17 ก.ค. 2020 เวลา 05:09 • ยานยนต์
แนวต่อสู้ฝ่ายผู้ต้องหาหรือจำเลยขับรถโดยประมาทชนคนตายหรือบาดเจ็บสาหัส
การขับรถด้วยความเร็วแล้วเกิดอุบัติเหตุไปเฉียวชนผู้อืน ถือเป็นการ"ขับรถโดยประมาท" เว้นแต่พิสูนจ์ได้ว่าเป็นเจตนาก็อีกเรื่อง ซึ่งหากผลของการประมาทเป็นเหตุให้ผู้อืนเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บสาหัส ย่อมมีความตามประมวลกฎหมายอาญา คือ ผู้ที่ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิตต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสิบปีและปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท ส่วนผู้ที่ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดข้างต้นนั้นเป็นความผิดยอมความไม่ได้ แม้ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือทายาทผู้มีส่วนได้เสียของผู้ตายไม่ติดใจเอาความ ซึ่งอาจจะเกิดจาการตกลงค่าเสียหายกันได้ แต่ในส่วนคดีอาญาพนักงานสอบสวนก็จะต้องรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีต่อศาลเพื่อขอให้ศาลลงโทษ หากพนักงานอัยการพิจารณาพยานหลักฐานในเบื้องต้นว่าผู้ที่ขับรถชนผู้อื่นเป็นฝ่ายประมาทก็จะยื่นฟ้องคดีต่อศาลต่อไป
1
สำหรับข้อคำถามที่ว่า "ขับรถโดยประมาทชนคนตายหรือบาดเจ็บสาหัส จะติดคุกมั๊ย" ตอบได้ว่า มีโอกาสทั้งติดคุกและไม่ติดคุกครับ
หลักกฎหมาย
ป.อ. มาตรา 59 วรรค 4 "กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจัก ต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวัง เช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
ป.อ. มาตรา 291 "ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท"
ป.อ. มาตรา 300 "ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ป.อ. มาตรา 78 "เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมาย อื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควร จะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษ ที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้"
ป.อ. มาตรา 56 วรรค 1 "ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาล จะลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมา ก่อนหรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความ ผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ เมื่อศาลได้คำนึง ถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรมสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัยอาชีพและสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือเหตุอื่นอันควรปราณีแล้ว เห็นเป็นการสมควรศาลจะพิพากษาว่า ผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือกำหนดโทษแต่รอการ ลงโทษไว้ แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลา ที่ศาลจะได้กำหนด แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดย จะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้"
------ขับรถชนคน เป็นความผิดตาม กฎหมายอาญา มาตรา 291 และ/หรือ มาตรา 300
------การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 291 ต้องกระทำโดยประมาท และการกระทำโดยประมาทนี้ เป็นผลโดยตรงให้เกิดความตาย (ฎีกาที่ 7143/2544)
------การกระทำโดยประมาท อาจเกิดจากการงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น ตาม ป.อ. มาตรา 59 วรรคท้าย ก็ได้ (ฎีกาที่ 2210/2544)
------ประมาทร่วมมีไม่ได้ ดังนั้น ถ้ามีผู้กระทำประมาทหลายคน ถือว่าต่างคนต่างกระทำโดยประมาท
------ถ้าจำเลยขับรถโดยประมาท ผู้ตายกระโดดลงจากรถถึงแก่ความตาย ถือว่าเป็นผลจากการที่จำเลยขับรถโดยประมาท (ฎีกาที่ 1436/2511)
------ถ้ารถที่จำเลยขับห้ามล้อไม่ดี ต่อมารถชนกันเพราะไม่สามารถหยุดรถได้ทันที เป็นเหตุให้คนตาย จำเลยผิด มาตรา 291 (ฎีกาที่ 1337/2530)
------จำเลยเพียงไม่มีใบอนุญาตขับรถ หรือขับรถโดยฝ่าฝืนกฎหมายเท่านั้น จะถือว่ากระทำโดยประมาทไม่ได้ (ฎีกาที่ 294/2501)
------ป.อ. มาตรา 300 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ตามฎีกาที่ 7891/2544 และอาจผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 78, 157
มาตรฐานกลาง หลักประกันการปล่อยชั่วคราวของผู้ต้องหาหรือจำเลย
------คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี กำหนดจากระวางโทษจำคุกขั้นสูงไม่เกินปีละ 20,000 บาท
------คดีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี วงเงินประกันไม่เกิน 100,000 บาท
------คดีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี วงเงินประกันไม่เกิน 200,000 บาท
ดังนั้น กรณีขับรถประมาทชนคนตาย วงเงินประกันตัวเพื่อปล่อยชั่วคราว ไม่เกิน 200,000 บาท
****ทางออกของคดี ถ้าจำเลยผิดจริง
1).รับสารภาพ (มีเงื่อนไขว่า ควรปรึกษาทนายความก่อน)
2).บรรเทาผลร้ายแก่ผู้เสียหาย ช่วยเหลือผู้เสียหายและครอบครัวจนสุดกำลัง (ตามฐานานุรูป)
3).บริษัทประกันภัยจะช่วยเหลือได้มาก ถ้าผู้ขับขี่หรือจำเลยมีใบขับขี่ และรถของจำเลยหรือผู้ขับขี่ มีการเอาประกันภัย
------ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ----> เบื้องต้นจ่าย 15,000 บาท บาดเจ็บสาหัส ถึง 50,000 บาท
------ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ----> เสียชีวิต, ทุพพลภาพ ถึง 200,000 บาท ตามประเภทของกรมธรรม์ - เช่น เสียชีวิต รายละ 1 ล้านบาท แล้วแต่กรมธรรม์ / หรือบริษัทประกันภัย
4.)ควรจำไว้ว่า คดีขับรถประมาท ป.อ. มาตรา 291 ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดโทษไม่เกิน 10 ปี ซึ่งศาลอาจลงโทษแค่ 5 ปี ถ้าจำเลยรับสารภาพลดโทษเหลือกึ่งหนึ่ง คือ 2 ปีครึ่ง เมื่อจำเลยผู้ขับขี่รถเป็นฝ่ายผิดและบรรเทาผลร้ายโดยช่วยเหลือผู้เสียหาย ศาลอาจรอการลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 56
5.) บรรเทาผลร้าย ช่วยเหลือผู้เสียหาย (ตาย, บาดเจ็บ)
------โดยตัวของจำเลย หรือตัวแทน เช่น ญาติ
------ชดใช้สินไหมทดแทน โดยบริษัทประกันภัย (ก่อนศาลชั้นต้นในคดีอาญาอ่านคำพิพากษา)
6).ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีทำให้เขาตาย (ป.พ.พ. มาตรา 443 - 445) ได้แก่
1. ค่าปลงศพ
2. ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ
3. ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย
4. ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ก่อนตาย
5. ค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย
6. ค่าขาดแรงงาน
ค่าสินไหมทดแทนกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัย (กรณีไม่ถึงแก่ความตาย ป.พ.พ. มาตรา 444 - 446) ได้แก่
1. ค่าใช้จ่ายอันตนต้องเสียไป
2. ค่าเสียความสามารถประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและในอนาคต (มาตรา 444 วรรคแรก)
3. ค่าขาดแรงงาน (มาตรา 445)
4. ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน (มาตรา 446)
------การต่อสู้คดีของทนายในคดีขับรถชนคน ต้องยึดข้อเท็จจริงที่เป็นจริง และ พ.ร.บ.จราจร พ.ศ.2522
เสริม
ในคดีนี้ มีการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส หรือมีผู้เสียชีวิต ผู้กระทำก็จะมีความผิดทางอาญาซึ่งมีโทษถึงจำคุก และจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายในทางแพ่งด้วยกล่าวคือ เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ลักษณะสังเขปของการดำเนินคดี เริ่มด้วยเจ้าพนักงานตำรวจรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและจัดให้คู่กรณีตกลงเรื่องค่าเสียหายกัน ซึ่งหากตกลงกันได้หรือไม่ได้อย่างไร เจ้าพนักงานตำรวจก็ต้องส่งสำนวนให้พนักงานอัยการฟ้องนายเร่งต่อศาลในข้อหา ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัสมีโทษจำคุกถึง 3 ปี และกรณีถึงแก่ความตายตาม ปอ.มาตรา 291 จำคุกถึง 10 ปี เมื่อคดีถึงชั้นฟ้องศาลนายเร่งจะตกเป็นจำเลย หากผู้เสียหายยังไม่ได้รับค่าชดใช้ความเสียหายใดๆจากคู่กรณีหรือจำเลยดังกล่าว คดีประเภทนี้ก่อนสืบพยาน ศาลจะจัดให้ผู้เสียหายตกลงเรื่องการใช้ค่าเสียหายกัน หากตกลงกันได้ตามที่พอใจทั้งสองฝ่าย ถือว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายใดๆอีกต่อไป พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นการบรรเทาผลร้ายแก่ผู้เสียหาย มีเหตุบรรเทาโทษ ตามปอ. ม.78 ซึ่งศาลจะพิจารณาลดโทษให้จำเลยได้ถึงกึ่งหนึ่งของความผิดนั้น และหากลดโทษแล้วศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี...หากปรากฏว่าจำเลยไม่เคยกระทำความผิดซึ่งมีคดีโทษจำคุกมาก่อน และพฤติการณ์แห่งคดีไม่เป็นเรื่องร้ายแรง ศาลก็อาจจะพิจารณารอการลงโทษหรือรอลงอาญาให้จำเลยได้ตาม ปอ.ม.56 คดีก็จะจบแบบแฮบปี้ๆ กระบวนการต่อไปผู้เสียหายอาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือจะยื่นคำร้องขอเรียกค่าเสียหายตาม ปวิอ.มาตรา 44/1 ในฐานะผู้เสียหายเพียงอย่างเดียวก็ได้ ซึ่งมีคำถามว่าผู้เสียหายคือใครบ้างที่มีสิทธิ์ จากเรื่องสมมุติข้างต้น ผู้ที่ได้รับความเสียหาย คือ นาง ก และบุตร ทั้งสอง ของ นาย ข ซึ่งแยกเป็นส่วนๆดังต่อไปนี้ 1.ค่าปลงศพ นาง ก 1.หากนาง ก เป็นผู้จัดการงานศพของ นาย ข นาง ก มีสิทธิ์เรียกค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่นอันเกี่ยวกับการจัดการงานศพ ตามที่จ่ายจริง ตาม ปพพ.ม.443 วรรค 1 ได้ กรณีเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ แต่หากมิได้เสียชีวิตทันที ต้องเข้ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 100,000 บาท นาง ก ก็มีสิทธิ์เรียกค่ารักษาพยาบาลได้ 100,000 บาท 2.ค่าขาดไร้อุปการะ หากก่อนเกิดเหตุนาง ก ไม่ได้ทำงานประกอบอาชีพแต่นาย ข ได้ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูในฐานะภริยา นาง ก เดือนละ 15,000 บาท และอาจได้รับ จาก นาย ข เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี นาง ก เรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้ถึง 3,600,000 (สามล้านหก) ค่าเสียหายต่อทรัพย์สินจากการทำละเมิด ได้แก่ ค่าซ่อมรถเก๋งนาง ก หากซ่อมรถไปจำนวน 100,000 บาท หรือประเมินราคาค่าซ่อมตามจริงเป็นเงิน100,000บาท ก็เรียกได้เต็มจำนวนที่ใช้จ่ายไปจริงหรือเท่าราคาค่าซ่อมที่ประเมิน ได้ดังกล่าว ตาม ปพพ ม.438 ว.2 ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ (ไม่ได้ใช้รถหลายวันเพราะซ่อมยังไม่เสร็จ)ส่วนนี้ศาลจะใช้ดุลพินิจให้ตามความเหมาะสมเป็นเฉพาะกรณีไปเช่น อาจคิดให้วันละ 200-500 บาท เป็นต้น ตาม ปพพ. ม438 ว.1 และ ว.2 ค่ารักษาพยาบาลตัวนาง ก เอง เนื่องจากได้รับบาดเจ็บสาหัส ค่าเสียหายของบุตรนาย ข ผู้ตาย ค่าขาดไร้อุปการะของบุตรคนแรก ซึ่งก่อนเกิดเหตุ ได้ศึกษาอยู่ ชั้น ป.6 นายขอส่งเสียอุปการะและค่าศึกษา เดือนละ ไม่น้อยกว่า 4,000 บาท ส่วนนี้คิดเพียงเมื่อบุตรอายุ 20 ปีจึงเป็นเงินประมาณ สามแสนบาทเศษ ค่าขาดไร้อุปการะ บุตรคนที่สอง ปัจจุบันอยู่ชั้น ม.3 อายุ 15 ปีนาย ข บิดาได้อุปการะเลี้ยงดูส่งเสียเดือนละ 5,000 บาท เมื่อครบ อายุ 20 ปี คิดเป็นค่าเสียหาย 300,000 บาท
นี่เป็นเพียงหลักการเรียกค่าเสียหายในเบื้องต้นซึ่งในทางปฏิบัติมีรายละเอียดและขั้นตอนการพิสูจน์และเทคนิคยุ่งยากอยู่พอสมควร ผู้เสียหายจึงควรมีทนายความเข้าดำเนินการจัดการให้มิเช่นนั้นอาจเสียรู้ให้กับคู่ความฝ่ายตรงข้าม ซึ่งอาจจะไม่ได้อะไรเลยก็ได้
โฆษณา