25 ก.ค. 2020 เวลา 13:31 • ถ่ายภาพ
บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ทั้งหลายผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้โดยง่าย สัตว์ทั้งหลายผู้อันราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยากละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นอยู่ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม
[๗] ครั้นล่วง ๗ วัน พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว เสด็จจากควงไม้ราชายตนะ เข้าไปยังต้นไม้อชปาลนิโครธ.
ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ควงไม้อชปาลนิโครธนั้น และพระองค์เสด็จไปในที่สงัด หลีกเร้นอยู่ ได้มีพระปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึก เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลงสู่ความตรึก ละเอียด เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง ส่วนหมู่สัตว์นี้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัย ฐานะคือความที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารเป็นต้นนี้ เป็นสภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นนี้ อันหมู่สัตว์ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในอาลัย ชื่นชมในอาลัยเห็นได้ยาก แม้ฐานะคือธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นกำหนัด เป็นที่ดับสนิท หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้นี้ ก็แสนยากที่จะเห็นได้ ก็ถ้าเราจะพึงแสดง
ธรรม สัตว์เหล่าอื่นก็จะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่า
แก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา.
อนึ่ง อนัจฉริยคาถาเหล่านี้ ที่ไม่เคยได้สดับในกาลก่อน ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค
ว่าดังนี้:-
อนัจฉริยคาถา
บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว
โดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะ
ครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว
ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด
ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์
ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อยไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับหลวง)
เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๙ ข้อที่ ๗
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
bn8185.
ธรรมที่ชื่อว่า “นิพพาน”
นั่น สงบจริง ! นั่น ประณีตจริง ! ที่นี้เอง เป็นที่สงบสังขารทั้งปวง, เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง, เป็นที่สิ้นตัณหา, เป็นที่คลายความกำหนัด, เป็นที่ดับกิเลส. นี่คือนิพพาน แล.
- นวก. อํ. ๒๓/๔๓๙/๒๔๐. - เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๔๔/๒๑๔.
พุทธวจนชุดห้าเล่มจากพระโอษฐ์
อริยสัจจากพระโอษฐ์๑ ภาคต้น
เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๔๓
by ท่านพุทธทาสอินทปัญโญภิกขุ
bn8185.
๕๕๕} [๑๗๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ใกล้อุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกเร้นอยู่ในที่รโหฐาน ได้ทรงมีความปริวิตกแห่งพระทัยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า “ธรรม <๑> **๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (ที.ม.อ. ๖๐, ม.มู.อ. ๒/๘๒, สํ.ส.อ. ๑๘๕) ที่เราได้บรรลุแล้วนี้เป็นธรรมลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต หยั่งถึงไม่ได้ด้วยความตรึก <๒> **๒ หยั่งถึงไม่ได้ด้วยความตรึก หมายถึงไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยการคิดนึกคาดเดาเอาเองหรืออาศัยวิชาตรรกะ ต้องอาศัยญาณคือความรู้แจ้งเท่านั้น (ที.ม.อ. ๖๐, ม.มู.อ. ๒/๘๒, สํ.ส.อ. ๑๘๕) ละเอียด รู้ได้แต่บัณฑิต <๓> **๓ รู้ได้แต่บัณฑิต หมายถึงรู้ได้เฉพาะบัณฑิตผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ (ที.ม.อ. ๖๐, ม.มู.อ. ๒/๘๒, สํ.ส.อ. ๑๘๕) แต่หมู่สัตว์นี้เป็นผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย <๔> **๔ คำว่า อาลัย หมายถึงสิ่งผูกพันเพลินใจของสัตว์ทั้งหลาย ได้แก่ กามคุณ ๕ และตัณหาวิจริต (ความเป็นไปหรือออกเที่ยวแสดงตัวของตัณหา) ๑๐๘ (ที.ม.อ. ๖๐, ม.มู.อ. ๒/๘๒, สํ.ส.อ. ๑๘๔) ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย ก็แลฐานะคืออิทัปปัจจตาปฏิจจสมุปบาทธรรม <๕> **๕ คำว่า อิทัปปัจจยตา หมายถึงภาวะที่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัย คำว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม หมายถึง ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อมกัน หรือความเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา (นัย ที.ม.อ. ๖๐, ม.มู.อ. ๒/๘๓, สํ.ส.อ. ๑๘๖) ได้แก่ ความที่ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยแก่ธรรมเหล่านี้ เป็นสภาพอาศัยกันและกันเกิดขึ้นนี้ หมู่สัตว์ ผู้เริงรมย์ด้วยอาลัย ยินดีในความอาลัย บันเทิงนักในความอาลัย จะพึงเห็นได้โดยยาก แม้ฐานะนี้ คือ <๑>**๑-๑ คำทั้งหมดนี้เป็นไวพจน์(คำใช้แทน)ของคำว่า นิพพาน (ม.มู.อ. ๒/๘๓, สํ.ส.อ. ๑๘๖) ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดอุปธิกิเลสทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สิ้นความกำหนัด เป็นที่ดับสนิท เป็นที่หากิเลสเครื่องร้อยรัดมิได้ <๑>**๑-๑ คำทั้งหมดนี้เป็นไวพจน์(คำใช้แทน)ของคำว่า นิพพาน (ม.มู.อ. ๒/๘๓, สํ.ส.อ. ๑๘๖) ก็พึงเห็นได้โดยยาก ก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม และสัตว์เหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรานั้นได้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยเปล่าแก่เรา จะพึงเป็นความลำบากเปล่าแก่เรา” อนึ่ง คาถาที่น่าอัศจรรย์เหล่านี้ที่ไม่เคยได้ทรงสดับมาก่อน ได้แจ่มแจ้งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ทั้งหลายผู้ถูกราคะและโทสะครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้โดยง่าย สัตว์ทั้งหลายผู้อันราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อไว้แล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด ลึกซึ้ง เห็นได้ยากละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาเห็นอยู่ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม
พระไตรปิฎกไทย (ฉบับเฉลิมพระเกียรติ)
เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๒๓๒-๒๓๓ ข้อที่ ๑๗๒
พระไตรปิฎกภาษาไทย พระบาลีสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคสังยุต ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙ มหาเถรสมาคม จัดพิมพ์ ๑๕
bn8185.
โฆษณา