2 พ.ย. 2020 เวลา 02:00 • ถ่ายภาพ
รีวิวสั้นๆ กล้องฟิล์ม Fujica ST605
สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาเล่าถึงกล้องฟิล์มทรง SLR สัญชาติญี่ปุ่นอีกแบรนนึง นั่นก็คือ Fujica ST605 Mount M42 ผลิตปี 1976-1978 เป็นกล้องที่ผมหามาใช้งานเองแทน Pracktica MTL3 ที่จากไปอย่างสงบ กล้องตัวนี้มีระบบวัดแสงในตัวแต่ก็หยุดทำงานไปแล้ว ส่วนอื่นๆยังใช้งานได้ปกติดี เรามาเข้าเรื่องกันครับ
การเขียนเล่าเรื่องนี้อิงจากประสบการณ์การได้ใช้งานของผมเอง หากผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
มาลองดูประวัติกันคร่าวๆ ชื่อ Fujica คือชื่อเดิม ภายหลังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น Fujifilm ที่ยังคงผลิตกล้องและเลนส์รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกมากมาย
เข้าใจกันง่ายๆคือ Fujica ทำกล้อง Fujinon ทำเลนส์ นั่นเอง
กล้องตระกูล ST ของ Fujica ออกมามากมายหลายรุ่น แต่ละรุ่นมีการใช้ตัวเลขเป็นรหัสรุ่น ซึ่งสลับไปมา การเรียงมากไปน้อยหรือน้อยไปมากไม่เกี่ยวใดๆทั้งสิ้น ลองดูที่ปีผลิตจะชัวร์สุดครับ กล้องฟิล์ม Fujica ตระกูล ST เม้าท์ M42 35mm SLR ผลิตในปี 1971 - 1980 โดยมีรุ่นย่อยดังนี้
1. Fujica ST701 ผลิตปี 1971 - 1975 มี 3 รุ่นย่อย
Fujica ST701 V1 ผลิตปี 1971 จุดสังเกตุ - Cold Shoe - โลโก้ Fujica เป็นสีเงินเงา - วงแหวนปรับค่าด้านบนกล้องเป็นสีเงิน - Self Timer เป็นก้านสีเงิน - ตัวช่วยโฟกัสเป็นแบบ Focus Screen Microprism
Fujica ST701 V2 ผลิตปี 1971 จุดสังเกตุ - โลโก้เปลี่ยนจากตัวเงาเป็นตัวดำ - Cold Shoe - วงแหวนปรับค่าด้านบนกล้องเป็นสีเงิน - Self Timer เป็นก้านสีเงิน - ตัวช่วยโฟกัสเป็นแบบ Focus Screen Microprism
Fujica ST701 V3 ผลิตปี 1971 - 1975 จุดสังเกตุ - Hot Shoe - Self Timer เป็นก้านสีดำ - ตัวช่วยโฟกัสเป็นแบบ Split Image - มีสองสีดำและสีเงิน - วงแหวนปรับค่าด้านบนกล้องเป็นสีดำและสีเงิน
2. Fujica ST801 ผลิตปี 1972 - 1978 มีสองรุ่นย่อย
V1 - โลโก้เงา - ตัวช่วยโฟกัสเป็นแบบ Split Image
V2 - โลโก้ไม่เงา - ตัวช่วยโฟกัสเป็นแบบ Split Image
หลังจากรุ่นนี้ไปไม่มีรุ่นย่อยผมจะเล่าผ่านๆนะครับ
3. Fujica ST901 ผลิตปี 1974 - 1978 มีสองสี
4.Fujica ST601 ผลิตปี 1976
5.Fujica ST605 ผลิตปี 1976-1978 *ตัวผมนำมาเล่า
6.Fujica ST705 ผลิตปี 1976-1978
7.Fujica ST605N ผลิตปี 1978-1980
8. Fujica ST705w ผลิตปี 1978-1980
9.Fujica ST605II ผลิตปี 1979-1980
กลับมาที่กล้องที่ผมจะนำมาเล่า Fujica ST605 ติดกับเลนส์ Fujinon 55mm F2.2 M42
ปุ่มต่างๆด้านขวามือ * แก้ไขปุ่มที่ผมบอกว่าใช้สำหรับเช็คชัดลึกนั้น เอาไว้ใช้วัดแสงด้วยครับ ขอบคุณน้า 940se ด้วยนะครับ *
ปุ่มต่างๆด้านบน
ปุ่มต่างๆด้านล่าง
ห้องฟิล์ม
ระบบวัดแสงเป็นแบบ Silicon Cell ว่ากันว่าตอบสนองเวลาเจอแสงได้เร็วกว่าระบบ CdS Meter โดยที่วิธีการวัดแสงในกล้องตัวนี้ ต้องกดปุ่มที่ผมบอกว่าไว้เช็คชัดลึกค้างไว้ ระบบวัดแสงจึงจะทำงาน แต่กล้องผมระบบวัดแสงเสียแล้ว ไม่มีขยับเลย
ในช่องมองภาพ
ระบบช่วยโฟกัสเป็นแบบ Split Image ซึ่งมองเห็นชัดมากไม่ว่าจะตามแสงย้อนแสง
มาลองดูภาพตัวอย่างกันครับ ผมใช้ฟิล์ม Kodak Gold 200
ถ่ายด้วยเลนส์ Meyer Optik Gorlitz Oreston 50mm 1.8 M42 Zebra
ถ่ายด้วยเลนส์ Schneider Kreuznach xenon 50 1.9 DKL
ถ่ายด้วยเลนส์ Schneider Kreuznach xenon 50 1.9 DKL
ข้อดี
- ระบบช่วยโฟกัส Split Image มองเห็นชัดเจนดีมาก ส่วนตัวค่อนข้างชอบ
- กล้องมีขนาดไม่ใหญ่เท่าไหร่ มันมาใหญ่ที่เลนส์แทน
- กล้องเป็น Mount M42 มีเลนส์ให้เลือกเยอะมากๆๆ
ข้อเสีย
- ช่องใส่ฟิล์มไม่มีร่องให้เสียบลึกมากนัก ตอนใส่ต้องระวังฟิล์มหลุดด้วย
- ตำแหน่งวางมือขวาออกแบบมาน้อยไปหน่อย ทำให้จับลำบากพอสมควร
- เวลาขึ้นฟิล์มต้องขึ้นให้สุดเลย ไม่งั้นจะมีอาการแปลกๆ
- Speed Shutter สูงสุดที่ 1/700 สำหรับคนที่อยากจะถ่ายกลางแจ้งเปิดรูรับแสงกว้าง กล้องตัวนี้อาจจะไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ แต่ตัวผมเองเป็นคนชอบหรี่ ส่วนมากจะ F2.8 - F8 ฉะนั้น Speed ที่ไม่สูงแบบนี้สำหรับผมไม่มีผลเท่าไหร่
- กล้องมีอาการ Back Front กับเลนส์ M42 บางตัว ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ว่าเป็นที่อะไร ไว้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนจะมาอัพเดทเพิ่มเติมครับ
สรุป กล้อง Fujica ST605 เป็นกล้องที่มีขนาดไม่ใหญ่ Mount M42 อีกด้วยหาเลนส์เล่นได้เยอะแยะมากมาย และตัวช่วยโฟกัส Split Image นั้นก็มองเห็นชัดเจนดีมาก และระบบวัดแสงก็ทำหน้าที่แค่วัดแสงเท่านั้น ฉะนั้นถึงระบบวัดแสงจะพัง ตราบใดที่ชัตเตอร์ยังทำงานปกติก็ยังสามารถใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา
หากใครกำลังสนใจ Fujica ST605 ตัวนี้อยู่ ลองเอาข้อมูลส่วนนี้ไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจได้ครับ ลากันไปเท่านี้ สวัสดีครับ
โฆษณา