26 ก.ค. 2020 เวลา 02:36 • หนังสือ
คุณเคยได้ยินประโยคนี้ไหมครับ
" ลองลงมือทำไปก่อน... เดี่ยววิธีการจะตามมาเอง "
2
The power of output : ศิลปะของการปล่อยของ (ตอนที่ 3)
ในบทความนี้จะพูดถึงการสร้าง Output จากการกระทำซึ่งผมได้กล่าวไปก่อนหน้านี้(ในตอนที่ 1)ว่า การที่เราจะพัฒนาเองให้ดีกว่ายิ่งขึ้นเราต้องเน้นที่การสร้าง Output ถึงแม้เราจะนำ Input เข้ามามากแค่ไหนก็ตาม
แต่เราไม่สร้าง Output เลยเราก็จะไม่มีทางพัฒนาตนเองได้ ถ้าพูดง่ายๆในบทนี้ก็คือ ให้เน้นการลงมือปฏิบัติมากกว่าการที่เรานั่งอ่าน นั่งดู นั่งมอง นั่นเอง
ผมคิดว่าน่าจะเกือบทุกคนนะครับที่รู้ว่า การออกกำลังกายจะทำให้เราสุขภาพดี,ทำให้เราผอม,ทำให้เราหุ่นดี แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถลงมือปฏิบัติออกกำลังกายให้เราเกิดการเปลี่ยนแปลงจริงๆและนี้แหละเป็นเหตุผลที่ทำไมการสร้าง Output จากการกระทำจริงมีความสำคัญมากกว่าการที่เรานั่งอ่าน
นั่งดู นั่งมอง
แต่คนส่วนใหญ่มักแต่แค่อ่านหนังสือ เรียนหนังสือ แต่ไม่ "ลงมือทำ" ตามในหนังสือเลย แค่เรียนเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองเท่านั้น การทำเช่นนี้ถือเป็นการเสียเงินและเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์
ทำอย่างต่อเนื่อง!
เมื่อเราลงมือปฏิบัติแล้วสิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นอีกก็คือ การทำอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจ การเรียน กีฬา งานอดิเรก หากไม่ทำอย่างต่อเนื่องให้ถึง 3 เดือนย่อมไม่มีทางสร้างผลลัพธ์หรือผลสำเร็จที่ชัดเจนได้ ดังนั้นเมื่อเราลงมือปฏิบัติแล้วอย่างต่ำ 3 เดือน ผมเชื่อครับพอถึงเวลานั้นเมื่อคุณหันกลับมามองตัวเองว่า...ตัวเองพัฒนาไปมาก!!
โฟกัสทีละอย่าง
พอถึงเวลาปฏิบัติหลายๆคนอาจจะคิดว่า เราสามารถทำหลายๆอย่างพร้อมกันได้แต่ความจริงแล้วนั้นไม่ใช่เลยเพราะว่า สมองของมนุษย์เรานั้นทำงานแบบ Multitask ไม่ได้ แต่ดังที่ผมบอกไปก่อนหน้านั้นว่า สมองของคนเราสามารถประมวลผลข้อมูลได้แค่ 3 อย่างพร้อมกันก็ทำให้ Working Memory หรือพื้นที่การทำงานในสมองเต็มแล้ว แต่การทำ 3 อย่างพร้อมกันก็ไม่ได้แปลว่าเราจะสามารถทำ Output ได้มากขึ้น
2
จากผลการวิจัยในหนังสือกล่าวไว้ว่า " การทำงานแบบ Multitask โดยไม่จดจ่อกับงานใดงานหนึ่ง ทำให้ต้องเสียเวลาในการทำงานเพิ่มมากขึ้นถึง 50% นอกจากนี้ยังมีเกิดโอกาสผิดพลาดมากขึ้นสูงสุด 50% และจากผลการวิจัยอีกอันหนึ่งพบว่า การที่คนเราทำงาน 2 อย่างที่คล้ายกันในเวลาเดียวกันทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงถึง 80-90% เลยทีเดียว
ดังนั้นสมองเราสามารถทำงานได้ 3 อย่างพร้อมกันก็จริง แต่จริงๆแล้วเราก็ไม่ควรทำแบบนั้น เราควรจะจดจ่อกับงานใดงานหนึ่งหรือว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เสร็จแล้วค่อยไปทำอีกอย่างหนึ่ง การทำแบบนี้ต่างหากคือวิธีสร้าง Output ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทำสิ่งที่ท้าทายตัวเอง
ถ้าทำแต่สิ่งที่ไม่ท้าทายเราก็ไม่มีวันพัฒนาตัวเองได้ อะไรที่ง่ายๆแน่นอนว่าใครๆก็ทำได้แต่สิ่งที่ยากและท้าทายนี้สิมีไม่กี่คนหรอกที่จะทำมัน คนเราจะเริ่มพัฒนาตัวเองก็ต่อเมื่อลงมือทำสิ่งที่ท้าทายแต่คนส่วนมากอาจจะคิดว่าการทดลองทำสิ่งใหม่มันไม่ใช่เรื่องที่น่าสนุกเลยสักนิด แต่กลับมองว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวและอันตรายมากกว่า
การที่เราคิดแบบนี้เเสดงว่าเราท้าทายตัวเองมากเกินไปจนไปถึงคำที่ว่าเป็น " พื้นที่อันตราย" หรือ "Red zone" ดังนั้น หลายๆคนที่กลัวการท้าทายคือ คนที่เข้าไปในพื้นที่อันตรายซึ่งอยู่นอกเหนือ " พื้นที่การเรียนรู้ " ถ้าเป้าหมายหรือระดับความยากนั้นสูงเกินไปเราก็ควรจะลดระดับลงมาหากเรารู้จักกำหนดเป้าหมายเล็กๆในระดับที่ไม่ง่ายจนเกินไปและไม่ยากจนเกินไปให้อยู่ในระดับที่พยายามเสียหน่อยก็น่าจะทำได้หรือให้อยู่ใน " พื้นที่การเรียนรู้ " จะทำให้เราสนุกไปกับการทำสิ่งนั้นและนำไปสู่การพัฒนาตนเอง
1
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเกิดคิดขึ้นมาว่า อยากไปปีนเขาจัง แล้วไปปีนเขาที่สูงชันมากเลย นั่นคือ เราออกไปนอก " พื้นที่อันตรายแล้ว " แต่ถ้าเราเริ่มจากลองเดินขึ้นเนินเขาสูงๆก่อนไหม ทำความคุ้นเคยกับการปีนเขาก่อนนี้คือเรายังอยู่ในขอบเขตของ " พื้นที่การเรียนรู้ " แบบนี้จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองได้ สุดท้ายนี้อยากจะบอกว่า
ทำอย่างสนุก
แน่นอนว่าการที่เราจะทำให้ผลลัพธ์มันออกมาดีนั้น เราก็ต้องสนุกไปกับการทำด้วย ถ้ามันน่าเบื่อยังไงเราก็ไม่อยากจะทำมันอยู่แล้ว จริงไหมครับ? และเมื่อเรารู้สึกสนุกไปกับมันจะทำให้ความสามารถในการจดจำและแรงบันดาลใจเพิ่มขึ้นอีกด้วย
เคยสงสัยกันไหมครับว่า ทำไมเด็กที่เรียนไม่เก่งทำไมเขาถึงเรียนไม่เก่ง? มันไม่เกี่ยวว่าเขาหัวดีหรือหัวไม่ดีหรอกนะครับ แต่เป็นเพราะ "เขาไม่ชอบเรียนหนังสือ" ต่างหาก เพราะไม่ชอบเรียนหนังสือเลยต้องฝืนเรียนไปด้วยความรู้สึกไม่ชอบ
ดังนั้น ตราบใดที่เขายังเรียนหนังสือด้วยความรู้สึกไม่ชอบ
ผลการเรียนของเขาไม่มีวันดีขึ้นได้เลย ระหว่างการเรียนสิ่งเดียวกันภายในเวลาที่เท่ากันด้วยความรู้สึก "สนุก" กับ "ไม่ชอบ" จะทำให้ผลการเรียนรู้หรือผลลัพธ์ต่างกันโดยสิ้นเชิง
สุดท้ายนี้ผมก็อยากจะบอกกับทุกคนว่า...
"แนวคิดกำหนดทางออก" คิดอย่างไรก็ได้ผลอย่างนั้น
"ทัศนะคติกำหนดอนาคต" ทัศคติอย่างไรก็ใช้ชีวิตอย่างนั้น
"การกระทำกำหนดผลลัพธ์" ทำอย่างไรก็ได้ผลลัพธ์อย่างนั้น
และทั้งหมดในบทความที่ผ่านมาทั้ง 3 ตอนนี้ได้กล่าวถึงวิธีสร้าง Output จากการพูด การเขียนและการกระทำซึ่งทั้งหมดที่ผมนำมาเขียนในบทความทั้ง 3 ตอนนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของหนังสือเท่านั้น แต่หากใครอยากศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้นะครับ
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้มากนะครับ 🙏 ถ้าใครอยากได้ความรู้ดีๆแบบนี้อย่าลืมกดติดตามนะครับ ขอบคุณครับ
ที่มา: หนังสือ The power of output : ศิลปะของการปล่อยของ
โฆษณา