10 ก.ค. 2020 เวลา 11:36 • ประวัติศาสตร์
การปฏิวัติครั้งที่ 2 ของฝรั่งเศส
ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Les Misérables
หลังจากที่นโปเลียนแพ้สงครามที่วอเตอร์ลู
https://en.wikipedia.org/wiki/Battle_of_Waterloo
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ก็ได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสภายใต้ระบบการปกครองแบบกษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญในปี1815 จนสิ้นพระชนม์ในปี1824
https://en.wikipedia.org/wiki/Louis_XVIII
จากนั้นพระเจ้าชาลส์ที่10 แห่งราชวงศ์บูร์บง(House of Bourbon)ก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อเป็นสมัยฟื้นฟูราชวงศ์
https://en.wikipedia.org/wiki/Charles_X
จนถึงปี 1830 พระเจ้าหลุยส์-ฟิลลิป แห่ง ออเลอองส์(Louis Philippe d'Orléans) ก็ขึ้นมาปกครองต่อ
https://en.wikipedia.org/wiki/Louis_Philippe_I,_Duke_of_Orl%C3%A9ans
และพระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์เนี่ยแหละ เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของประเทศฝรั่งเศส เพราะว่าเกิดการปฏิวัติสู้สาธารณรัฐอีกครั้ง
จากความระส่ำระส่ายของบ้านเมือง การถูกขูดรีดจากพวกชนชั้นสูง และความวุ่นวายของการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเรื่อยๆอย่างกับเล่นเก้าอี้ดนตรี
โดยเหตุการณ์นี้ก็ได้เกิดขึ้นในปี 1832
เหตุการณ์ในครั้งนี้มีหลากหลายชื่อเรียกด้วยกัน ได้แก่...
“การกบฏในเดือนมิถุนายน” (The June Rebellion)
“การจราจลที่ปารีส”(The Paris Uprising)
"การปฏิวัติในเดือนกรกฏาคม"(révolution de Juillet)
และ
"สามวันอันรุ่งโรจน์" (Trois Glorieuses[FR], Three Glorious Days[ENG])
ในช่วงเวลานั้นได้มีความแตกต่างระหว่างชนชั้น โดยชนชั้นแรงงานมีสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้าย
นอกจากนี้ยังมีโรคอหิวาตกโรคที่แพร่ระบาด ส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุนแรงอย่างมาก
เหล่าโบนาปาร์ติสต์(Bonaparists) หรือกลุ่มผู้สนับสนุน"นโปเลียน โบนาปาร์ท" อดีตผู้นำ พวกเขาเสียใจกับการสูญเสียจักรวรรดิของนโปเลียนไปอย่างมาก
และเหล่าเลจิติมิสเตส์ ได้สนับสนุนการปลดรางวงศ์บูร์บง โดยพยายามให้คนที่พวกเขาชื่นชอบได้ตำแหน่งกษัตริย์ที่แท้จริงนี้ไป
(Légitimistes - พวกที่นิยมยึดถือการสืบทอดราชวงศ์ของฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้น)
โดยคนๆนั้นก็คือหลานชายของชาร์ลส์ เขาเป็นผู้ที่ได้ถูกกำหนดให้เป็นตัวตายตัวแทนไว้แล้ว“อองรี เค้าท์แห่งชอมบอรด์”(Henri, Count of Chambord)
https://en.wikipedia.org/wiki/Henri,_Count_of_Chambord
ในวันที่ 5 เดือนมิถุนายน 1832 ได้เกิดจราจลขึ้นกลางปารีส ท่ามกลางงานแห่ศพของ "นายพลฌ็อง แม็กซิมีเลียง ลามาร์ค”(General Jean Maximilien Lamarque) ผู้ซึ่งเป็นมิตรสหายของเหล่าคนจนและเหล่าคนที่ถูกเอาเปรียบ
https://en.wikipedia.org/wiki/Jean_Maximilien_Lamarque
แนวกั้นเขตถูกสร้างขึ้นล้อมรอบถนนแซงท์ มาร์แตง(rue Saint-Martin) และถนนแซงท์ ดานีส์(rue Saint-Danis)
เหตุการณ์ในครั้งนี้วิคตอร์ ฮิวโก้ก็อยู่บริเวณนั้นด้วย ทำให้เขาได้รับแรงบันดาลใจในการประพันธ์นิยายเรื่องLes Misérables นี้ขึ้น ด้วยการพรรณาเรื่องราวหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส
เหล่าผู้คนจำนวนมากได้ออกเดินตามขบวนแห่ศพไปเรื่อยๆ ก่อนจะเปลี่ยนเส้นทางไปยัง “จตุรัส บาสตีล์”(Place de la Bastille) สถานที่ที่การปฏิวัติครั้งแรกได้เริ่มขึ้นในปี 1789
ชนชั้นแรงงานชาวปารีสจำนวนหนึ่ง และเหล่าคนหนุ่มสาวชาวบ้านชาวเมือง ได้รับกำลังสนับสนุนจากผู้อพยพชาวโปแลนด์ อิตาลี และเยอรมนี
พวกเขารวมตัวกันรอบๆที่ตั้งศพ ที่ซึ่งลามาร์คนอนอยู่
"มาร์ควิส เดอ ลาฟาแย็ตต์"(The Marquis de Lafayette)หนึ่งในกลุ่มผู้มีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติอเมริกา ให้คำปราศรัยเกี่ยวกับการที่ลามาร์คสนับสนุนผู้อพยพเหล่านี้
https://cosmosandhearth.wordpress.com/2017/12/05/marie-joseph-paul-yves-roch-gilbert-du-motier-de-lafayette/
ซึ่งคำปราศรัยนี้ได้กลายเป็นโฆษณาที่ทรงพลังมากภายหลังไม่กี่เดือนหลังจากการตายของเขา
เมื่อธงสีแดงที่ถูกแต้มด้วยคำว่า La Liberté ou la Mort (Liberty ot Death - อิสระภาพ หรือความตาย)ถูกชักขึ้น ฝูงชนก็เกิดความโกลาหล
ทีมกองทัพของรัฐบาลก็เลยยิงสวนลาฟาแย็ตต์พยายามทำให้ทุกคนอยู่ในความสงบ แต่ความวุ่นวายมันได้แผ่กระจายออกไปเป็นวงกว้างเสียแล้ว
เหล่าผู้ประท้วงยึดมั่นที่โฟบูรก์ แซงท์ มาร์แตง(Faubourg Saint’Martin)
พวกเขาสร้างแนวกั้นในถนนแคบๆรอบๆบริเวณถนนแซงต์มาร์แตง และถนนแซงต์เดอนีส์
ในเช้าวันที่6 มิถุนายน เหล่ากบฏผู้ประท้วงถูกล้อมรอบทางสี่แยกของถนนแซงต์มาร์แตง และถนนแซงต์แมร์รี่
ณ จุดนี้ พระเจ้าหลุยส์-ฟิลลิปตัดสินใจแสดงตัวตนด่อหน้าทุกคนบนถนนสายนี้เพื่อยืนยันว่าเขาจะดำรงตำแหน่งพระราชาของประเทศ
การดิ้นลงครั้งสุดท้ายนี้จบลงในเวลายามบ่ายของวันที่ 6 นั้นเอง
ฝ่ายกบฏผู้ประท้วงผ่ายแพ้....
จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดมีราวๆ 800 กว่าคน
โดยทางกองทัพและกองกำลังรักษาดินแดนแห่งชาติเสียชีวิตไปทั้งหมด 73 คนและบาดเจ็บทั้งหมด 344 คน
ทางกลุ่มกบฏ(ผู้ประท้วง)เสียชีวิตไป 93 ราย และบาดเจ็บอีก 291 ราย
โฆษณา