18 ก.ค. 2020 เวลา 02:25 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สวัสดีครับ ในที่สุดก็ได้เริ่มต้นเพจกันอีกครั้งใน Blockdit
ย้อนกลับไปช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทางการจีนเปิดเผยอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ซึ่งกลับมาขยายตัว หลังหดตัวไปเมื่อไตรมาสแรกของปี
ซึ่งในรายละเอียดระบุว่าการขยายตัวส่วนหนึ่งมาจากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ นับตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19
แต่หากติดตามข่าวมาโดยตลอดจะพบว่าธนาคารกลางจีนจัดหนักมาตรการกระตุ้น
เศรษฐกิจมาตั้งแต่มีความตึงเครียดทางการค้ากับสหรัฐฯ จนกดดันการขยายตัวของ
เศรษฐกิจ แต่เครื่องมือมีความหลากหลายมาก เลยได้นำบทความที่เคยนำเสนอไป
กลับมาเรียบเรียงและอัพเดตข้อมูล มาเริ่มกันเลยครับ
ส่องนโยบายการเงินอันหลากหลายของจีน มีอะไรบ้าง แล้วคืออะไร?
ก่อนหน้าที่จะเกิด COVID-19 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ใช้เครื่องมือการเงินหลัก
อยู่ 2 อย่าง นั่นคือ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย และ QE แต่หลังจากนั้น Fed ใช้เครื่องมือ
กระตุ้นเพิ่มอีกเช่นเข้าซื้อหุ้นกู้เอกชน (Corporate bond)
ด้านธนาคารกลางจีน (PBOC) มีเครื่องมือการเงินหลายเครื่องมือเพื่อควบคุม
อัตราดอกเบี้ยและปริมาณเงินในระบบ
นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนอาจเพิ่มเครื่องมือการเงินหรือนำเครื่องมือเก่าออกก็ได้
เพื่อปรับปรุงระบบการเงินของประเทศตัวเองให้เหมือนกับประเทศพัฒนาแล้ว
ธนาคารกลางจีน คือ?
The People’s Bank of China
ธนาคารกลางจีนหรือที่เรียกกันว่า ธนาคารประชาชนจีน (PBOC) เช่นเดียวกับ
ธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้วที่มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพการเงินและหนุนการเติบโตผ่านการบริหารนโยบายการเงิน
นโยบายการเงินบริหารปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ยของเศรษฐกิจซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจ เช่น ธนาคารกลางต้องการหนุนการเติบโตก็ใช้การลด
อัตราดอกเบี้ยเพื่อลดต้นทุนการเงิน ผลักดันให้ภาคธุรกิจและประชาชนกู้ไปลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอย
ประเทศจีนบริหารนโยบายการเงินอย่างไร?
เวปไซต์ธนาคารกลางจีนระบุเครื่องมือทั้ง 7 ซึ่งถูกใช้เพื่อปรับปรุงนโยบายการเงิน
Open market operations, OMO
การทำ open market operation เกี่ยวข้องกับ 2 แบบ คือ repurchase (ขาย) หรือ reverse repurchase (ซื้อคืน)
repurchase ธนาคารกลางจีนจะเอาสภาพคล่องออกจากระบบ โดยธนาคารกลาง
ขายพันธบัตรระยะสั้นให้ธนาคารพาณิชย์บางแห่ง
ส่วน reverse repurchase เป็นการทำสวนทางกับ repurchase ด้วยการซื้อคืนพันธบัตรระยะสั้น เรียกได้ว่าเอาเงินคืนให้คนซื้อหรือช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบ ด้วยช่องทางดังกล่าว ธนาคารกลางจีนสามารถควบคุมปริมาณเงินในระบบและ
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น โดยส่วนใหญ่พันธบัตรเหล่านี้มีอายุราว 7 - 28 วัน
China 7-Day Reverse Repo Rate
Reserve requirement ratio, RRR
เกี่ยวข้องกับปริมาณเงินที่ธนาคารมีสำรองอยู่เทียบกับเงินฝากทั้งหมด
การปรับลดสัดส่วนดังกล่าวเปรียบเสมือนการเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบ
โดยธนาคารสามารถนำเงินที่ไม่ต้องเก็บสำรองมาปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจ
และส่วนบุคคล อีกทั้งยังลดต้นทุนการกู้ยืมอีกด้วย ในขณะเดียวกันการเพิ่มสัดส่วน
ใช้เพื่อลดสภาพคล่องในระบบ
ปัจจุบัน RRR Ratio ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ปรับลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 12.50%
China Cash Reserve Ratio Big Banks
Benchmark interest rates หรือ one-year loan prime rate (LPR)
ธนาคารกลางจีนควบคุมอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมีผลต่อต้นทุนการกู้ยืมของธนาคาร ธุรกิจและส่วนบุคคล หลังปรับลดครั้งสุดท้ายเมื่อตุลาคม ปี 2015
มาที่ระดับ 4.35% ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วเมื่อเดือน
สิงหาคม ปี 2019 จนถึงปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3.85%
China Loan Prime Rate
- Rediscounting
ธนาคารกลางจีนเสนอทางเลือกให้กับธนาคารพาณิชย์ด้วยวิธี rediscount
หนี้ที่ธนาคารพาณชิย์ปล่อยกู้ให้ลูกค้า เครื่องมือทางนโยบายทางการเงินนี้เปิดให้
ธนาคารกลางซื้อหนี้ดังกล่าวจากธนาคารพาณิชย์แลกกับสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นซึ่ง
คอนเซปค่อนข้างซับซ้อน
และนี่คือตัวอย่าง
ผู้กู้ยืม กู้เงินจำนวน 10,000 บาท จากธนาคาร ซึ่งตกลงกันในสัญญาว่าจะจ่ายคืนหนี้ในจำนวน 12,500 บาท แต่สัญญานี้ถูกธนาคารอื่นซื้อต่อไปด้วยราคา 10,000 บาท
จากนั้นธนาคารดังกล่าวขายหนี้ต่อให้กับธนาคารกลางจีนด้วยราคา 11,000 บาท ซึ่งเป็นการลดราคาอีกรอบ (rediscount) จากสัญญาที่เขียนไว้ว่าจะจ่าย 12,500 บาท
ธนาคารกลางจีนคิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับเงินทุนดังกล่าวที่ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืม
ไปซึ่งต้องต่ำกว่าสถาบันการเงินอื่นและส่งผลขับเคลื่อนแนวโน้มต้นทุนการกู้ยืมในระบบธนาคาร
- Standing lending facility, SLF
เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ธนาคารกลางจีนปล่อยกู้ยืมเงินให้กับธนาคารพาณิชย์ เริ่มต้นใช้เมื่อปี 2013 แต่ละสัญญามีอายุประมาณ 1-3 เดือน ซึ่งนานกว่าวิธีแบบ open market operation ซึ่งธนาคารพาณิชย์จะต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกันที่มีเครดิตดี
ฉะนั้นหมายความว่าเงินทุนนี้มักตกเป็นของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่
- Medium-term lending facility, MLF
ธนาคารพาณิชย์ในจีนจะหาเงินทุนที่ระยะเวลาที่ยาวขึ้น ประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปี จากธนาคารกลางจีนด้วย medium-term lending facility ซึ่งเป็นอีกวิธีที่เกิดขึ้นในปี 2014 ธนาคารกลางจีนเพิ่มสภาพคล่องเข้าระบบธนาคารและส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่มีระยะเวลายาวขึ้น
เช่นเดียวกับ SLF คือ ธนาคารต้องวางหลักประกัน อย่างไรก็ตามต่างจาก SLF นั่นคือหลักทรัพย์ค้ำประกันมีความหลากหลายมากขึ้นภายใต้กลาง ซึ่งรวมไปถึงพันธบัตร
รัฐบาล ตราสารหนี้รัฐบาลท้องถิ่น และหุ้นกู้ดอกเบี้ยสูงของบริษัทเอกชน
- Pledged supplementary lending, PSL
วิธีนี้เป็นแนวทางการกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวและปริมาณเงิน เงินทุนจะถูกส่งผ่านธนาคารที่ถูกเลือกเพื่อบรรลุเป้าหมายเฉพาะ เช่น เกษตรกรรม, ธุรกิจขนาดเล็ก และการพัฒนากลางเมือง โดยผ่าน 3 ธนาคาร ที่ปล่อยกู้เชิงนโยบาย ดังนี้
China Development Bank, Agricultural Development Bank of China and the Export-Import Bank of China
- The fi­nan­cial in­clu­sion mi­cro-and-small en­ter­prise loan ex­ten­sion sup­port tool, The fi­nan­cial in­clu­sion mi­cro-and-small en­ter­prise credit loan sup­port plan
ภายใต้ sup­port plan ธนาคารกลางจีน (PBOC) ออกเครื่องมือนโยบายการเงินใหม่ ภายใต้เครื่องมือนี้ PBOC จะเข้าซื้อ 40% ของสินเชื่อรวมที่ให้กับธุรกิจขนาดเล็ก
ที่ออกโดยธนาคารท้องถิ่น ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 ธันวาคม
ส่วนอีกเครื่องมือ (loan ex­ten­sion sup­port tool) เปิดทางให้ธุรกิจขนาดเล็กยื่น
ผ่อนผันการชำระคืนสินเชื่อที่จะครบกำหนดปลายปี 2020 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2021
โดยได้รับยกเว้นค่าปรับ
โฆษณา