่ต้องรับแรงดันเลือดจากการบีบตัวของหัวใจ อาจจะมีโอกาสที่หลอดเลือดจะเปราะและแตกได้ง่ายนั่นเอง
ซึ่งโรคความดันโลหิตเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่ว่าจะเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดสมองต่างๆ เป็นต้น
เรามารู้จักกันว่า โรคความดันโลหิตสูง เราใช้เกณฑ์ตัวเลขเท่าไหร่ถึงบอกว่าเป็นโรคนี้
ปกติถ้าเราไปวัดความโลหิต เราจะพบตัวเลขทีปรากฏในจอ 3 ค่า เช่น ตัวบน 140 ตัวล่าง 90 ชีพจร 80 เป็นต้น
ความดันโลหิต หรือ Blood pressure (BP) ประกอบด้วยตัวเลขค่าบน เรียกว่า Systolic blood pressure หรือ SBP และตัวเลขล่าง เรียกว่า Diastiloc blood pressure หรือ DBP ส่วนชีพจร เรียกว่า Pulse
ความดันโลหิตสูงวินิจฉัยจาก
1. เมื่อวัดที่สถานพยาบาล เช่น เวลาที่เราไปหาหมอ จะเอาตัวเลข SBP ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 140 และ/หรือ DBP ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งต้องทำการวัดอย่างน้อย 2 ครั้งต่างช่วงเวลากัน แล้วนำค่ามาเฉลี่ยกัน ถึงจะบอกได้ว่ามีโรคความดันโลหิตสูง
2. ถ้ามีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน ให้ใช้ตัวเลข SBP ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 135 และ/หรือ DBP ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 85 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งต้องทำการวัดอย่างน้อย 2 ครั้งต่างช่วงเวลากัน แล้วนำค่ามาเฉลี่ยกัน ถึงจะบอกได้ว่ามีโรคความดันโลหิตสูง
ข้อควรรู้ก่อนและขณะวัดความดันโลหิตสูง
1. ให้เลือกวัดแขนข้างที่ไม่ถนัด
2. ไม่ดื่มชา-กาแฟ-สูบบุหรี่-ยาแก้ลดอาการคัดจมูกก่อนวัดความดันโลหิต
3. ไม่ออกกำลังกายหนักๆมาก่อน
4. งดพูดคุยระหว่างการวัดความดันโลหิต
5. นั่งพักบนเก้าอี้หลังตรง พิงพนักอย่างน้อย 2-5 นาที
6. ไม่เกร็งแขนและไม่กำมือขณะวัดความโลหิต
7. เท้าทั้งสองวางราบกับพื้น ไม่ไขว้ห้าง
8. อยู่ในห้องเงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน
ในบทความนี้ เราได้รู้ว่าโรคความดันโลหิตสูงวินิจฉัยจากตัวเลขเท่าไหร่ และการปฏิบัติตัวก่อนและขณะวัดความดันโลหิตแล้วนะครับ
โฆษณา