27 ก.ค. 2020 เวลา 11:42 • การศึกษา
ในอดีตตอนเขียน มคอ 3 จะมีข้อความตอนหนึ่งที่ระบุว่า ต้องสอนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักกฎหมาย เพื่อหวังว่า ลูกศิษย์เหล่านี้ เมื่อได้เป็นทนายความ ตำรวจ พนักอัยการ จะได้มีสำนึก หรือความรู้สึกละอายใจ ต่อการทำสิ่งไม่ดี อันที่จริงก็คงเป็นเรื่องยากนะครับ การสอนคนให้เป็นคนดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนดีที่มาเป็นนักฎหมายด้วยแล้ว ยากจริงๆครับ ในระดับอุดมศึกษา เพราะกว่าเขาจะมาเรียนนิติศาสตร์ ก็อายุ 10 กว่าปีแล้ว เพราะเราอาจสอนเขาได้แค่ความรู้ แม้กระทั่งอาจารย์ด้วยกันเอง ก็ไม่ทราบว่า จะเอาอะไรมาวัดว่าเป็นคนดี หรือไม่ดี แต่การกระทำของบุคคล เหมือนดังคำพูดที่ว่า กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ก็น่าจะพออนุโลมมาปรับใช้ได้ นักกฎหมาย ที่เก่ง ก็เป็นคนที่ใช้เหตุผล ได้ดีในการอธิบายอยู่แล้ว ดุลยพินิจ ไม่ใช่สิทธิส่วนตัวที่ ฉันจะเห็นหรือคิดของฉันอย่างนี้ โดยไม่ต้องสนใจต่อความเห็นต่าง เพราะบางเรื่อง ตัวบทกฎหมายตอบไม่ได้หมด แต่ต้องใช้ดุลพินิจในกรอบแห่งกฎหมาย ความถูกต้อง ชอบธรรม ตอบคำถามคนที่สงสัยได้ คดีขับรถชนรถตาย ที่พลิกกลับไปมาได้ น่าจะเป็นคดีตัวอย่างที่ใช้สอน ในโรงเรียนกฎหมายได้นะครับ ถ้าคิดว่า เหตุผลตนเองดี และถูกต้อง ไม่ต้องเสียเวลาตั้งกรรมการอะไรหรอกครับ อธิบายได้เลย หากคิดว่าตนเองมีเหตุผลในการใช้ดุลยพินิจ ถ้าผู้ใช้ดุลพินิจตามกฎหมายไม่รีบอธิบายด้วยตนเอง หรือหาคำตอบให้กับคนที่สงสัยไม่ได้ ต้องตั้งทีมเพื่อหาคำตอบ คงเป็นเรื่องประหลาดนะครับ
โฆษณา