25 ก.ค. 2020 เวลา 07:00 • การศึกษา
ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม
Path to Attain the Ending of Kamma
ภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดง จักจำแนก ซึ่ง
อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย.
เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) เป็นอย่างไรเล่า ?
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์
เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์
เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.
ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาสังกัปปะ(ความดำาริชอบ)เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการ
ไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุทั้งหลาย!
อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.
ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนา
เป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจาก
การพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ.
ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.
ภิกษุทั้งหลาย! สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ?
คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็น
เครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว
เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม.
ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.
ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาอาชีวะ(การเลี้ยงชีวิตชอบ)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! สาวกของพระอริยเจ้าในกรณีนี้
ละการหาเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วย
การเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.
ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูก
ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม
ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อความไม่บังเกิดแห่งอกุศลธรรม
อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด;ย่อมปลูกความพอใจ
ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อม
ปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้เพื่อการ
บังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิด;ย่อมปลูก
ความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อม
ประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน
ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ
แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย!
อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.
ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
ปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา
กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและ
ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผา
กิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและ
ความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นมีปกติผู้พิจารณา
เห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึก
ตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลก
ออกเสียได้; เป็นผู้ปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
อยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.
ภิกษุทั้งหลาย! สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้ว
จากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง
ปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแล
อยู่; เพราะความที่วิตก วิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรม
อันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิด
จากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่ง
ปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข”
ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่; เพราะละสุขและทุกข์
เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง
ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่
ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐-๑๒/๓๓-๔๑.
“Bhikkhus, I will teach you the Noble
Eightfold Path and I will analyse it for you. Listen
to that and attend closely, I will speak.”
“And what, bhikkhus, is the Noble Eightfold Path?”
“Right view, right intention, right speech,
right action, right livelihood, right effort, right
mindfulness, right concentration.”
“And what, bhikkhus, is right view?
Knowledge of suffering, knowledge of the origin
of suffering, knowledge of the cessation of
suffering, knowledge of the way leading to the
cessation of suffering: this is called right view.”
“And what, bhikkhus, is right intention?
Intention of renunciation, intention of non-ill
will, intention of harmlessness: this is called right intention.”
“And what, bhikkhus, is right speech?
Abstinence from false speech, abstinence from
divisive speech, abstinence from harsh speech,
abstinence from idle chatter: this is called right speech.”
“And what, bhikkhus, is right action?
Abstinence from the destruction of life, abstinence
from taking what is not given, abstinence from
sexual misconduct: this is called right action.”
“And what, bhikkhus, is right livelihood?
Here a noble disciple, having abandoned a wrong
mode of livelihood, earns his living by a right
livelihood: this is called right livelihood.”
“And what, bhikkhus, is right effort? Here,
bhikkhus, a bhikkhu generates desire for the nonarising of unarisen evil unwholesome states;
he makes an effort, arouses energy, applies his
mind, and strives. He generates desire for the
abandoning of arisen evil unwholesome states.
He generates desire for the arising of unarisen
wholesome states. He generates desire for the
maintenance of arisen wholesome states, for their
non-decay, increase, expansion, and fulfi llment
by development; he makes an effort, arouses
energy, applies his mind, and strives. This is
called right effort.”
“And what, bhikkhus is right
mindfulness? Here, bhikkhus, a bhikkhu
dwells contemplating the body in the body,
ardent, clearly comprehending, mindful, having
removed covetousness and displeasure in regard
to the world. He dwells contemplating feelings in
feelings, ardent, clearly comprehending, mindful,
having removed covetousness and displeasure in
regard to the world. He dwells contemplating
mind in mind, ardent, clearly comprehending,
mindful, having removed covetousness and
displeasure in regard to the world. He dwells
contemplating phenomena in phenomena, ardent,
clearly comprehending, mindful, having removed
covetousness and displeasure in regard to the
world. This is called right mindfulness.”
“And what, bhikkhus, is right
concentration? Here, bhikkhus, secluded from
sensual pleasures, secluded from unwholesome
states, a bhikkhu enters and dwells in the fi rst
jhana, which is accompanied by thought and
examination, with rapture and happiness born
of seclusion. With the subsiding of thought
and examination, he enters and dwells in the
second jhana, which has internal confi dence
and unifi cation of mind, is without thought and
examination, and has rapture and happiness born
of concentration. With the fading away as well
of rapture, he dwells equanimous and, mindful
and clearly comprehending, he experiences
happiness with the body; he enters and dwells in
the third jhana of which the noble ones declare:
‘He is equanimous, mindful, one who dwells
happily.’ With the abandoning of pleasure and
pain, and with the previous passing away of
joy and displeasure, he enters and dwells in the
fourth jhana, which is neither painful nor pleasant
and includes the purifi cation of mindfulness by
equanimity. This is called right concentration.”
The Connected Discourses of the Buddha, A New Translation of the Samyutta Nikaya Vol II, by Bhikkhu Bodhi, The Pali Text Society,
Oxford, 2000, p. 1528-1529.
โฆษณา