9 ก.ค. 2020 เวลา 08:44 • สุขภาพ
🧭🌷 สวัสดีค่าา... เพื่อนๆๆ
ก่อนที่เพจนี้ จะแปลงร่างเป็นเพจหนอนหนัง
ขอดิชั้นเทิร์นตัว ๓๖๐° ขอกลับมาด้านวิชาการกันบ้างค่ะ
และครั้งนี้ เป็นการเล่าเรื่องของท่อช่วยหายใจกันดีกว่าค่ะ
ว่าทำไมพวกหมอๆ ต้องทำหัตถการใส่ท่อช่วยหายใจกับคนไข้ด้วยล่ะเนี่ยะ ?!? แล้วจะใส่ไปเพื่อออ..?? 🎯☘😷
แถมทำไมนะ ที่ยังมีบ้างในบางราย ที่ปฏิเสธการใส่ท่อฯได้ด้วยสิ!! งงจุงเบย กับเรื่องหมอๆท่อๆเนี่ยะ !?! 💉🧭💊
งั้นก็ถึงตาของหมอ ที่มีหน้าที่หลักในการมุดท่อ เฮ้ยย!...ไม่ใช่!!
ดิชั้นแค่มีความถนัดในการใส่ท่อช่วยหายใจ จะขอมาแจ้งแถลงไขในวันนี้กันค่ะเพื่อนๆ 🍁😊🍀
Cr. unsplash
ศัพท์วิชาการเรียก ท่อช่วยหายใจ ว่า endotracheal tube ( เอนโดเทรเคียล ทิ้วบ์ ) ออกแบบสำเนียงไทยๆ เรียกสั้นๆง่ายๆว่า ' ทิ้วบ์ '
หากผู้ป่วยมีภาวะการหายใจล้มเหลว ประมาณว่า ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้ไหว
ทางทีมแพทย์จะพิจารณาเพื่อช่วยหายใจ โดยบอกกับทีมว่า 'เตรียมใส่ทิ้วบ์'
จากนั้นก็คือ การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการใส่ทิ้วบ์ เพื่อซัพพอร์ตการหายใจของผู้ป่วย 🍁 ☘
อ้าาววว...?!? แล้วเมื่อไรที่เรียกว่า
'การหายใจล้มเหลว' ล่ะจ๊ะหมอจ๋าา...?? 🌿💕
คืองี้ค่ะ การหายใจมีหน้าที่อยู่ ๒ โหมด คือ โหมด ๑ ; การรับออกซิเจนเพื่อนำไปใช้
และ ๒ ; เพื่อระบาย 'คาร์บอนไดออกไซด์' ออกจากร่างกาย & ปอด
( ศัพท์วิชาการใช้คำว่า 1; for Oxygenation & 2 ; Ventilation )
⏰⏳🧭
เพื่อนๆอาจจะงง ทำไมต้องแยกกันด้วย ?? คืองี้ค่ะ หน้าที่ของปอดเพื่อใช้หายใจ ก็ต้องประกอบด้วย ๒ ส่วนหลักๆนี้เลยล่ะค่ะ
ถ้ามีปัญหาถึงขั้นล้มเหลว ในหน้าที่อย่างใดอย่าง๑ ที่ว่า
ก็ต้องใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยหายใจ ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือพัฒนาขึ้นมามากมาย สำหรับซัพพอร์ตเพื่อการนี้ โดยไม่ต้องถึงการใช้ท่อช่วยหายใจได้ง่ายๆแล้วค่ะ
แต่ถ้ายังซัพพอร์ตไม่ไหว ท่อช่วยหายใจก็ต้องเป็นคำตอบสุดท้ายอยู่ดีล่ะค่ะ
💟🎯
แล้วมีด้วยเหรอ? ที่การหายใจ จะมีแค่โหมด๑ ที่ล้มเหลว แล้วอีกโหมดไม่ล้มไปด้วยกัน ??
🧭 ตอบ ; มีบ้างค่ะ อย่างเช่นฝั่ง Oxygenation ยังโอเค แต่การระบายCO2 ( carbon dioxide ) ล้มเหลวจนเกิดการคั่งของ CO2 ในกระแสเลือด
ยกตัวอย่างเช่น กรณีบาดเจ็บรุนแรงต่อเนื้อสมองจนกดการหายใจ ( เช่นจากอุบัติเหตุ )
ซึ่งภาวะนี้ ถ้าให้ผู้ป่วยได้รับหน้ากากเพิ่ม %ออกซิเจน ก็จะช่วยได้เพียงเพิ่มออกซิเจนในเลือดเพียงอย่างเดียว
แต่ระบบการหายใจ ยังคงถูกกดจนCO2คั่งในกระแสเลือด
ซึ่งเกิดเป็นภาวะ๑ ของระบบหายใจล้มเหลว ( แหะ เพื่อนๆ จะเก๊ทมั้ยล่ะคะเนี่ยะ แอบเครียดจุงเบยง่ะ ) 🌿😅💉
Cr. unsplash
เอาเป็นว่า เมื่อใดที่มีภาวะ ออกซิเจนต่ำ หรือCO2คั่งในกระแสเลือด นั่นละค่ะ
แค่อย่างใดอย่าง๑ ก็เป็นภาวะ ระบบหายใจล้มเหลว ( respiratory failure )
และถ้าแก้ไขด้วยอุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นๆ แล้วไม่ดีขึ้น
ก็ต้องแก้ไขด้วยการช่วยหายใจด้วยการใส่ท่อฯ ที่ว่านี่ล่ะค่ะ เพื่อช่วยเพิ่ม%ออกซิเจน และเพิ่มการระบายCO2จากกระแสเลือด ⏰✌🎯
ต่อมาคือ การตอบข้อสงสัยว่าทำไมในบางเคส ถึงปฏิเสธการใส่ท่อฯได้ด้วยล่ะ ?!?
จะขอตอบในกรณีที่พบบ่อยนะคะ
คือ ผู้ป่วยบางรายอยู่ในระยะสุดท้าย เช่น มะเร็ง , โรคประจำตัวที่เรื้อรังจนระบบอวัยวะล้มเหลว เป็นต้น
ในกรณีที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีเหตุให้ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ มีบ้างในบางราย
ที่ผู้ดูแลหรือลูกหลานผู้ใกล้ชิด อาจตัดสินใจปฏิเสธการใส่ท่อฯ
แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วย ก็จะพิจารณาตามพยากรณ์โรคเป็นรายๆไป ถ้าหากพยากรณ์โรคไม่ดีอยู่เดิม
และการช่วยหายใจเป็นเพียงการยื้อเวลา แต่พยาธิสภาพที่มีอยู่ เป็นชนิดไม่สามารถรักษาให้ดีขึ้น
แพทย์เจ้าของไข้ก็อาจะเลือกที่ทำตามความต้องการของญาติๆ ที่ปฏิเสธการใส่ท่อฯได้ค่ะ ☘🎼🥰
ซึ่งเรื่องนี้ ถือเป็นเรื่องค่อนข้างละเอียดอ่อนเอามากๆทีเดียวค่ะ ต้องค่อยๆพิจารณาเป็นรายๆไป
ไม่สามารถสรุปอย่างรวบรัดในไม่กี่บรรทัดได้เลยค่ะเพื่อนๆ พลี้สส.....
🌈⏳🎶
เฮ้ออ... ไม่แน่ใจเลยค่ะว่าที่เล่ามาทั้งหมดเนี่ยะ เพื่อนๆจะเข้าใจตามไปได้ง่ายๆหรือเปล่า แอบลุ้นใจจุง แหะๆ
แต่อย่างไรก็ขอขอบคุณมากๆนะคะ ที่อุตส่าห์ตามอ่านมาถึงบรรทัดนี้ 😊🍀💕
แล้วค่อยหาเรื่องมาเล่าเม้าส์มอยกันใหม่นะคะ c U kaaa..
💗💟
โฆษณา