9 ก.ค. 2020 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (JNJ) หุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์สูงเป็นอันดับที่ 9 ในสหรัฐอเมริกา
บริษัท จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (JNJ) อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นนิวยอร์กสต็อกเอ็กซ์เชนจ์ (NYSE) อยู่ในหมวดหมู่อุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์ (Healthcare Industry) ซึ่งมีสาขามากกว่า 250 สาขา ใน 60 ประเทศ และมีการกระจายขายสินค้าภายใต้แบรนด์มากกว่า 270 ประเทศ
ในประเทศไทยเราจะคุ้นเคยกับแบรนด์จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ในรูปแบบผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลเด็ก แต่ถ้าเราได้ศึกษาลักษณะธุรกิจของ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน แล้วจะพบว่าสินค้าที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา มีมากกว่าที่เราเห็นอีกมากโดยสามารถแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. สินค้าประเภทดูแลสุขภาพ (Consumer Health Products)
2. สินค้าประเภทเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices)
3. สินค้าประเภทยา (Pharmaceutical Products)
ทำให้หุ้น JNJ มีสัดส่วนการตลาดถึง 369,449 ล้านล้าน ดอลลาร์ คิดเป็นอันดับที่ 9 ในนิวยอร์กสต็อกเอ็กซ์เชนจ์
กราฟแสดงรายได้และผลกำไร จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ปี 2015 - 2019
รายได้ปี 2015 อยู่ที่ 70,074 ล้านดอลลาร์
คิดเป็นผลกำไร 15,409 ล้านดอลลาร์
รายได้ปี 2016 อยู่ที่ 71,890 ล้านดอลลาร์
คิดเป็นผลกำไร 16,540 ล้านดอลลาร์
รายได้ปี 2017 อยู่ที่ 76,450 ล้านดอลลาร์
คิดเป็นผลกำไร 1,300 ล้านดอลลาร์
รายได้ปี 2018 อยู่ที่ 81,581 ล้านดอลลาร์
คิดเป็นผลกำไร 15,297 ล้านดอลลาร์
รายได้ปี 2019 อยู่ที่ 82,059 ล้านดอลลาร์
คิดเป็นผลกำไร 15,119 ล้านดอลลาร์
หลังจากเราแยกประเภทการศึกษาและตัวสินค้าที่มีอยู่ในประเทศของเรา และเหตุการณ์ผลกำไรลดลงอย่างมากในปี 2017 ทำให้ศึกษาต่อไปถึงปัจจัยที่น่าศึกษาต่อดังนี้
- ข้อจำกัด กฏหมาย และ ลิขสิทธิ์ ในการจัดจำหน่ายในแต่ละประเทศ
- การลดลงของผลกำไรในปี 2017 ที่เกี่ยวข้องกับค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นถึง 2.5 เท่า
- ค่าเงินแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ เนื่องจากมีการจำหน่ายสินค้าในหลายประเทศ
ที่มาจากเว็บไซต์จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (www.jnj.com)
ในอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทยาและเครื่องมือแพทย์ มีข้อจำกัดและการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด การส่งออกยังต้องคำนึงถึงข้อจำกัดในการนำเข้าในแต่ละประเทศและเรื่องของภาษี ทำให้ปัจจัยดังกล่าวอาจะส่งผลกระทบกับรายได้ของบริษัท
อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ของ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ได้ส่งเสริมนวัตกรรมและนำธุรกิจโมเดลใหม่ๆ ไปปรับใช้ให้เกิดการเติบโตในด้านการผลิตที่มีมาตราฐานและคุณภาพที่สูง รวมไปถึงการกระจายสินค้าออกไปยังประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ถ้าเรามองกลับมาที่ประเทศไทย เราเป็นอันดับหนึ่งในการส่งออกอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในอาเซียน ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงที่ 9-10% ซึ่ง 85% ในการส่งออกเป็นอุปกรณ์ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ถุงมือยาง หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา ซึ่งอนาคตประเทศของเราอาจจะเป็น เมดิคอลฮับ หรือ เมดิคอลทัวร์ริช ก็อาจจะเป็นได้
โฆษณา