9 ก.ค. 2020 เวลา 13:39 • ประวัติศาสตร์
“ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution)” แสงสว่างแห่งความรู้ของยุโรปและมนุษยชาติ
3
สวัสดีทุกท่านครับ วันนี้ Storyteller มาแปลกหน่อย คือได้ใช้ Infographic ร่วมกับบทความแบบสั้น ซึ่งต่อไปผมตั้งใจจะใช้รูปแบบนี้สลับกับบทความแบบยาว (มาก) ของผมนะครับ ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อความหลากหลายในการนำเสนอข้อมูลของเพจไม่ให้จำเจเกินไป ให้ทุกท่านสามารถเสพความรู้ได้ง่ายและ Enjoy มากขึ้น...
เอาล่ะ มาเริ่มเข้าเรื่องกันดีกว่าครับ...
“วิทยาศาสตร์คือสิ่งนอกรีต”
“วิทยาศาสตร์คือศาสตร์ของความชั่วร้าย”
ความคิดเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในยุคที่เรียกว่ายุคกลางของยุโรป (แต่จริงๆแล้วในยุคนั้นยังไม่มีคำว่าวิทยาศาสตร์นะครับ)
ยุคที่คริสตจักรนั้นครอบงำทั้งความรู้และความเชื่อของคนยุโรป และถือว่าศาสตร์หรือสิ่งไหนทีขัดกับศาสนา ล้วนเป็นสิ่งชั่วร้ายทั้งสิ้น!
แต่พอถึงยุคกลางในตอนปลาย ศาสนาก็เริ่มเสื่อมลง คนยุโรปเริ่มที่จะไม่เชื่อในพระเจ้า แล้วเริ่มสงสัยว่า “สิ่งที่พวกพระสอนๆเรามาตลอดเนี่ย มันจริงรึเปล่า?”
ใช่ครับ คนยุโรปเริ่มตั้งคำถามและข้อสงสัยในศาสนา พอสงสัยๆๆๆมากเข้าก็เริ่มตาสว่าง กลายเป็นว่าคนยุโรปเริ่มเอาใจออกห่างพระเจ้า แล้วเริ่มเชื่อในตัวเองหรือตัวของมนุษย์มากขึ้น จึงเกิดแนวคิดมนุษยนิยมขึ้นมา
แล้วแนวคิดมนุษยนิยมก็นำไปสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) และการออกสำรวจทางทะเล ที่ทำให้คนยุโรปเริ่มมองโลกให้กว้างมากยิ่งขึ้นนั่นเองครับ...
บวกกับมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ของกูเตนเบิร์ก ยิ่งทำให้คนยุโรปเข้าถึงความรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่ตกเป็นทาสทางความคิดของศาสนาอีกต่อไป
1
และแล้วสิ่งที่เราในสมัยนี้เรียกว่า “วิทยาศาสตร์” ก็ได้พัฒนาขึ้นมาและแยกออกจากศาสนา (แต่เดิมวิทยาศาสตร์อยู่ภายใต้ศาสนา) ในช่วงที่วิทยาศาสตร์เริ่มแยกออกมานี่แหละครับที่เราเรียกว่า “ปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Science Revolution)”
1
ซึ่งศาสตร์แรกที่แยกและโต้แย้งคำสอนของศาสนาเลยก็คือ “ดาราศาสตร์” โดยชายที่ชื่อว่า นิโคลัส คอปเปอร์นิคัส
นิโคลัส ได้เสนอทฤษฎีที่สั่นสะเทือนคำสอนของศาสนาในสมัยนั้น นั่นก็คือ การบอกว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ อีกทั้งยังนำแนวคิดโลกกลม (ที่เคยมีคนคิดเอาไว้ในอดีต) มาเป็นประเด็นโต้แย้งอีกด้วย
การกระทำของนิโคลัส ถือเป็นการปฏิวัติทางความเชื่อแบบใหม่ของคนยุโรป ทั้งยังเป็นการเริ่มยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์...
แล้วก็มีอีกหลายๆคนที่นำแนวคิดของนิโคลัสไปประยุกต์ใช้ต่อ รวมถึงชายที่ชื่อว่า กาลิเลโอ กาลิเลอี
2
โดยกาลิเลโอเป็นผู้สร้างวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็นวิทยาศาสตร์จริงๆ (งงกันรึเปล่าครับ?) เพราะในสมัยนั้นคนมักแยกวิทยาศาสตร์กับศาสนาไม่ออก กาลิเลโอจึงเป็นผู้ที่ทำให้ความคิดของคนยุโรปเปลี่ยนอีกครั้งว่า “เอ้อ! วิทยาศาสตร์มันคนละขั้วกับศาสนาเลยนี่หว่า”
ซึ่งผลงานของกาลิเลโอ คือ การที่เขาสร้างผลงานทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมาเป็นชิ้นเป็นอัน โดยเฉพาะกล้องโทรทรรศน์ รวมถึงคิดค้นทฤษฎีแรงเสียดทาน (ที่ทดลองอยู่หอเอนปิซานั่นแหละครับ)
แน่นอนครับว่ากาลิเลโอทำให้ศาสนจักรโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง จึงเจอศาสนจักรยัดข้อหาว่าใช้ศาสตร์นอกรีต พร้อมกับตัดสินให้ถูกขังอยู่ในบ้านตัวเองตลอดชีวิต
แล้วเมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 17 ก็มีชายอีก 2 คน ที่ได้สร้างวิทยาศาสตร์ให้มั่นคงและเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ ฟรานซิส เบคอน และเรอเน เดการ์ต
ซึ่งฟรานซิส เบคอน ได้ทำให้วิทยาศาสตร์มีรูปแบบมากยิ่งขึ้น โดยการคิดค้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นมา พร้อมกับมีการตั้งสถาบันทางวิทยาศาสตร์ ทำให้งานทางด้านวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วสุดๆเลยล่ะครับ
ส่วนเรอเน เดการ์ต เป็นผู้ที่สร้างเรขาคณิตวิเคราะห์และได้นำคณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับวิทยาศาสตร์ ซึ่งแนวคิดของเรอเนมีอิทธิพลต่อชายผู้ที่คนทั้งโลกถือว่าเป็นศาสดาในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์เลยทีเดียว
ชายคนที่ว่า คือ เซอร์ไอแซค นิวตัน นั่นเองครับ...
โดยไอแซค ถือว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ขั้นเทพเลยล่ะครับ ซึ่งได้นำแนวคิดแบบเรอเน คือการใช้คณิตศาสตร์เข้ามาแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ จนสามารถคิดค้นกฎที่ทำให้การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ถึงจุดสูงสุด นั่นก็คือ กฎแรงโน้มถ่วงและกฎการเคลื่อนที่...
ซึ่งกฎทั้งสองของไอแซคได้ทำให้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าสูงสุด
และแล้วองค์ความรู้ที่ได้จากปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่สั่งสมมานี่แหละครับ ทำให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมามากมาย จนนำไปสู่การปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง นั่นคือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่มันได้ทำให้ดินแดนที่เคยจ๊นจนอย่างยุโรป เกิดมั่งคั่งขึ้นมา จนกลายเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนโลกทั้งใบในที่สุด...
วิทยาศาสตร์ที่แต่ก่อนอยู่ใต้ร่มเงาของศาสนา...
บัดนี้ ก็ได้ผงาดออกมาจนทำให้ศาสนาค่อยๆถูกผลักออกจากแวดวงความรู้ไปทีละนิด...
พร้อมๆกับทำให้มนุษย์พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดเหมือนติดจรวด ในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ...
และนี่ คือเรื่องราว “ปฏิวัติวิทยาศาสตร์” แสงสว่างแห่งความรู้ของยุโรปและมนุษยชาติ
อ้างอิง
Burns, E William. (2001). The Scientific Revolution : An Encyclopedia. California : ABC-CLIO, inc.
Gribbin, John and Hook, Adam. (2003). The Scientists : A History of Science. New York, Random House, Inc.
โฆษณา