23 ก.ค. 2020 เวลา 13:23 • ประวัติศาสตร์
พระพุทธศาสนา"สยามวงศ์"ไปลังกา
หลังจากลังกาไม่มีการบวชพระสงฆ์มาเป็นเวลานาน เพราะเหตุที่พวกโปรตุเกส และฮันลันดาเข้าบุกยึด และบังคับให้เปลี่ยนศาสนา ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้ากิตติราชสิงหะ หรือพระเจ้ากีรติศรีราชสิงห์ ราว พ.ศ.๒๒๙๓ เวลานั้นมีสามเณรผู้ใหญ่รูปหนึ่ง ชื่อสรณังกร ได้ทูลขอให้พระราชาส่งทูตมาขอสมวงศ์จากกรุงศรีอยุทธยา พระเจ้าบรมโกษฐ์ จึงโปรดให้จัดคณะสงฆ์ไทย ซึ่งมีพระอุบาลีแห่งวันธรรมารามเป็นหัวหน้าคณะออกไปอุปสมบทชาวลังกา
Cr.ชมรมประวัติศาสตร์สยาม
(ก่อนหน้าพระเจ้ากิตติราชสิงหะ พระเจ้าวิมลธรรมสุริยะกษัตริย์ก็ได้ส่งทูลมาขอพระสงฆ์สยามเช่นกันแต่เรืออัปปางเสียก่อน)
พระอุบาลีได้ทำพิธีผูกพัทธสีมา ณ วัดบุพพาราม และให้การอุปสมบทสามเณรสรณังกรเป็นรูปแรก ท่านผู้นี้ต่อมาได้เป็นสังฆราชในลังกา
พระอุบาลีได้บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรชาวลังกาทั้งหมดหลายพันรูป คณะสงฆ์ที่เกิดใหม่ในลังกานี้เรียกว่า "สยามวงศ์" หรือ "อุบาลีวงศ์"
ต่อมาพระอุบาลีได้อาพาธถึงมรณะในลังกานั่นเอง
ด้วยโรคหูอักเสบ ภายในกุฏิวัดบุปผาราม(มัลวัตตวิหาร) เมื่อปี พ.ศ.๒๒๙๙ ปัจจุบันสถูปบรรจุอัฐิของท่านยังปรากฏอยู่ที่วัดอัศคิริยะเคติเควิหาร อาสนะที่ท่านบวชกุลบุตร ตลอดจนพัดรองที่ท่านใช้ประจำ รักษาไว้คงรูปเดิม จัดเป็นปูชนียวัตถุของพระสงฆ์ในนิกายสยามวงศ์
ในสมัยเดียวกันนั้นได้มีสามเณรลังกาอีกคณะหนึ่งออกไปรับอุปสมบทในพม่า เมื่อกลับมาแล้วก็ตั้ง "อมรปุรนิกาย" ขึ้น ยังมีอีกพวกหนึ่งไปบวชแต่เมืองมอญเข้ามาตั้ง "รามัญนิกาย" ขึ้น ข้อที่ผิดกันก็คือ ภิกษุในสยามนิกายนั้นส่วนมากเป็นผู้ดี คนชั้นสูงนิยมบวชกันโดยมาก ไม่นิยมรับคนชั้นต่ำเข้ามาบวช เพราะฉะนั้น คนชั้นต่ำจึงหันไปบวชใน อมรนิกาย และรามัญนิกาย
โฆษณา