8 ก.ค. 2020 เวลา 23:12 • อาหาร
#การตรวจ #ESR
การตรวจ ESR นั้นย่อมาจาก
( Erythrocyte sedimentation rate)
ซึ่งไม่ได้ใช้ในการวินิจฉัยโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะช่วยบอกข้อมูลว่าคุณกำลังมีการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกายหรือไม่ แพทย์จะทำการตรวจ ESR ร่วมกับการตรวจอื่นๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ซึ่งการตรวจอื่นๆ นั้นก็จะขึ้นกับอาการที่คุณมี นอกจากนั้นการตรวจนี้ยังอาจจะใช้ติดตามโรคที่มีการอักเสบก็ได้
ในการทดสอบนี้จะต้องใช้การเจาะเลือดก่อนนำไปดูอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือด การอักเสบในร่างกายนั้นจะทำให้มีโปรตีนผิดปกติเกิดขึ้นในเลือด ซึ่งอาจทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นเกาะตัวกันและตกตะกอนเร็วกว่าปกติ
#ทำไมถึงต้องตรวจ #ESR
แพทย์อาจจะส่งตรวจ ESR เพื่อช่วยในการตรวจหาการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยภาวะที่ทำให้เกิดการอักเสบเช่นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง มะเร็งและการติดเชื้อ
การทดสอบ ESR นั้นสามารถใช้ติดตามการอักเสบที่เกิดขึ้นได้เช่นในโรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง แพทย์อาจจะส่งตรวจหากคุณมีไข้ มีข้ออักเสบหรือมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบางอย่าง
การทดสอบนี้มักจะไม่ทำเพียงอย่างเดียวแต่มักจะทดสอบร่วมกับการตรวจอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ
#การเตรียมตัว
มียาหลายชนิดที่สามารถส่งผลต่อค่าการทดสอบนี้เช่น
-Androgen เช่น testosterone
เอสโตรเจน
-แอสไพรินหรือยากลุ่ม salicylates อื่นๆ หากรับประทานในขนาดที่สูง
-Valproic acid (Depakene)
-Divalproex sodium (Depakote)
-Phenytoin (Dilantin)
-เฮโรอีน
-Methadone
-Phenothiazines
-Prednisone
ควรแจ้งแพทย์หากคุณกำลังรับประทานยาเหล่านี้ แพทย์อาจจะขอให้หยุดยาดังกล่าวชั่วคราวก่อนมาตรวจ
#การตรวจ #ESR
การตรวจ ESR นั้นเป็นการเจาะเลือด
โดยในขั้นแรกจะเป้นการทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่มีเส้นเลือดดำที่จะเจาะ ก่อนที่จะใช้เข็มเข้าไปเก็บตัวอย่างเลือด หลังจากนั้นก็จะนำเข็มออกก่อนที่จะปิดแผลเพื่อช่วยหยุดเลือด การตรวจนี้ใช้เวลาเพียง 1-2 นาที
#ความเสี่ยงจากการตรวจ ESR
การเจาะเลือดนั้นมีความเสี่ยงเล็กน้อย ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น
-เลือดออกมาก
-เป็นลม
-มีก้อนเลือดหรือรอยช้ำ
-มีการติดเชื้อ
-มีการอักเสบของเส้นเลือดดำ
-เวียนหัว
คุณอาจจะรู้สึกปวดเล็กน้อยถึงปานกลางได้เวลาที่ทำการเจาะเลือด และอาจจะรู้สึกปวดที่ตำแหน่งดังกล่าวหลังการตรวจ
#ผลปกติ
ผล ESR นั้นจะวัดในหน่วยมิลลิเมตรต่อชั่วโมง
ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 50 ปีควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 20 mm/hr
ผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 50 ปีควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 15 mm/hr
ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปีควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 30 mm/hr
ผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปีควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 20 mm/hr
เด็กแรกเกิดควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 2 mm/hr
เด็กที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์นั้นควรมีค่า ESR อยู่ระหว่าง 3-13 mm/hr
ค่าที่ผิดปกติ
ค่า ESR ที่ผิดปกตินั้นไม่สามารถวินิจฉัยโรคใดโรคหนึ่งได้ เพียงแต่บอกว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย
การทดสอบนี้ไม่ได้แม่นยำหรือมีความหมายเสมอไป มีหลายปัจจัยเช่นอายุหรือยาที่ใช้ที่สามารถส่งผลต่อผลการตรวจได้
ผลที่ผิดปกตินั้นอาจจะไม่ได้บอกแพทย์ว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้น แต่มักจะบอกว่าต้องทำการตรวจเพิ่มเติม แพทย์มักจะมีการตรวจ ESR ซ้ำหากค่า ESR ที่ได้นั้นสูงหรือต่ำเกินไป
ค่า ESR ที่สูง
มีหลายสาเหตุที่ทำให้ค่า ESR นั้นสูง เช่น
-ภาวะซีด
-โรคไต
-มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
-Multiple myeloma
-อายุมาก
-ตั้งครรภ์
-Temporal arteritis
-โรคของต่อมไทรอยด์
-Waldenstrom’s macroglobulinemia
-โรคข้ออักเสบบางชนิด
ค่า ESR ที่สูงกว่าปกตินั้นอาจจะเกี่ยวข้อง
กับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันตนเองเช่น
Systemic lupus erythematosus
โรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์
Giant cell arteritis
Polymyalgia rheumatica
Primary macroglobulinemia
มี fibrinogen ในเลือดสูงเกินไป
Allergic หรือ necrotizing vasculitis
การติดเชื้อบางประเภทสามารถทำให้ตรวจพบค่า ESR สูงกว่าปกติได้เช่น
การติดเชื้อที่กระดูก
การติดเชื้อที่หัวใจ
การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
ไข้รูห์มาติก
การติดเชื้อที่ผิวหนัง
การติดเชื้อในกระแสเลือด
วัณโรค
ค่า ESR ที่ต่ำนั้นอาจจะหมายถึง
หัวใจวาย
Hypofibrinogenemia
เม็ดเลือดขาวมาก
มีโปรตีนในเลือดต่ำ
ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว บางสาเหตุที่ทำให้เกิดค่า ESR ผิดปกตินั้นอาจจะรุนแรงกว่า
สาเหตุอื่นๆ แต่สาเหตุส่วนมากนั้นไม่น่ากังวล ดังนั้นอย่าเพิ่งกังวลมากเกินไปหากมีผลการตรวจที่ผิดปกติ แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาว่าอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้มีผลการตรวจที่ผิดปกติค่ะ
ปรึกษาปัญหาสุขภาพไตทุกวัน
คลินิกไตออนไลน์หมออลงกต1และ2
📲094-5291568, 📲063-9678678
Line:Oksystem, Line:Oksystem2
โฆษณา