10 ก.ค. 2020 เวลา 03:00 • ปรัชญา
การปรับบุคลิกภาพ
การพูด
4
การพูดถือเป็นการแสดงออกซึ่งบุคลิกภาพอย่างหนึ่ง เราสามารถตัดสินบุคคลว่าเขาเป็นอย่างไร มีบุคลิกดีหรือหรือไม่จากการพูด ซึ่งเราใช้การพูดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันทั้งในการพูดส่วนตัวหรือในหน้าที่การงานก็ตาม ลำพังพูดเก่ง พูดมาก แค่นี้คงไม่พอ ต้องพูดดีมีบุคลิกและรู้จักมารยาทในการพูดด้วย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
“การพูด” คืออะไร?
การสื่อสารด้วยการใช้ภาษาจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟัง เพื่อสื่อความหมายให้ได้รับทราบข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด รวมถึงความต้องการของตนเอง อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนคติต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งกันและกันด้วย
องค์ประกอบของการพูด :
1. ผู้พูด
2. เนื้อหา
3. สื่อ
4. ผู้ฟัง
5. ปฎิกิริยาจากผู้ฟัง
1
หลักในการพูดให้ดูดีมีบุคลิกภาพ
1. ยิ้มแย้ม
การพูดควรสร้างความเป็นกันเอง เป็นมิตร และความสบายใจแก่ผู้ฟังด้วยการที่ผู้พูดยิ้มแย้มแจ่มใส
2. ใช้คำพูดที่เหมาะสม
ใช้คำพูดที่เหมาะสมกับเพศ วัย การศึกษา ประสบการณ์ อาชีพของผู้ฟัง
3. เตรียมตัว
มีการเตรียมตัวในการพูดก่อนที่จะพูดจริงหากสามารถทำได้ เพื่อให้การพูดน่าสนใจ บรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้
+ เตรียมตัวในส่วนของเสื้อผ้าหน้าผมที่เหมาะสม
+ เตรียมตัวในส่วนของอุปกรณ์ที่อาจต้องใช้
+ เตรียมตัวในส่วนของเนื้อหาสาระที่จะพูด
+ เตรียมตัวรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ
+ เตรียมตัวกับคำถามที่อาจมีผู้ฟังถามเข้ามา
4. ใช้มือประกอบ
การใช้มือไม้หรือท่าทางประกอบทำให้การพูดน่าสนใจ ผู้ฟังตื่นตัว รู้สึกถึงพลังของผู้พูดด้วย
5. น้ำเสียงเป็นธรรมชาติ
ไม่ต้องดัดเสียงหรือทำเสียงขึ้น ๆ ลงเหมือนกับกำลังเล่านิทานให้เด็กฟัง
6. มั่นใจ
ความมั่นใจเป็นองค์ประกอบของความสำเร็จไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม กับการพูดก็เช่นกัน
7. เสียงดังฟังชัด
คำว่าเสียงดังฟังชัดไม่ได้หมายถึงเสียงดังมากแบบการตระโกน แต่หมายถึงเสียงที่ชัดถ้อยชัดคำ
8. พูดเข้าใจง่าย
รู้จักการอธิบายด้วยวิธีการเหล่านี้
+ อธิบายด้วยถ้อยคำง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน
+ รู้จักการยกตัวเอย่างให้เห็นภาพอย่างชัดเจน
+ เข้าใจในตัวผู้ฟังทุกคนว่ามีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจอะไรง่าย ๆ เหมือนกัน
9. ให้ลูกยอ
เชื่อเหลือเกินว่าใคร ๆ ต่างก็ชอบลูกยอ หรือคำพูดชื่นชมกันทั้งนั้น
10. มีอารมณ์ขัน
การนำอารมณ์ขันเข้ามาใช้ในการพูดย่อมลดทอนความเครียด สร้างความน่าสนใจได้อีกมาก
ออกเสียงให้ถูกต้อง
1. การออกเสียงแบบไม่ตัดคำ
2. การออกเสียงแบบอักษรนำ
3. การไม่ออกเสียงต่อเนื่อง
4. การออกเสียงสั้น การออกเสียงยาว
5. การออกเสียงคำควบกล้ำ
6. การออกเสียงตามความนิยม
7. การออกเสียงคำสมาส
ไม่ใช้ศัพท์ยาก
คุณไม่ควรใช้ภาษาต่างประเทศ หรือศัพท์เทคนิคต่าง ๆ ที่เข้าใจยาก อาจเข้าใจไขว้เขว และคนทั่วไปไม่คุ้นชิน เนื่องจากผู้ฟังอาจมีหลายระดับอายุ การศึกษา และประสบการณ์
ไม่ใช้ศัพท์วัยรุ่น
เหตุผลจะคล้ายคลึงกันกับการใช้ศัพท์ภาษาต่างประเทศ คุณอาจใช้ได้แต่ควรเลือกใช้บางคำที่เข้าใจกันหรือใช้ให้น้อยที่สุด
ไม่พึ่งโพย
การพูดที่ดีที่สุด คือ การพูดออกมาจากใจ จากความเข้าใจของเราเอง จึงไม่ควรใช้โพยใด ๆ
ไม่พูดน่ารำคาญ
คุณรู้หรือไม่ว่าการพูดในบางลักษณะทำให้ผู้ฟังรู้สึกรำคาญ การพูดล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ถึงครึ่งแรกได้ ให้คุณหลีกเลี่ยงในการพูดในลักษณะเหล่านี้ ได้แก่
+ การพูดวกไปวนมาหรือซ้ำ ๆ
+ การพูดออกนอกประเด็นมากเกินไปหรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าลงทะเลจนทำให้เนื้อหาที่จะพูดตกไป
เรียนรู้มารยาทในการพูด
1. หากเป็นการพูดที่มีนัดหมายเวลา คุณควรไปก่อนเวลาเล็กน้อยเพื่อจะได้เตรียมตัวและไม่ผิดนัด
2. ควรแต่งกายให้ดูดีหรือเหมาะสมกับกาลเทศะไว้ก่อน
3. ควรใช้คำพูดทักทายผู้ฟังอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานภาพ
4. ควรพูดด้วยถ้อยคำที่สุภาพไพเราะ
5. ไม่แย่งผู้อื่นพูด
6. ไม่ควรหัวเราะเสียงดัง
7. ไม่พูดจาว่าร้ายใครในทำนองนินทาหรือปรักปรำเขา
8. ไม่ควรล้วง แคะ แกะ เกาส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
9. ไม่ควรอมลูกอม ยาอม หรือหมากฝรั่งเวลาพูด
10. ไม่ควรชี้นิ้วไปทางผู้ฟังหรือชี้หน้าผู้ฟังเป็นอันขาด
11. หากมีการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น เราควรน้อมรับฟังด้วยความสนใจ
12. ควรให้เกียรติผู้ฟังทุกคน โดยไม่พูดเป็นการดูถูก ดูแคลนในส่วนของเพศ วัย อาชีพการงาน ฐานะการเงิน ศาสนา การศึกษา ความเชื่อในเรื่อต่าง ๆ เชื้อชาติหรือถิ่นกำเนิด ความเชื่อทางการเมือง รสนิยม ฯลฯ เพราะอาจเกิดความบาดหมางได้
13. ไม่พูดจาโอ้อวดใคร
14. ไม่ควรเขย่าขาแข้งเวลาพูด
15. ไม่ควรลอบดูนาฬิกาบ่อย ๆ
16. ไม่พูดนานเกินความจำเป็น
17. ไม่ควรซุกมือลงในกระเป๋ากางเกง
18. เลือกใช้คำพูดที่แสดงถึงมารยาทและความสุภาพอ่อนหวาน
19. ไม่ควรใช้น้ำเสียงที่แสดงความไม่มีมารยาท
20. ไม่ควรยืนพิงผนัง
21. หากเป็นการพูดแบบสัมมนา ประชุม วิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นต่าง ๆ หากต้องการคัดค้านให่คัดค้านด้วยเหตุผลอันควรมิใช่ด้วยอารมณ์ความรู้สึก
22. หากเสียงปรบมือหรือเสียงหัวเราะยังไม่หยุด คุณก็ไม่ควรพูดในตอนนั้น
23. หากมีผู้ฟังบางคนแสดงความไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย หรือเสียมารยาทกับผู้พูดอย่างคุณ ให้คุณควบคุมอารมณ์ตัวเองให้เย็นเข้าไว้ ไม่ต้องสนใจแล้วพูดต่อไป
การพูดโทรศัพท์อย่างมีมารยาท
1. คุณไม่ควรปล่อยให้โทรศัพท์ดังนานเกินไป
2. กรณีที่คุณเป็นคนติดต่อหรือโทรศัพท์ไป ควรตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ให้ถูกต้องเพื่อเพื่อจะได้ไม่โทรผิดให้เสียเวลา
3. ไม่ควรกินหรือดื่ม ในเวลาที่โทรศัพท์อยู่
4. ควรพูดด้วยน้ำเสียงที่สุภาพนุ่มนวล
5. กรณีที่มีผู้โทรเข้ามา แต่เขาไม่ได้โทรมาหาคุณ ควรสอบถามให้แน่ชัดว่าต้องการเรียนสายกับใคร
6. ไม่ควรพูดเรื่อยเปื่อยหรือชวนอีกฝ่ายคุย ซึ่งไม่เกี่ยวกับงาน
7. ถ้ามีความจำเป็นต้องหยุดพูดไปชั่วขณะเพื่อทำธุระต่าง ๆ ต้องบอกอีกฝ่ายรับทราบ ขอให้เขาช่วยรอคุณสักครู่
8. กรณีที่ต้องหยุดพูดนาน ๆ ควรแจ้งให้อีกฝ่ายทราบว่าสักครู่เดี๋ยวคุณจะโทรกลับไปใหม่อีกที ไม่ควรปล่อยให้อีกฝ่ายถือสายรอคุณนาน ๆ
9. ควรใช้คำพูดที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา
10. คุณไม่ควรวางหูโทรศัพท์ก่อนการสนทนาจบลง
11. คุณไม่ควรโทรหาผู้อื่น โดยเฉพาะคนใกล้ชิดเพื่อพูดคุยเรื่องส่วนตัวหรือเรื่องไร้สาระ
12. กรณีที่คุณโทรเบอร์ผิด ควรรีบขอโทษอีกฝ่ายทันที ไม่ควรวางหูเฉย ๆ
>>> ปรับบุคลิกภาพพัฒนาตนเอง <<<
10.07.2020

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา