19 ก.ค. 2020 เวลา 03:58 • ประวัติศาสตร์
จุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์อินเดีย
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าประวัติศาสตร์ของอินเดียเริ่มต้นจาก อารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ(2600-1900ปีก่อน ค.ศ.)มีหมู่บ้านและ เมืองโบราณมากกว่า50แห่ง มีเมืองเมืองใหญ่ที่สำคัญที่ได้รับการสำรวจแล้ว 2 แห่ง คือ เมืองฮารับปา และโมเฮนโจ–ดาโร(ปัจจุบันทั้ง2เมืองอยู่ในประเทศปากีสถาน) ทั้งสองเมืองมีอารยธรรมที่เหมือนกันทุกประการ แม้ห่างกันมากกว่า600กิโลเมตร จัดเป็นสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ อินเดีย เพราะพบจารึกจำนวนมาก แต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก
ซากเมืองโมเฮนโจ-ดาโรในปัจจุบัน จาก sites.google.com
ความรุ่งเรื่องของอารยธรรมแห่งนี้
หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าบริเวณลุ่มน้ำสินธุมีสิ่งหนึ่งที่เด่นชัดเลยคือ ตัวเมืองที่มีการวางผังเมืองอย่างเป็นระเบียบ แยกพื้นที่ใช้กันงานออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น เขตที่อยู่อาศัย ศาสนสถาน ยุ้งฉาง มีการตัดถนนเป็นมุมฉากและแบ่งเมืองออกเป็นตาราง แสดงความรู้ด้านเรขาคณิตขั้นสูง และสิ่งที่โดดเด่นกว่าอารยธรรมอื่นๆ คือ พบว่าทุกบ้านจะมีห้องน้ำและท่อระบายน้ำเสียไปสู่ท่อระบายน้ำสร้างด้วยอิฐที่ฝังอยู่ใต้ถนน แสดงให้เห็นถึงการจัดระบบสุขาภิบาลที่ดี
จากรูปแบบการก่อสร้างที้งหมดนั้นแสดงให้เห็นว่ามีการปกครองแบบรวมอำนาจ ซึ่งผู้ปกครองอาจเป็นนักบวชหรือกษัตริย์ที่เป็นผู้นำศาสนาด้วย
ชนเผ่าสำคัญที่สร้างสรรค์อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุ แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ
1) พวกดราวิเดียน คือชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มน้ำสินธุราว 4,000 ปีมาแล้ว พวกนี้มีรูปร่างเตี้ย ผิวคล้ำและจมูกแบน คล้ายกับคนทางตอนใต้ในอินเดียบางพวกปัจจุบัน
2) พวกอารยัน เป็นพวกที่อพยพเคลื่อนย้ายจากดินแดนเอเชียกลาง ลงมายังตอนใต้กระจายไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่างๆซึ่งอุดมสมบูรณ์และมีสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่นกว่า พวกอารยันส่วนหนึ่งได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำสินธุและ ได้ทำการขับไล่พวกดราวิเดียนให้ถอยร่นไปหรือจับตัวเป็นทาสใช้งาน พวกอารยันมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว จมูกโด่ง คล้ายกับชาวอินเดียที่อยู่ทางตอนเหนือ พวกอารยันเหล่านี้รับวัฒนธรรมชนพื้นเมือง แล้วนำมาผสมผสานเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
กฏหมายและการเมือง
บ้านเมืองในลุ่มน้ำสินธุมีร่องรอยของการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทั้งนี้เห็นได้จากรูปแบบการสร้างเมืองฮารัปปาและเมืองโมเฮนโจ – ดาโร ที่มีการวางผังเมืองในลักษณะเดียวกัน มีการตัดถนนเป็นระเบียบ การสร้างบ้านใช้อิฐขนาดเดียวกัน ตัวเมืองมักสร้างอยู่ในป้อมซึ่งต้องมีผู้นำที่มีอำนาจแบบรวมศูนย์ ผู้นำมีสถานภาพเป็นทั้งกษัตริย์และเป็นนักบวชจึงมีอำนาจทั้งทางโลกและทางธรรม
ต่อมาเมื่อพวกอารยันเข้ามาปกครองดินแดนลุ่มน้ำสินธุแทนพวกดราวิเดียน จึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบกระจายอำนาจ โดยแต่ละเผ่ามีหัวหน้าที่เรียกว่า “ราชา” ปกครองกันเอง มีหน่วยการปกครองลดหลั่นลงไปตามลำดับ จากครอบครัวที่มีบิดาเป็นหัวหน้าครอบครัว หลายครอบครัวรวมเป็นระดับหมู่บ้าน และหลายหมู่บ้านมีราชาเป็นหัวหน้า ต่อมาแต่ละเผ่ามีการพุ่งรบกันเอง ทำให้ราชาได้ขึ้นมามีอำนาจสูงสุดในการปกครองด้วยวิธีต่างๆ เช่น พิธีราชาภิเษก ความเชื่อในเรื่องอวตารพิธีอัศวเมธ เป็นพิธีขยายอำนาจโดยส่งม้าวิ่งไปยังดินแดนต่างๆ จากนั้นจึงส่งกองทัพติดตามไปรบเพื่อยึดครองดินแดนที่ม้าวิ่งผ่านไป การตั้งชื่อเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่ คำสอนในคัมภีร์ศาสนาและตำราสนับสนุนความยิ่งใหญ่ของราชา และต่อมาก็มีคติความเชื่อว่า ราชาทรงเป็นสมมติเทพ คือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเทพอวตารลงมาเพื่อปกครองมวลมนุษย์
ภาพจาก sites.google.com
อาชีพในสมัยนั้น
ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรปลูกข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวเจ้า และฝ้าย นอกจากนั้นก็มีผู้ประกอบอาชีพทางด้านการผลิตสินค้าและการค้าขาย ช่างฝีมือผลิตเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับจากโลหะ เช่น ทองแดง เงิน ทอง และโลหะผสม เช่น สำริด และใช้เปลือกหอยและงาช้างมาเป็นวัสดุประกอบเครื่องประดับด้วย นอกจากนั้นก็มี การผลิตเครื่องปั้นดินเผาและผ้าฝ้ายสำหรับขาย โดยนักโบราณคดีได้พบตราปิดหีบห่อสินค้าจากฮารัปปาในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งบ่งชี้ว่าชาวฮารัปปาได้ผลิตสินค้าเพื่อการค้าและมี การค้ากับต่างแดน แต่เนื่องจากนักโบราณคดี ไม่พบบันทึกหรือหลักฐานที่เป็นตัวอักษรในซากโบราณคดี ของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ จึงทำให้เราไม่มีความรู้มากนักเกี่ยวกับอารยธรรมโบราณแห่งนี้
ยุคเสื่อมถอยของอารยธรรม
อารยธรรมลุ่มน้ำสินธุเจริญรุ่งเรืองอยู่ราวหนึ่งพันปีก็เสื่อมลง ประมาณ1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนักประวัติศาสตร์คาดเดาว่าชาวลุ่มแม่น้ำสินธุอาจพบกับภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เนื่องจากพบร่องรอยน้ำท่วม ส่วนที่เมืองโมเฮนโจดา-โร ก็พบว่าประชากรของเมืองนี้อาจจบชีวิตลงด้วยความรุนแรง ซึ่งหมายความว่าอาจถูกผู้รุกรานเข่นฆ่าและทำลายเมือง
หลังจากสิ้นสุดของอารยธรรมสินธุก็ได้เกิด ช่วงยุคใหม่นั่นก็คือยุคพระเวท(หรือvedic civilization)
โฆษณา