27 ก.ค. 2020 เวลา 12:45 • การศึกษา
การแพทย์สายพุทธตอนที่ ๑๖ บทนำมหาภูตรูป ๔๒
ขอเกริ่นนำเรื่อง ธาตุ๔ อันอาศัยอยู่ใน ขันธ์๕ ตามโบราณว่า แล้วอายตนะ๖ ล่ะก็อาศัยอยู่ในขันธ์๕ เช่นกันที่เราเรียกรูปอาศัยนั่นละ จากนั้นขบวนการของจิตจะทำหน้าที่สั่งการให้กายเรานี้ทำงานไปตามใจที่ปรารถนา ดังนั้นจิตจึงเป็นนาย กายเป็นบ่าวผู้รับใช้(สนใจก็อ่านกายนครเพิ่มเติม)
ปฐวีธาตุภายในร่างกายก็ คือ อวัยวะและสิ่งต่าง ๆ ในร่างกายเราที่มีลักษณะแข็ง หรือรวมตัวกันเป็นก้อนจนสามารถกำหนดได้ ธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบของร่างกาย โดยเอาอาการ ๓๒ มาสงเคราะห์เป็นธาตุดิน ๒๐
ถ้าเป็นธาตุดินภายนอกร่างกายเรา หมายถึง ธาตุดินอันเป็นส่วนประกอบที่มีอยู่ในสิ่งที่ไม่มีวิญญาณ เช่น ก้อนดิน พื้นดิน.ภูเขา,เนินสูง เป็นต้น
ธาตุน้ำภายใน ได้แก่ ธาตุน้ำที่เป็นส่วนประกอบของร่างกาย ส
งเคราะห์ได้ ๑๒ ธาตุน้ำที่อยู่ภายในร่างกาย คือ ส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายที่มีลักษณะเอิบอาบ ซึมซาบ ไหลได้
อาโปที่อยู่ภายนอก คือ สิ่งต่าง ๆ ภายนอกร่างกายที่มีลักษณะเอิบอาบ เหนียว เกาะกุม ได้แก่ รสที่มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของพืชผักและผลไม้ สิ่งต่าง ๆ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำที่อยู่ในพื้นดิน น้ำที่อยู่ในอากาศ ฯลฯ
ธาตุไฟหรือเตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อนและเย็น ลักษณะร้อนชื่อว่า อุณหเตโช ลักษณะเย็นชื่อว่า สีตเตโช เตโชธาตุทั้ง ๒ ชนิดมีสภาวะลักษณะเป็นไอ โดย อุณหเตโช มีไอร้อนเป็นลักษณะ และ สีตเตโช มีไอเย็นเป็นลักษณะ ซึ่งเตโชธาตุทั้ง ๒ ชนิด มีหน้าที่ทำให้วัตถุต่าง ๆ สุก และละเอียดนุ่มนวล ดังจะเห็นได้จาก เมื่อวัตถุต่าง ๆ ส่วนมาก เช่น อาหาร ทำให้สุกด้วยความร้อน แต่อาหารบางอย่างก็ทำให้สุกด้วยความเย็นได้เหมือนกัน
เตโชธาตุหรือธาตุไฟ มีทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกร่างกาย โดยธาตุไฟภายในร่างกาย คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่บริโภคเข้าไปย่อยได้ด้วยดี และรวมทั้งสิ่งอื่น ๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน
ธาตุลมหรือวาโยธาตุ คือ ธาตุลมมีทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกร่างกาย และมีลักษณะเคร่งตึงและเคลื่อนไหว โดย
ธาตุลมที่มีลักษณะเคร่งตึงเรียกว่า วิตถัมภนวาโย เป็นวาโยธาตุที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดพร้อมกับตัววาโยธาตุเองตั้งมั่น ไม่ให้คลอนแคลนเคลื่อนไหวไปได้ ในร่างกายของคนเรา ถ้าวิตถมภนวาโยปรากฏขึ้นในผู้ใดเข้า จะทำให้ผู้นั้นรู้สึก ตึง เมื่อย ปวด ตามร่างกาย หรือขณะที่มีการเก็งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หรือเพ่งตาเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่กระพริบตา
ธาตุลมที่มีลักษณะเคลื่อนไหว เรียกว่า สมีรณวาโย ๆ นี้ทำให้รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนเคลื่อนไหวไปมาได้ เช่น สัตว์ทั้งหลายที่เคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆได้ หรือกระพริบตา กลอกตา กระดิกมือ กระดิกเท้า การถ่ายเทสิ่งโสโครกออกจากร่างกาย การคลอดบุตรต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นด้วยอำนาจสมีรณวาโยทั้งสิ้น
ธาตุลมที่อยู่ภายในร่างกาย คือสิ่งที่มีลักษณะพัดผันไปในร่างกาย ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า และสิ่งอื่น ๆ ที่พัดผันในร่างกาย
วาโยธาตุ ลมภายนอก คือ ความพัดไปมา ความเคร่งตึงของวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ได้แก่ ลมในลักษณะต่าง ๆ เช่น ลมตะวันตก ลมตะวันออก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมจากการกระพือปีก ฯลฯ
อากาศธาตุ หมายถึง ที่ว่างเปล่า,ที่ว่าง ความว่างเปล่า
อากาศธาตุภายใน คือ ช่องว่างต่าง ๆ ที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นที่เนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องทางเดินอาหาร ช่องว่างในกระเพาะอาหาร และช่องทางขับถ่ายอาหารออกจากร่างกาย หรือ ความว่างเปล่า ช่องว่าง อื่น ๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย
อากาศธาตุภายนอก คือ ความว่างเปล่า ช่องว่าง ต่าง ๆ ที่มหาภูตรูป ๔ ไม่สัมผัสถูกต้องที่อยู่ภายนอกร่างก่าย
วันนี้เรามาเรียนรู้ร่วมกันค่ะเรื่อง มหาภูตรูป ๔๒ ยามปกติ เมื่อกายมีดินเป็นที่ตั้ง ธาตุอื่นๆย่อมอาศัยในดินและทำงานไปพร้อมกัน ในคัมภีร์โบราณกล่าวว่าเหตุนั้นจึงชื่อว่ามหาภูตโดยปัจจัย พึงทราบวินิจฉัยว่า
• ปฐวีธาตุอันน้ำยึดไว้ อันไฟตามรักษาไว้ อันลมให้เคลื่อนไหว เป็นปัจจัยเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งมหาภูตทั้ง ๓
• อาโปธาตุตั้งอาศัยดิน อันไฟตามรักษา อันลมให้เคลื่อนไหว เป็นปัจจัยเป็นเครื่องยึดแห่งมหาภูตทั้ง ๓
• เตโชธาตุตั้งอาศัยดิน อันน้ำยึดไว้ อันลมให้เคลื่อนไหว เป็นปัจจัยเป็นเครื่องอบอุ่นแห่งมหาภูตทั้ง ๓
• วาโยธาตุตั้งอาศัยดิน อันน้ำยึดไว้ อันไฟให้อบอุ่น เป็นปัจจัยเป็นเหตุให้เคลื่อนไหวแห่งมหาภูตทั้ง ๓
ดังนั้นดินจึงแบ่งชั้นธาตุไว้เพื่อให้ทำหน้าที่ได้สะดวกให้เชื่อมกับจิตภายในได้ การรับส่งก็คือจากธาตุทั้ง๔ของเรา รับผัสสะจากธาตุ๔ ภายนอก และดินที่เป็นเราเรียกปัญจกธาตุ(วิสุทธิมรรค) เริ่มกันเลย
ดินชั้นที่๑ มี ผม-เกสา, ขน-โลมา,เล็บ-นขา, ฟัน-ทันตา และหนัง-ตโจ เป็นที่สุด ในชั้นนี้เทียบอนาโตมีก็คือชั้นปกคลุมร่างกายนั่นเอง ชั้นนี้มีตะโจเป็นหัวหน้า คอยรับผัสสะจากภายนอกเข้าภายใน และโต้ตอบจากในสู่นอก ชั้นนี้มีอายตนะ ๖ อาศัยอยู่คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อายตนะอ่านเพิ่มในโพสต์เก่า)
วันนี้ยาวเกินไป มาอ่านกันใหม่ในวันพรุ่งนี้ค่ะเรื่อง ชั้นธาตุดินโปรดคอยติดตาม
โฆษณา