19 ก.ค. 2020 เวลา 05:23 • หนังสือ
ถ้าให้ทาย ระหว่างคนที่อ่านหนังสือ 3 เล่มต่อเดือนกับคนที่อ่านได้ 1 เล่มต่อเดือน คุณคิดว่าคนไหนจะสามารถพัฒนาได้เร็วกว่ากัน??
5
แน่นอนหลายคนก็คงต้องตอบว่า 3 เล่มต่อเดือนสิ เพราะว่าเขาอ่านหนังสือได้เยอะกว่าแต่ถ้าผมให้ข้อมูลอีก 1 ข้อมูล คือ ระหว่างคนที่อ่านหนังสือได้ 3 เล่มต่อเดือนแต่ Output 0 เล่ม กับคนที่อ่านหนังสือได้ 1 เล่มต่อเดือนแต่ Output ได้ 1 เล่ม คุณคิดว่าใครจะพัฒนาได้มากกว่ากัน
1
คำตอบก็คือ คนที่อ่านหนังสือได้ 1 เล่ม และ Output 1 เล่ม หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมล่ะ??? เราไปไขคำตอบกับหนังสือเล่มนี้กันครับ The Power of out put หรือแปลเป็นไทยว่า ศิลปะของการปล่อยของ
2
ในหนังสือเล่มนี้จะเน้นเล่าเกี่ยวกับเรื่องของ Output
หลายคนอาจจะสงสัยว่า Output คืออะไร? ทำไมคนเราถึงต้องทำ Output ด้วย งั้นผมขอบอกงี้ก่อนว่า การที่คนเราจะพัฒนาตัวเองได้มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับ Output ของเรา
1
ต่อให้เราใส่ Input เข้ามามากแค่ไหนก็ตาม แต่ไม่มี Output ออกมาเลย เราไม่มีวันพัฒนาครับ และจริงๆแล้ว "Input" กับ "Output" มันคืออะไรกันแน่ ?
เริ่มที่ Input ก่อนนะครับ Input คือ การใส่ข้อมูลลงไปในสมองหรือเรียกอีกแบบหนึ่งว่า การป้อนข้อมูล นั่นเอง Input ที่เราทำเป็นประจำทุกวันยกตัวอย่างง่ายๆก็คือ การอ่าน,การฟัง ส่วน Output คือ การจัดการกับข้อมูลที่ใส่เข้าไปในสมองแล้ว แสดงผล ออกสู่โลกภายนอก พูดง่ายๆก็คือ การพูด การเขียน การปฏิบัติ นั่นเองครับ
1
ถ้ายกตัวอย่างให้สอดคล้องกันระหว่าง Input กับ Output ก็คือ การอ่านหนังสือเป็น input ส่วนการ เล่าความรู้ให้เพื่อนฟัง,เขียนสรุปออกมาเป็นบทความหรือแม้แต่นำเนื้อหาในหนังสือมาปฏิบัติตามนั่นคือ Output เป็นต้นครับ
ในบทความนี้ผมจะไม่พูดถึง Input มากนัก เพราะยุคในปัจจุบันนี้ย่อมมีการทำ Input แถบจะทุกนาทีหรือวินาทีเลยด้วยซ้ำ
Inputยังไงอะหรอ?? ด้วยการเสพข่าว,เสพโซเชียลหรือ ข้อมูลข่าวสารต่างๆอยู่เกือบทุกวัน แต่ผมจะมาเน้นเรื่อง Output ซะมากกว่า...
ในหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงการทำ Output อยู่ 3 ข้อ คือ
1.การพูด 2.การเขียน 3.การทำ
เราไปหัวข้อแรกกันเลยครับ คือ การพูด
จากการทำ Output จากการพูด เป็นการทำ Output ที่ง่ายที่สุดของ 3 หัวข้อที่กล่าวมา ดังนั้นหากทุกคนอยากจะเริ่มลองทำ Output ผมแนะนำให้เริ่มจากการพูดก่อน แต่ก็อาจจะมีบางคนที่ไม่ค่อยถนัดการพูดซักเท่าไหร่ แต่จะถนัดอย่างอื่นมากว่าผมก็แนะนำให้เริ่มทำ Output จากที่ตัวเองชอบและถนัดก่อนครับ จะทำให้ Output ของเรามีประสิทธิภาพมากที่สุดครับ
1
1.วิธีพูดสื่อสารโดยใช้หลักวิทยาศาตร์
2
จาก"กฏพื้นฐานของ Output" บอกกว่า ข้อมูลที่ถูกนำมาใช้ 3 ครั้งภายใน 2 สัปดาห์จะกลายเป็นความจำระยะยาว กล่าวง่ายๆคือ ถ้าข้อมูลในสมอง เช่น ความคิด หรือ ความรู้สึก ถ้าถูกแปลงเป็นคำพูดและถูกพูดออกมา ก็จะทำให้สมองทำงาน ความจำเพิ่มขึ้นและจำได้นานขึ้นนั่นเอง หลายคนอาจจะยังคิดไม่ออกว่า แล้ว Output จากการพูดเนี่ย จะเริ่มยังไงดี .. เราจะเริ่มจากอะไรก็ได้ครับจากสิ่งรอบตัวของเราที่เราทำอยู่เกือบทุกวัน เช่น เริ่มจาก การอ่าน (รีวิวหนังสือที่เราอ่าน,ความรู้สึก) ดูภาพยนต์ (ทีวี,หนัง,youtube) หรือ แม้เเต่รสชาติอาหาร เป็นต้น
แล้วนำสิ่งที่เราได้ทำมาเล่าหรือรีวิวให้คนอื่นฟัง แค่นี้ก็เป็นการเริ่มทำ Output ที่ดีง่ายที่สุดในการเริ่มต้นแล้วครับ >> การพูดคุยถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อวานก็ถือเป็น Output ที่ดีอย่างหนึ่ง
เมื่อเราพูดถึงการพูดหรือการสื่อสารแล้ว ก็ต้องย่อมมีเทคนิคของการพูดและการสื่อสารด้วย เพื่อให้การสื่อสารของเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การสื่อสารจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.การสื่อสารด้วยคำพูด เป็นการสื่อความหมายและเนื้อหาผ่านทางคำพูด
2. การสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เป็นการสื่อของมูลที่รับรู้ผ่านการมองด้วยตา เช่น สีหน้า, ท่าทาง, การทำท่าทาง เป็นต้น
จากทฤษฏีของอัลเบิร์ต เมราเบียน และผลการวิจัยเกี่ยวกับ การรับรู้เวลาที่เราเผลอสื่อสารในสิ่งที่เป็นการต่อต้านออกไป โดยแบ่งออกเป็นการสื่อสารด้วยตา ฟังด้วยหู และ รับรู้ด้วยคำพูด พบว่า ผู้รับสารจะเชื่อในสิ่งที่เห็นด้วยตา 55% สิ่งที่ฟังด้วยหู 38% และสิ่งที่รับรู้ด้วยคำพูดเพียง 7% ดังนั้น การสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด เช่น การทำสีหน้า ท่าทาง และตัวสำคัญเลยคือ
การมองตาหรือ Eye Contact นั่นเอง Eye Contactมีความสำคัญกว่าคำพูดของเรามาก เพราะฉะนั้นในตอนที่เราพูดอย่ากังวลกับคำพูดของเรามากนักกลัวพูดผิดพูดไม่ดีนุ้นนี้นั่น แต่จงให้ความสำคัญกับ น้ำเสียง การมองตา ท่าทาง สีหน้า มารยาทหรือรูปร่างภายนอกมากกว่า เพราะคนเราส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เห็นด้วยตาหรือฟังด้วยหูมากกว่าข้อมูลที่เป็นคำพูด และสุดท้ายการสื่อสารด้วย Eye Contact จะช่วยให้คู่สนทนาสื่ออารมณ์อันละเอียดละอ่อนต่อกันได้ง่าย จึงทำให้การสื่อสารมีความลึกซึ้งมากขึ้นด้วย
>>การยิ้มแย้มและพูดจาฉะฉานเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าเนื้อหาที่พูดไม่รู้กี่เท่า แต่คนส่วนใหญ่มัวแต่คิดว่า "จะพูดอะไรดี" จนลืมคิดไปว่า "จะพูดอย่างไรด้วย"
2.อธิบายให้คนอื่นฟัง
การอธิบายให้คนอื่นฟัง ก็ถือเป็นวิธีการฝึกทำ Output ที่ดีและยังช่วยให้เราจำสิ่งนั้นได้ง่ายอีกด้วย การอธิบายจะทำให้ " ความจำอาศัยความหมาย" ถูกเปลี่ยนเป็น " ความจำอาศัยเหตุการณ์ "จึงช่วยให้เราจดจำสิ่งนั้นได้ง่ายขึ้น
ความจำอาศัยความหมาย เหมือนกับการจับคู่ของศัพท์ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น apple = แอปเปิ้ล เป็นการจำความหมายของมันเลยซึ่งมีความเชื่อมโยงกันน้อย จะทำให้จำได้ยาก
แต่ "ความจำอาศัยเหตุการณ์" คือการจำจากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในอดีตพูดง่ายๆ คือ การจำโดยเอาเรื่องราวมาช่วยนั่นเองซึ่งจะทำให้จำได้ง่ายและลืมยากกว่า
ดังนั้น การอธิบายไม่เพียงเเต่ช่วยให้อีกฝ่ายเข้าใจมากขึ้นและจดจำได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ตัวเราซึ่งเป็นคนอธิบายจำเรื่องราวนั้นได้ง่ายขึ้นด้วย
" การ อธิบาย เป็นการฝึกทำ Output ที่ยอดเยี่ยมและยังเป็นการฝึกสมองอีกด้วย"
เทคนิคการฝึกอธิบาย 6 ข้อนี้จะช่วยให้เราอธิบายได้เก่งขึ้น
1.พูดเสียงดังฟังชัด
2.พูดอย่างฉะฉานด้วยความมั่นใจ
3.เริ่มพูดจากประเด็นสำคัญก่อน
4.พูดให้สั้นและกระชับ
5.ยกตัวอย่างประกอบ (ข้อนี้สำคัญมาก)
6.ใช้ข้อมูลและตัวเลขอ้างอิง
การทำ Output จากการพูดมีอยู่อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การตั้งคำถาม การถกเถียง การปรึกษา การแนะนำตัว การขาย เป็นต้น พร้อมด้วยการเทคนิคต่างๆอีกด้วย ใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้ครับ
1
บทความหน้าจะเป็นการทำ Output จากการ เขียนและการ
กระทำนะครับ ขอขอบคุณทุกๆคนที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ
ถ้าใครไม่อยากพลาดอย่าลืมกดติมตามนะครับ ขอบคุณมากๆนะครับ🙏
ที่มา: หนังสือ The power of output :ศิลปะของการปล่อยของ
1
โฆษณา