22 ก.ค. 2020 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมสิงคโปร์ไม่มีอัตราดอกเบี้ยนโยบาย?
1
ในหลายประเทศการใช้นโยบายตึงตัวย่อมหมายถึงการเพิ่มต้นทุนการกู้ยืม แต่ไม่ใช่กับประเทศสิงคโปร์เมื่อการใช้นโยบายเชิงผ่อนคลาย ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเพิ่มขึ้น
เพราะสิงคโปร์ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ย ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเป็นนโยบายการเงินหลักของสิงคโปร์
ทำไมถึงเลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยน
เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศเศรษฐกิจเปิดขนาดเล็ก (ประชากรประมาณ 5.6 ล้านคน) ซึ่งหมายถึงเศรษฐกิจจะพึ่งพาการค้าอย่างมาก อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อมากกว่าที่ประเทศอื่นเป็น ดังนั้นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแทนอัตราดอกเบี้ย
จึงมีประสิทธิภาพต่อการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้ามากกว่า
ซึ่งนี่ก็เป็นเป้าหมายหลักของธนาคารกลางสิงคโปร์
2
อัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างง่ายต่อการควบคุมผ่านตลาดโดยตรงผ่านการแทรกแซง (ธนาคารกลางซื้อและขายเงินสกุลสิงคโปร์ดอลลาร์) และมีเสถียรภาพ
พร้อมความสัมพันธ์ที่คาดการณ์ได้กับเสถียรภาพของราคา
2
แล้วธนาคารกลางสิงคโปร์ทำอย่างไร?
ค่าเงินสิงคโปร์ดอลลาร์ถูกบริหารอัตราแลกเปลี่ยนผ่านตะกร้าค่าเงินประเทศคู่ค้าที่
สำคัญซึ่งไม่ได้เปิดเผย (Australia & New Zealand Banking Group Ltd.
ประมาณไว้ว่าสัดส่วนหลัก คือ ดอลลาร์สหรัฐฯ, ริงกิต, หยวน, ยูโร และเยน)
แต่ก็ไม่ได้กำหนดตัวเลขอย่างชัดเจนเพื่อใช้เป็นเป้าหมาย
2
อัตราแลกเปลี่ยนในแบบ trade-weighted เปิดให้เคลื่อนไหวในช่วงที่กำหนด ส่งผลให้ธนาคารกลางสิงคโปร์มี 3 ตัวแปร ที่เอาไว้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน : อัตราการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน รู้จักกันในชื่อความชัน (slope), กรอบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดตามนโยบาย, ระดับค่ากลางในกรอบที่กำหนด
ใช้วิธีไหนในการปรับ?
ความชันปรับด้วยสามองค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบไปด้วย
เปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนหรือเปลี่ยนความชันของกรอบอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อปรับให้อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่า ก็เหมือนกับใช้นโยบายตึงตัวเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเมื่อ
ค่าเงินแข็งค่า ราคาสินค้านำเข้าก็ลดลงช่วยลดอัตราเงินเฟ้อ ในอีกด้านหนึ่งการแข็งค่าก็ลดความต้องการส่งออกจึงไปลดการนำเข้า ราคาสินค้านำเข้าจึงลดลงไปอีก
แล้วจึงทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงไปด้วย นอกจากนี้อัตราแลกเปลี่ยนยังเป็นปัจจัยที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย ซึ่งจะมีอธิบายในหัวข้อต่อจากนี้
กรอบการเคลื่อนไหวที่กำหนดตามนโยบายเป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนน้อยที่สุด ซึ่งไม่ได้เปิดเผย ทาง Bloomberg ประมาณความกว้างดังกล่าวไว้ที่ 4% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ฮ่องกงซึ่งมีความกว้างที่ 1.3% และมักมีการปรับความกว้างเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความผันผวนหรือการปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับระดับค่ากลางมีการปรับเปลี่ยนในรูปแบบค่าเงิน คือ ค่ากลางที่ถูกปรับขึ้นหมายถึงการใช้นโยบายการเงินตึงตัวขึ้น หรือในอีกแง่ ก็คือ ค่าเงินแข็งขึ้น
วิธีการปรับอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางสิงคโปร์ (1)
วิธีการปรับอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางสิงคโปร์ (2)
การอ่อนค่าเป็นทางเลือกหรือไม่?
การปรับลดค่ากลางของกรอบอัตราแลกเปลี่ยนของช่วงที่กำหนดตามนโยบาย
เปรียบเสมือนการอ่อนค่าของอัตราแลกเปลี่ยนของฝั่งสิงคโปร์ดอลลาร์
อย่างเมื่อครั้งที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ทำหลังเกิดวิกฤตปี 2008 เพื่อรับมือภาวะ
ถดถอย อย่างไรก็ตาม ปรัชญาหลักของธนาคารกลาง คือ การรักษาอำนาจการซื้อ
และมูลค่าของเงินออม ถ้าหากอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริงแข็งค่าเกินไป รัฐบาลเลือกที่จะลดค่าจ้างมากกว่าภาวะเงินเฟ้อที่เกิดจากการทำค่าเงินให้อ่อนลง
1
ทำไมอัตราดอกเบี้ยถึงลดลงทั้งที่ใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว
ถ้าใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัว อัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินจะแข็งค่า อัตราเงินเฟ้อจะลดลงเช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ย เพราะนักลงทุนมีความต้องการผลตอบแทนในการถือครองเงินสกุลดอลลาร์สิงคโปร์เทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือสกุลเงินอื่นน้อยลง หรือมองอีกมุมจะเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยถูกกำหนดจากอัตราดอกเบี้ยจากภายนอกประเทศหรือความคาดหวังของนักลงทุนต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์ ภายใต้ทฤษฎีที่รู้จักกันในชื่อ Interest-rate parity
สำหรับเรื่องนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
1
เช่น อัตราดอกเบี้ยการทำ swap อายุ 1 ปี ของสิงคโปร์ (เป็นต้นทุนทางการเงินของกู้ยืมเงินสิงคโปร์สำหรับสถาบันการเงินต่างชาติ) ต่ำกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 0.85% เปรียบเสมือนอัตราดอกเบี้ยของสิงคโปร์ต่ำกว่าสหรัฐฯ อยู่ 0.85% ดังนั้นตาม
หลักการแล้ว คาดการณ์ได้ว่าค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทืยบกับดอลลาร์สหรัฐฯ 0.85% ในหนึ่งปีจากนี้ เพื่อชดเชยผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยที่
ต่ำกว่า (ชดเชยความมั่งคั่งที่ลดลงผ่านกำลังซื้อที่สูงขึ้น)
1
นโยบายการเงินแบบนี้มีข้อเสียหรือไม่?
นโยบายนี้ทำให้สูญเสียการควบคุมอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยของประเทศสิงคโปร์มีแนวโน้มเดียวกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ (เป็นไปตามทฤษฎี The Impossible Trinity ซึ่งมีอธิบายด้านล่าง) เมื่อใดที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ผ่อนคลายนโยบายค่าเงิน
เพื่อกระตุ้นอัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยหรือต้นทุนทางการเงินจะปรับตัวขึ้น
ความเสี่ยงจากการบริโภคก็ลดลง
1
ธนาคารกลางสิงคโปร์มองว่าอัตราดอกเบี้ยมีประสิทธิภาพต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจน้อยกว่าอัตราแลกเปลี่ยน แต่นโยบายทางการเงินด้านอัตราเงินเฟ้ออาจส่งผลน้อยกว่าเมื่อใช้กับปัจจัยในประเทศ เช่น ราคาอสังหาฯ เพื่อตอบโจทย์นี้ สิงคโปร์หันมาใช้มาตรการการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจและรักษาความมั่นคงของระบบการเงินของประเทศ ซึ่งรวมไปถึงการควบคุมสินเชื่ออสังหาฯ และภาษีซื้อขายอสังหาฯ ที่สูงขึ้น
เพื่อชะลอความร้อนแรงของตลาดอสังหาฯ
2
ธนาคารกลางสิงคโปร์ประชุมกันบ่อยแค่ไหน?
ปกติแล้วจะประกาศการตัดสินด้านนโยบาย 2 ครั้งต่อปี ประมาณช่วงกลางเดือนเมษายนและตุลาคม แต่ก็เคยมีการประกาศนอกตาราง ตัวอย่างการปรับนโยบายการเงินที่เพิ่งผ่านมา ก็เมื่อเดือนตุลาคม 2018 ธนาคารกลางสิงคโปร์ ปรับ slope ค่าเงินขึ้น เป็นครั้งที่ 2 ของปี มองอีกด้าน คือ การปรับค่าเงินให้แข็งเพื่อตอบโต้อัตราเงินเฟ้อ
2
กรอบอัตราแลกเปลี่ยนและค่าของกรอบอัตราแลกเปลี่ยน
การเลือกใช้นโยบายด้านค่าเงินของสิงคโปร์ เชื่อมโยงกับทฤษฎี
The Impossible Trinity ที่บอกว่าประเทศใดก็ตามไม่สามารถเลือกใช้ปัจจัยทาง
เศรษฐกิจที่สำคัญ 3 อย่างได้ทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย
1. อัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (fixed exchange rate)
2. กระแสเงินทุนไหลเข้าออกประเทศอย่างเสรี
3. นโยบายการเงินที่เป็นอิสระ
ในที่นี้จะเห็นได้ว่าธนาคารกลางสิงคโปร์เลือกใช้ข้อ 1 และ 2 ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยจึงไม่เป็นอิสระมีแนวโน้มเดียวกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ประเทศสหรัฐฯ เลือกข้อ 2 และ 3 ขณะที่ประเทศจีนเลือกข้อ 1 และ 3
1
The Impossible Trinity
ตัวอย่างความผิดพลาดในอดีตที่เคยเกิดขึ้นเมื่อประเทศนั้นเลือกทั้ง 3 ข้อ คือ ประเทศไทยยุคปี 40 ซึ่งส่งผลให้เราต้องใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อคงอัตราแลกเปลี่ยน ขณะที่เงินทุนก็ไหลออกอย่างไม่หยุด (ตอนนั้นถึงจะจำกัดการเข้าออกก็คงไม่ทันแล้ว) อีกทั้งยังใช้นโยบายการเงินกระตุ้นการไหลเข้าของเงินทุนก่อนหน้านั้นอีกด้วย (อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าประเทศอื่น)
สำหรับบทเรียนปี 40 อ่านเพิ่มเติมได้เลยครับ
โฆษณา