28 ก.ค. 2020 เวลา 02:23
ระเบียบการอยู่อาศัย
“นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ”
1
สารบัญ
หมวดที่ 1 บททั่วไป
หมวดที่2 การใช้ประโยชน์ในแปลงที่ดินจัดสรร
หมวดที่3 การใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค
หมวดที่4 การดูแลรักษาความปลอดภัย และ การจราจร
หมวดที่5 การดูแลรักษาความสะอาด
หมวดที่6 การต่อเติมตกแต่ง
หมวดที่7 การเลี้ยงสัตว์
หมวดที่8 เงินกองทุน และ ค่าใช้จ่าย
หมวดที่9 บัญชี และ การเงิน
หมวดที่10 ผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
หมวดที่11 สิทธิ และ หน้าที่ของสมาชิก
หมวดที่12 บทกำหนดลงโทษ
หมวดที่13 การจัดการสาธารณูปโภคบริการสาธารณะ และ การบริหารหมู่บ้าน
หมวดอื่น ๆ
5
ระเบียบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
กฎระเบียบหมวดที่ 1
บททั่วไป
ข้อ 1. ระเบียบนี้ เรียกว่า “ระเบียบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ" โดยยึดถือแนวทาง ตามข้อกำหนด ในข้อบังคับ “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ” เป็นหลัก
ข้อ 2. ในระเบียบนี้
“ผู้จัดการนิติบุคคล” หมายถึง ผู้จัดการสำนักงาน “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ฯ”
“ผู้ช่วยผู้จัดการนิติบุคคล” หมายถึง ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงาน “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ”
“สิ่งปลูกสร้าง” หมายถึง อาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และให้หมายความรวมถึง สนามที่มีการจัดสวน หรือปลูกต้นไม้ไว้เพื่อประดับหรือเพื่อความร่มรื่นด้วย
“อาคารอยู่อาศัย” หมายถึง อาคาร ซึ่งโดยปกติบุคคลใช้อาศัยได้ทั้ง กลางวันและกลางคืน ไม่ว่าจะเป็นการ อยู่อาศัย อย่างถาวรหรือชั่วคราว
“สมาชิก” หมายถึง สมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ
“คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการ “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ฯ” ที่ได้รับเลือกตั้งตาม ข้อบังคับนี้
“ประธาน” หมายถึง ประธานคณะกรรมการ “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ” ที่ได้รับเลือกตั้งตามข้อบังคับนี้
“กรรมการ” หมายถึง กรรมการ “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ” ที่ได้รับเลือกตั้งตามข้อบังคับนี้
“ที่ประชุมใหญ่” หมายถึง ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ”
“สาธารณูปโภค” หมายถึง การให้บริการ หรืออำนวยความสะดวกตามที่กฎหมายกำหนดให้จัดทำเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สมาชิก“นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ” ในสิ่งอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอันได้แก่ ถนน, สวนหย่อม, ไฟฟ้า, ประปา
“บริการสาธารณะ” หมายถึงการให้บริการ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่จัดทำเพื่ออำนวยประโยชน์แก่สมาชิก “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ฯ” อันได้แก่ การให้บริการรักษาความปลอดภัย, การรักษาความสะอาด, เป็นต้น
“ค่าใช่จ่าย” หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา การจัดการสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในส่วนที่ “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ” มีหน้าที่บำรุงรักษาและต้องรับผิดชอบ
“คณะกรรมการจัดสรรที่ดิน” หมายถึง คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดปทุมธานี
“เจ้าพนักงานที่ดิน” หมายถึง เจ้าพนักงานที่ดิน จังหวัดปทุมธานี
“เจ้าหน้าที่นิติบุคคล” หมายถึง เจ้าหน้าที่“นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ” ที่ได้รับการว่าจ้างให้ปฏิบัติงานของสำนักงาน“นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ”
“นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” หมายถึง “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ”
ข้อ 3. ให้คณะกรรมการว่าจ้างบุคคล หรือนิติบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่นิติบุคคล และปฏิบัติงานของสำนักงานนิติบุคคลแทนคณะกรรมการได้ โดยให้เป็นไปตามข้อบังคับและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดย มติของที่ประชุมใหญ่
กฎระเบียบหมวดที่ 2
การใช้ประโยชน์ภายในแปลงที่ดินจัดสรร
ข้อ 4. ผู้มีอำนาจในการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ภายในแปลงที่ดินจัดสรรนั้น กำหนดให้ที่ประชุมคณะกรรมการโดยลงคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาการประกอบกิจการดังกล่าว แต่การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์นั้นจะต้องไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงจัดสรร ทั้งนี้ต้องไม่ใช่สถานที่ให้บริการและธุรกิจเชิงพณิชย์ใดๆทั้งสิ้น
ข้อ 5. สมาชิกหรือผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงจัดสรร ต้องดูแลรักษาที่ดินแปลงจัดสรร และบริเวณพื้นที่ด้านหน้าที่ดินแปลงจัดสรรนั้น ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เรียบร้อยไม่ทำลาย ทัศน์วิสัย, ภาพลักษณ์ และสุขอนามัยของสมาชิกรวมถึงระบบสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ 6. สมาชิกหรือผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงจัดสรรต้องไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการสร้างความเดือดร้อน น่ารังเกียจ หรือขัดต่อประเพณี หรือศีลธรรมอันดี หรือเป็นอันตราย หรือก่อให้เกิดความน่ารำคาญแก่สมาชิกอื่น ๆ หรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้ สาธารณูปโภค, บริการสาธารณะของสมาชิก หรือกระทบต่อระบบรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน หากสมาชิกประสงค์จะทำกิจกรรม อันก่อให้เกิดเสียงรบกวนแก่สมาชิกเว้นแต่มีความจำเป็น ซึ่งจะต้องทำหนังสือขออนุมัติ จากคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบก่อน และจะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ แล้วเท่านั้น ยกเว้น งานทำบุญบ้าน ,งานสมรส โดยระบุวันเวลาการใช้สถานที่ให้คณะกรรมการ รับทราบก่อน ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่สมาชิก
ข้อ 7. ห้ามเปลี่ยนแปลง หรือเคลื่อนย้ายงานระบบสาธารณูปโภคที่ใช้ร่วมกัน เว้นแต่มีความจำเป็นซึ่งต้องทำหนังสือขออนุมัติต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบก่อน และจะดำเนินการได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ แล้วเท่านั้น
ข้อ 8. ห้ามนำทรัพย์สินส่วนบุคคลไว้ในบริเวณพื้นที่ส่วนสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะ
ข้อ 9. ห้ามติดป้ายหรือแผ่นภาพโฆษณาข้อความในที่ดินแปลงจัดสรรของสมาชิก อันก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเสื่อมเสียต่อ ทัศน์วิสัย และภาพลักษณ์ที่ดี หรือความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้าน
ข้อ 10. สมาชิก หรือผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงจัดสรรจะต้องจอดรถในที่ดินแปลงจัดสรร ของตนเอง และ/หรือบริเวณที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรกำหนดเท่านั้น (ถ้ามี) ยกเว้นมีความจำเป็นจะต้องจอดรถไม่กีดขวางหรือรบกวนสมาชิกและไม่ขัดกับระเบียบนี้หากจอดรถผิดระเบียบนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรสงวนสิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายรถดั้งกล่าว โดยเรียกเก็บค่าดำเนินการจากสมาชิกที่ปฏิบัติผิดระเบียบนั้น
กรณีเป็นบุคคลภายนอกเข้าพบหรือเยี่ยมเยียนสมาชิกในหมู่บ้าน สมาชิกผู้นั้นมีหน้าที่ควบคุมและดูแลให้บุคคลภายนอกนั้นปฏิบัติตาม ระเบียบฉบับนี้ หากฝ่าฝืนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร สงวนสิทธิ์ในการดำเนินการใด ๆ ในการแก้ไขจัดการเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยตามระเบียบนี้
ข้อ 11. สมาชิกจะต้องดูแลและรักษาต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณที่ดินแปลงจัดสรรของตนให้เรียบร้อยสวยงาม ไม่ก่อความรบกวน หรือลุกล้ำที่ดินแปลงจัดสรรของผู้อื่น พื้นที่ส่วนกลาง หรือเป็นที่น่าอันตรายแก่สมาชิกอื่น
ข้อ 12. สมาชิกที่มีความประสงค์จะทำการโอนกรรมสิทธิ์ในแปลงที่ดินจัดสรรให้บุคคลอื่น ต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ และสถานที่ติดต่อ ของผู้รับโอนให้ผู้จัดการนิติบุคคล ทราบภายหลังการโอนกรรมสิทธิ์ 7 วันทำการ
1
กฎระเบียบหมวดที่ 3
การใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ
ข้อ 13. สมาชิกไม่มีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์หน้าที่ดินแปลงจัดสรรของตนเอง รวมถึงการนำทรัพย์สินหรือสิ่งของใด ๆ มาวางบริเวณสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ 14. ห้ามมิให้สมาชิกตกแต่ง ต่อเติม หรือขยายรั้วหรือ ส่วนของรั้ว ออกนอกที่ดินแปลงจัดสรร ของสมาชิก
ข้อ 15. ห้ามมิให้สมาชิกหรือบริวารนำป้ายโฆษณาเพื่อติดตั้ง หรือนำทรัพย์สินมาวาง หรือจำหน่ายบริเวณทางเท้า สวนหย่อมของหมู่บ้าน ที่ดินแปลงสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร และหรือที่ประชุมใหญ่สมาชิก
ข้อ 16. ห้ามมิให้สมาชิกหรือบริวารใช้ที่ดินแปลงสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ ผิดวัตถุประสงค์และระเบียบที่กำหนดไว้ ซึ่งอาจก่อความเดือดร้อน รำคาญ แก่สมาชิกอื่น ๆ
ข้อ 17. ห้ามมิให้บุคคลใด ๆ ที่ไม่ใช่สมาชิก หรือบริวารของสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรเข้ามา หรือใช้สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากสมาชิก หรือผู้จัดการนิติบุคคล หรือผู้มีอำนาจดำเนินการแทน และจะต้องส่งหลักฐานแจ้งบุคคลภายนอกที่เป็นลูกจ้างเข้าพักอาศัยในบ้านนายจ้างให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร สงวนสิทธิที่จะไม่ต้อนรับบุคคลใด ๆ ที่แต่งกายหรือประพฤติตัวไม่สุภาพ หรือกระทำการอื่นใดที่ไม่เหมาะสม หรือขัดต่อกฎหมายข้อบังคับหรือระเบียบในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้จัดการนิติบุคคลมีอำนาจเด็ดขาดในการวินิจฉัย และห้ามมิให้บุคคลนั้นเข้ามาในหมู่บ้าน หรือห้ามใช้สาธารณูปโภค บริการสาธารณะตลอดจนมีอำนาจเชิญให้บุคคลนั้นออกไปจากหมู่บ้าน
กฎระเบียบหมวดที่ 4
การดูแลรักษาความปลอดภัยและการจราจร
ข้อ 19. กำหนดให้จัดจ้างบุคคล หรือนิติบุคคลเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย เพื่อทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1)รักษาความปลอดภัย ดูแลความสงบเรียบร้อย และรักษาความปลอดภัยในร่างกายชีวิต และทรัพย์สินให้กับสมาชิกผู้พักอาศัย และผู้มาติดต่อ รวมทั้งทรัพย์สินส่วนกลางของของนิติบุคคล
(2)อำนวยความสะดวกในการจราจร และการผ่านเข้าออกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรของสมาชิก ผู้พักอาศัย และผู้มาติดต่อ
ข้อ 20. ให้คณะกรรมการเป็นผู้ว่าจ้างและ จัดทำบัตรอนุญาต ทางเข้า -ออก ละให้ผู้จัดการนิติบุคคล ควบคุมพนักงานรักษาความปลอดภัยให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ หรือระเบียบที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ และ/หรือ ที่ประชุมใหญ่สมาชิก ดังต่อไปนี้
(1)แลกบัตรผ่าน เข้า-ออก บุคคลภายนอก และยานพาหนะที่ เข้ามาติดต่อภายในหมู่บ้าน สำหรับรถที่ไม่ติดสติ๊กเกอร์ตามที่ระเบียบกำหนด และจะต้องแลกบัตรผ่าน เข้า-ออกทุกคัน
(2)ตรวจตราบุคคลภายนอก ยานพาหนะที่เข้า-ออก ภายในเขตหมู่บ้าน พร้อมทั้งจดบันทึก ชื่อ ที่อยู่ ทะเบียนรถ และตรวจตราสิ่งของอย่างละเอียด กรณีงานตกแต่งต่อเติมบ้านคนงานหรือลูกมือของช่างผู้รับเหมาที่มาด้วยจะต้องแลกบัตรทุกคนและเดินผ่านกล้อง cctv
(3)ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการจราจรทางเข้า-ออก หน้าหมู่บ้าน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
(4)บุคคลภายนอกที่เข้ามานำทรัพย์สินของสมาชิกออกนอกบริเวณหมู่บ้าน จะแจ้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และต้องมีลายเซ็นในใบอนุญาตของสมาชิก และให้เจ้าหน้าที่สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเซ็นอนุญาตอีกครั้ง
(5)ในการขนย้ายหรือนำทรัพย์สินของมีค่าต่าง ๆ ออกภายนอกบริเวณหมู่บ้าน เจ้าของบ้านหรือตัวแทนจะต้องแจ้งคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
(6)ต้องคอยสอดส่อง ดูแลให้ผู้รับเหมาต่าง ๆ ที่เข้ามาทำงานภายในหมู่บ้าน ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด
(7)ดูแลไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อความปลอดภัยของสมาชิกภายในหมู่บ้าน ไม่ว่าเพื่อเหตุผลในการถ่ายรูป ถ่ายวีดีโอ หรือถ่ายทำภาพยนตร์ ต่าง ๆ และไม่อนุญาตให้ขายของ แจกเอกสารใด ๆ ทั้งสิ้นภายในหมู่บ้าน โดยเด็ดขาด ยกเว้นได้รับอนุญาต จากคณะกรรมการนิติบุคคลเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกรณีไป
(8)กำหนด ให้เปิดไฟฟ้าส่องสว่างตามเส้นทางภายในหมู่บ้าน เพื่อบริการสาธารณะและอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกในเวลาค่ำคืน (เปิดและปิดตามเวลาที่กำหนด หรือสังเกตจากดินฟ้าอากาศ)
1
(9)ตรวจตราและแก้ไขปัญหากรณีเกิดอัคคีภัย การโจรกรรม และความไม่สงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านและจะต้องทำการระงับเหตุการณ์ร้าย โดยให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจของพื้นที่นั้น ๆ ให้มาดำเนินการ
(10)นอกจากนี้ยังมีมาตรการควบคุม และให้ตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่บ้านสมาชิกทุกหลัง และจะต้องอำนวยความสะดวกแก่สมาชิก บริวารของสมาชิก และบุคคลภายนอกที่มาติดต่อภายในหมู่บ้าน
ข้อ 21 . การขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน ภายในบริเวณนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้ขับขี่รถในทางเดินรถด้านซ้าย สำหรับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ให้ใช้ความเร็วในการขับขี่ได้ไม่เกิน 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะต้องปฏิบัติตามกฎ และเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด รถที่เข้าออกภายในหมู่บ้าน จะต้องได้รับอนุญาต โดยมีเครื่องหมายหรือสัญญาลักษณ์ ตามที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งได้มาของสัญญาลักษณ์ หรือเครื่องหมาย หรือวัตถุอื่นใด ของรถที่ได้อนุญาตให้ปรากฎหลักฐานของรถนั้นๆ และบ้านของสมาชิกเก็บหลักฐานไว้ที่ สำนักงานนิติ เพื่อตรวจสอบได้ หรือให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ห้ามบุคคลใดนำรถบรรทุกเกินกว่า 6 ล้อเข้ามาในหมู่บ้านเด็ดขาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ หรือ ผู้จัดการ เท่านั้น
ข้อ 22. ห้ามจอดรถในทางร่วมทางแยก หรือระยะ 5 เมตรจากทางร่วมทางแยก หรือบนทางเท้า และสนามหญ้า สำหรับถนนที่มีพื้นผิวการจราจรกว้าง 6 เมตร หรือน้อยกว่า การจอดรถต้องไม่จอดในลักษณะที่กีดขวางการจราจรเช่น จอดตรงกันทั้งสองด้านของถนน สำหรับถนนบริเวณซึ่งใช้เป็นที่กลับรถ ห้ามบุคคลใด ใช้เป็นที่จอดรถ หรือวางสิ่งกีดขวางใดๆ โดยเด็ดขาด
ข้อ 23. ห้ามบุคคลใดนำรถบรรทุกเกินกว่า 6 ล้อเข้ามาในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการเท่านั้น
ข้อ 24. หากสมาชิกที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือข้อห้ามเกี่ยวกับการจราจร ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรดำเนินการเปรียบเทียบปรับครั้งละไม่เกิน 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) แต่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และ/หรือใช้มาตรการอื่นใดได้ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ข้อ 25.ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ หรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย และการจราจรเพิ่มเติมให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสมาชิก และนิติบุคคลหมูบ้านจัดสรรได้ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎระเบียบนี้
ข้อ 26. สมาชิกจะต้องดูแลที่ดินแปลงจัดสรร ไม่ให้เป็นบริเวณ หรือสถานที่ที่อาจเกิดภัยอันตรายแก่สมาชิกอื่น ๆ หากสมาชิกไม่ดูแลดำเนินการคณะกรรมการนิติบุคคล มีสิทธิอันชอบธรรมในการดำเนินการให้เรียบร้อย โดยเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากสมาชิกเจ้าของแปลงจัดสรรนั้น
2
กฎระเบียบหมวดที่ 5
การดูแลรักษาความสะอาด
ข้อ 27. ให้สมาชิกดำเนินการและควบคุมให้บริวารของสมาชิก ดำเนินการในการทิ้งขยะ หรือสิ่งของที่เหลือใช้ที่มิใช่ขยะก่อสร้างลงในที่พักขยะของสมาชิกเท่านั้น และหากพบว่าขยะดังกล่าวล้นเต็มภาชนะและยังมิได้มีพนักงานเข้ามาดำเนินการจัดเก็บให้เรียบร้อย ให้สมาชิกดำเนินการแจ้งให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทราบเพื่อทำการแก้ไขทันทีที่ตรวจพบ
ข้อ 28. สมาชิกจะต้องจัดระบบ ระบายน้ำเสีย และน้ำโสโครกภายในที่ดินแปลงจัดสรรให้อยู่ในสภาพที่ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่สมาชิกอื่น ๆหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้สาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะของสมาชิก หรือต่อระบบการรักษาความสะอาดของหมู่บ้าน
1
กฎระเบียบหมวดที่ 6
การต่อเติมตกแต่ง
ข้อ 29. สมาชิกหรือผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงจัดสรร ที่มีความประสงค์จะดัดแปลงแก้ไข หรือต่อเติมตกแต่งสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งกำแพงรั้ว ที่กั้นพื้นที่ในแปลงจัดสรร จะต้องส่ง
1.แบบก่อสร้าง และระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างต่อเติม โดยการต่อเติมสิ่งก่อสร้างจะต้องไม่กระทบต่อโครงสร้างของระบบสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และควรมีระยะเว้นจากผนัง ภายนอกอาคาร ถึงแนวเขตที่ดินแต่ละด้านโดยรอบตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
2.ใบอนุญาตให้ทำการต่อเติมสิ่งก่อสร้างของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง กรณีการต่อเติมที่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการ
3.ชื่อบริษัท หรือผู้รับเหมาทำการต่อเติมสิ่งก่อสร้าง และรายชื่อพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ที่จะเข้ามาทำการต่อเติมสิ่งก่อสร้างทุกคน โดยไม่มีข้อยกเว้น
ให้ผู้จัดการนิติบุคคล หรือคณะกรรมการตรวจสอบก่อนดำเนินการ และจะอนุญาตได้ต่อเมื่อได้ตรวจสอบแล้ว เห็นว่าไม่กระทบกระเทือนต่อโครงสร้างและงานระบบต่าง ๆ รวมถึงระบบสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ และ / หรือ ไม่ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ 30. เจ้าของบ้านมีหน้าที่ตรวจดุแบบให้ถี่ถ้วนว่าการก่อสร้าง ต่อเติมอาคารจะต้องไม่ล้ำเข้าไปในที่สาธารณะหรือต้องห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด เจ้าบ้านมีหน้าที่ทำความเข้าใจกับเพื่อนบ้านและต้องได้รับอนุญาตจากเพื่อนบ้านเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลัง
ข้อ 31.ก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 15 วัน เจ้าของบ้านต้องได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างต่อเติมผู้จัดการนิติบุคคล และนิติบุคคลจะอนุมัติให้ก่อสร้างต่อเติมได้เมื่อตรวจสอบแล้วเห็นว่าการก่อสร้างต่อเติมนั้นไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ หรือทรัพย์สินส่วนกลางใดๆ ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร รวมทั้งไม่เป็นการฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับ หรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษาความปลอดภัยของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่เป็นผู้ที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคประจำเดือน โดยแจ้งผลการอนุมัติ หรือไม่อนุมัติการก่อสร้างต่อเติม ให้ทราบ ภายใน 15 วัน
ข้อ 32. เมื่อได้รับอนุมัติให้ดำเนินการแล้วการดำเนินการตามข้อ 31. สมาชิกหรือผู้ใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงจัดสรรจะต้องวางเงินค้ำประกันหรือ แคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ศุภาลัย วิลล์ กรุงเทพ-ปทุมธานี โดยจะคืนเงินค้ำประกัน หรือแคชเชียร์เช็คภายใน 15 วัน ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์อัตราค่าวางเงินค้ำประกันไว้ดังนี้
ในกรณีมีการก่อสร้างอาคารบนที่ดินเปล่าต้องวางเงินประกันในอัตรา20,000 บาท
ในกรณีมีการรื้อถอนต่อเติมอาคารหรือก่อสร้างรั้วต้องวางเงินประกันในอัตรา 10,000 บาท
ในกรณีมีการซ่อมแซมอาคารทาสีบ้านหรือจัดสวนต้องวางเงินประกันในอัตรา 3,000 บาท
ข้อ 33. กำหนดให้คณะกรรมการ เป็นผู้กำหนดระเบียบปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากระเบียบนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้รับเหมา ช่าง หรือคนงาน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่รบกวนต่อสมาชิกข้างเคียง และสมาชิกอื่น และไม่ทำให้สาธารณูปโภค และการบริการ สาธารณะชำรุดเสียหาย และกำหนดให้ผู้จัดการนิติบุคคลเป็นผู้ควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบ ดังต่อไปนี้
(1)ห้ามมิให้ทำงานที่เกิดเสียงดังเกินเป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นการรบกวนสมาชิกข้างเคียง และทำงานได้ในวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 08.00-18.00 น. งดเว้นวันอาทิตย์
(2)การจัดทำที่อาบน้ำ ห้องส้วม ที่ทิ้งขยะ ต้องจัดเหมาะสมถูกสุขลักษณะ และต้องป้องกันกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ และไม่ขัดต่อสายตาคนทั่วไป
(3)ไม่อนุญาตให้ผู้รับเหมา ช่าง หรือคนงาน เข้ามาพักอาศัยภายในหมู่บ้าน และบริเวณภายในบ้านของสมาชิก เนื่องจากรบกวนการพักอาศัยของสมาชิกโดยทั่วไป และอาจก่อให้เกิดปัญหาในการรักษาความปลอดภัยได้
(4)การเข้า -ออก ในแต่ละวันของผู้รับเหมา ช่าง และคนงานทุกคน จะต้องมีการแลกบัตรประจำตัวที่ทางราชการออกให้ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ และใบอนุญาตขับขี่เป็นต้น และจะต้องถ่ายสำเนาบัตรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งให้แก่สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก่อนเข้ามาทำงานในหมู่บ้าน ด้วย
(5)ห้ามก่อกองไฟหุงต้มอาหาร หรือทำให้เกิดควันไฟ หรือเปิดวิทยุ โทรทัศน์เสียงดังรบกวนสมาชิกข้างเคียง
(6)ห้ามคนงานเดินเพ่นพ่าน หรือไปจับกลุ่มคุยกันหรือเมียงมองหรือสนิทสนมกับสาวใช้บ้านอื่นและห้ามเล่นการพนันหรือดื่มสุรา
(7) ห้ามคนงานนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในหมู่บ้าน
(8) ให้คนงานทำงานบริเวณพื้นที่ด้วยความสงบ มิให้ก่อความเดือดร้อนใด ๆ ถ้าหากได้รับแจ้งจากสมาชิกบ้านข้างเคียงว่าคนงานได้ก่อความเดือดร้อนเป็นที่รำคาญ หรือส่อเค้าในทางทุจริตใด ๆ ทั้งปวง ผู้จัดการนิติบุคคลมีอำนาจไม่ให้บุคคลเหล่านี้ เข้าทำงานในหมู่บ้านได้
(9)ผู้รับเหมาต้องจัดหาผ้าใบมาติดตั้งเพื่อป้องกันฝุ่นละอองที่เกิดจากการทำงานมิให้ปลิวกระจายไปบ้านข้างเคียง และจะต้องระวังเศษวัสดุหล่นลงไปในบ้านข้างเคียง ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ห้ามผสมปูนและวัสดุเปรอะเปื้อนบนถนนและทางเท้า หรือปล่อยให้เศษวัสดุ เช่น เหล็ก ไม้ อิฐปูน หิน ดิน ทราย น้ำปูน ไหลลงท่อระบายน้ำ และเมื่อเลิกงานในแต่ละวัน ให้เก็บทำความสะอาดเศษวัสดุไม่ให้มีบนถนน เช่น เศษเหล็ก ตะปู หรือเศษใบไม้ เป็นต้น หากไม่มีการดำเนินการทำความสะอาดเมื่อเลิกงานในแต่ละวัน คณะกรรมการนิติบุคคลสามารถหักเงินค้ำประกันความเสียหายเพื่อดำเนินการจ้างบุคคลอื่นทำความสะอาดให้เรียบร้อยได้
(10)เมื่อเสร็จงานปูนแต่ละวัน ให้ตรวจดูความเรียบร้อยของบ่อพักท่อระบายน้ำ ด้วยว่ามีหิน ทราย หรือน้ำปูน ค้างที่บ่อพักหรือไม่ ถ้ามีให้ดำเนินการเก็บกวาดให้เรียบร้อย
(12)ให้เก็บหรือกองวัสดุในบ้านของสมาชิกผู้ว่าจ้างเท่านั้น ห้ามวางวัสดุ อิฐ หิน ไม้ ปูน ทราย หรือสิ่งอื่นใดลงบนพื้นถนน หรือพื้นทางเท้า สนามหญ้า หรือบนแปลงที่ดินของบุคคลอื่น
(13)การใช้ความเร็วของยานพาหนะไม่เกิน 20 ก.ม. / ช.ม. และพาหนะจะต้องไม่มีเสียงดังเกินเกณฑ์ที่กำหนดโดยเจ้าพนักงานจราจร ไม่มีควันดำ มีสภาพการใช้งานที่สมบูรณ์
(14)การขนย้ายวัสดุ การขนวัสดุ ซึ่งทำให้เกิดความสกปรกบนพื้นถนน หรือความเสียหายกับถนน หรือสาธารณูปโภคต้องรีบดำเนินการแก้ไขให้อยู่ใสภาพเดิมทันที
(15)ห้ามนำเข้าหรือขนย้ายวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือออกในช่วงเวลายามวิกาลตั้งแต่เวลา 18.00 – 07.00 น. ของวันถัดไป และห้ามขนย้ายโดยรถบรรทุกสิบล้อขึ้นไป เพราะจะทำให้พื้นถนนทรุดเสียหาย และหากทำให้ทรัพย์สินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเสียหายเจ้าของรถและสมาชิกผู้ว่าจ้าง จะต้องชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนในการซ่อมแซมเพื่อให้ใช้งานได้ดีดังเดิม
(16)ต้องช่วยกันรักษาความสะอาดในบริเวณที่ก่อสร้าง รวมถึงการจัดหาถังขยะไว้ใช้งานไห้ถูกสุขลักษณะ ไม่ให้รบกวนสมาชิกข้างเคียง
(17) ผู้รับเหมาที่ทำงานจัดสวน หรือทำสนามหญ้า ห้ามทำดินลงในท่อ และจะต้องขนดินให้เข้าภายในบริเวณสถานที่ทำงานให้หมดภายในวันนั้น ต้นไม้ใบหญ้าจะต้องขนออกไปทิ้งนอกหมู่บ้าน ห้ามกองไว้ข้างถังขยะเด็ดขาด
(18) ผู้รับเหมาตัดหญ้า ตกแต่งสวน หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง จะต้องนำเศษหญ้า ต้นไม้ กิ่งไม้ หรือวัสดุ ก่อสร้างที่เกิดจากการทำงานออกไปทิ้งนอกหมู่บ้าน ห้ามกองไว้นอกถังขยะ หรือทาง เท้าหน้าหมู่บ้านโดยเด็ดขาด
(19) การทำงานเชื่อมถนนในตัวบ้านกับถนนของหมู่บ้าน การขุดรื้อคันหิน บล็อกปูทางเท้า ต้นไม้ ต้องระวังเรื่องท่อประปา ท่อระบายน้ำ ซึ่งอาจชำรุด เสียหายได้ และจะต้องปูบล็อกทางเท้ากลับสภาพเดิม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของหมู่บ้าน และพึงหลีกเลี่ยงการทำงานบริเวณถนนทางเชื่อมตรงกับแนวเสาไฟฟ้า ฝาบ่อพักท่อระบายน้ำ และการทำทางเข้าออกใหม่ นอกเหนือจากทางเข้าออกเดิม ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อการรักษาทัศนียภาพโดยรวมของหมู่บ้าน
(20)การทำรั้ว ต้องยึดแนวเขตเป็นหลัก ห้ามดำเนินการก่อสร้างรุกล้ำ พื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านทั้งบนดิน ใต้ดิน และในอากาศ ส่วนแนวรั้วที่ติดกับแปลงที่ดินข้างเคียงทั้งด้านข้าง และด้านหลังให้ยึดแนวของขอบรั้ว เมื่อสร้างเสร็จแล้วไม่ให้เกินแนวหลักเขต และพึงระวังมิให้แนวหลักเขตเคลื่อนย้าย หรือชำรุดเสียหาย หากมีการเปลี่ยนแปลงแนวรั้วที่ติดกับแปลงที่ดินข้างเคียงจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกข้างเคียงก่อน ดำเนินการ และจะต้องแจ้งให้คณะกรรมการทราบล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษร
(21)การต่อเชื่อมท่อระบายน้ำจากตัวบ้านกับท่อสาธารณะ จะต้องเชื่อมต่อและยาแนวปิดรอยเชื่อมให้เรียบร้อย เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับดินไหลลงท่อระบายน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันได้
(22)ในกรณีที่มีการต่อเติมอาคารติดแนวรั้ว ต้องทำรางน้ำเพื่อป้องกันน้ำกระเด็นไปทำความเสียหายให้บ้านข้างเคียง
(23)ต้องให้ความร่วมมือกับ ผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเจ้าหน้าที่นิติบุคคล และพนักงานรักษา
ความปลอดภัยในกรณีที่ทางบริษัทผู้รับเหมา หรือผู้รับจ้างไม่ให้ความร่วมมือ อันเป็นการก่อให้เกิดการเสียหายกับทางหมู่บ้าน และสมาชิกโดยส่วนรวม หรือรบกวนความสุขสงบของ
1
ผู้อื่น ทางคณะกรรมการ ต้องของดการทำงานหรือควบคุม การเข้า-ออกในหมู่บ้าน
(24)การดำเนินการตามข้อ 33. (1) - (23) หากฝ่าฝืนกฎระเบียบและข้อบังคับฉบับนี้ คณะกรรมการจะดำเนินการตาม
(25)ข้อบังคับ และระเบียบ ตามขั้นตอน โดยจะต้องให้ผู้รับเหมาหยุดดำเนินการและชี้แจงเหตุผล ความเสียหาย พร้อมทั้งกำหนดแผนการดำเนินการ แผนการแก้ไข หรืองานซ่อมแซม และเมื่อทราบแน่ชัดว่าเกิดจากการกระทำของผู้รับเหมาหรือบริวาร ให้ผู้รับเหมาดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อย หากไม่ดำเนินการให้คืนสู่สภาพเดิมคณะกรรมการจะหักเงินค้ำประกัน เพื่อจัดจ้างผู้รับเหมาอื่นให้แก้ไขให้เรียบร้อย และ / หรืออาจพิจารณาห้ามมิให้ผู้รับเหมาเข้ามาทำงานในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด และในกรณีตรวจสอบโดยแน่ชัดแล้วว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นมาจากที่ดินแปลงจัดสรร ของสมาชิก สมาชิกเจ้าของที่ดินแปลงจัดสรรดังกล่าว จะต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของนิติบุคคล เข้าทำการตรวจสอบและแจ้งรายการซ่อมแซม และสมาชิกเองจะต้องซ่อมแซมแก้ไขทรัพย์ดังกล่าว ให้กลับสู่สภาพการใช้งานได้ตามปกติ โดยค่าใช้จ่ายของสมาชิกเอง หากไม่ดำเนินการซ่อมแซม นิติ บุคคลหมู่บ้านจัดสรร จะเป็นผู้ดำเนินการซ่อมแซมและสมาชิกต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
(26)การใด ๆ ที่นอกเหนือจาก ข้อ33. (1) - (24) ให้อยู่ในความเห็นชอบของคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ 34. การขอคืนเงินค้ำประกันเมื่องานต่อเติมสิ่งก่อสร้างเสร็จแล้ว เจ้าของบ้านต้องแจ้งให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทราบเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินส่วนกลาง ร่วมกับเจ้าของบ้านและผู้รับเหมา หากไม่ถูกต้องตามแบบที่ขออนุญาตไว้มากเกินกว่าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด หรือไม่เป็นไปตามหลักวิศวกรรมและ/หรือ ทำให้เกิดผลกระทบกับทรัพย์สินส่วนกลางของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือสมาชิกอื่น เจ้าของบ้านมีหน้าที่ต้อง ทำการแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน
ข้อ 35.ในกรณีการก่อสร้างต่อเติมที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินส่วนกลาง หรือทรัพย์สินของสมาชิกรายอื่น เจ้าของบ้านมีหน้าที่ซ่อมแซม แก้ไขกลับคืนให้สู่สภาพใช้งานได้ดีดังเดิม
ข้อ 36. การก่อสร้างต่อเติม ที่เป็นไปตามระเบียบและไม่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินใดๆของส่วนกลางหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตรวจสอบแล้วว่าไม่มีข้อบกพร่องใดๆ หรือข้อบกพร่องแต่ได้แก้ไขแล้วตามข้อ 35. ดังกล่าว หรือหักเงินค่าเสียหายจากเงินค้ำประกันแล้วยังคงมีเงินค้ำประกันส่วนที่เหลือ ให้เจ้าของบ้านที่ยื่นขอคืนเงินค้ำประกันทั้งหมด หรือเงินค้ำประกันส่วนที่เหลือแล้วแต่กรณีได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ตรวจสอบความเรียบร้อยเสร็จสิ้นโดยไม่มีดอกเบี้ยแต่อย่างใด
ข้อ 37. ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อเติมสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสมาชิก และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ข้อ 38. บทกำหนดโทษ ของการก่อสร้าง ต่อเติม ที่ไม่ถูกต้องตามแบบข้อ 29. หรือฝ่าฝืนระเบียบ และ/ หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินส่วนกลางหรือทรัพย์สินของสมาชิกรายอื่น หากเจ้าของบ้านไม่ทำการแก้ไขหรือ แก้ไขแล้วยังไม่ถูกต้อง ต้องยินยอมให้นิติบุคคล
หมู่บ้านจัดสรรดำเนินการแก้ไข โดยเจ้าของบ้านเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น และให้หักค่าใช้จ่ายจากเงินค้ำประกันความเสียหาย หากเงินค้ำประกันไม่พอชำระค่าเสียหาย เจ้าของบ้านต้องชำระค่าเสียหายเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายใน 30 วันที่ได้รับแจ้งจากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ 39. กรณีเจ้าของบ้านไม่ชำระเงินค่าเสียหายเพิ่มเติมให้ครบถ้วนตามข้อ 38. และเจ้าหน้าที่นิติบุคคลได้ทวงถามแล้ว นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีให้ชำระค่าเสียหาย ค่าทนามความ และค่าธรรมเนียมอื่นๆ ให้ครบถ้วน
กฎระเบียบหมวดที่ 7
การเลี้ยงสัตว์
ข้อ 40. การเลี้ยงสัตว์ภายในที่ดินแปลงจัดสรร นอกจากจะต้องเป็นสัตว์เลี้ยงตามปกติวิสัย และไม่เป็นการเลี้ยงเพื่อการค้า ซึ่งสมาชิกจะต้องปฏิบัติภายใต้กฎหมายอื่นที่บัญญัติไว้ โดยต้องดูแลความเรียบร้อย ไม่รบกวนความสงบเรียบร้อยหรือก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญ หรือเป็นอันตรายแก่สมาชิกอื่น และในกรณีที่จะนำออกจากที่ดินแปลงจัดสรร สมาชิกหรือบริวารของสมาชิกจะต้องดูแลให้เรียบร้อยและควบคุมได้ตลอดเวลา โดยใส่สายลากจูง และปฏิบัติดังนี้
(1)หากสุนัขและสัตว์เลี้ยง จากบ้านใดออกมาในที่สาธารณะ ไล่กัดคนหรือสัตว์เลี้ยงอื่น จะด้วยความประมาทของผู้ดูแลหรือไม่ก็ตาม เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย และค่ารักษาพยาบาลเต็มจำนวน และหากผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน แจ้งให้คณะกรรมการทราบ เป็นลาย ลักษณ์อักษร ให้คณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจกำหนดบทลงโทษ
(2)หากสุนัขและสัตว์เลี้ยงจากบ้านใดออกมาในที่สาธารณะ และหลุดออกจากการดูแลอย่าง ใกล้ชิด หรือจากสายที่ลากจูงไว้จะด้วยความประมาทของผู้ดูแลหรือไม่ก็ตาม และสร้างความเดือดร้อนและหวาดกลัวแก่ผู้อื่น เช่น พยายามกัด หรือ เห่า จนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนแจ้งให้คณะกรรมการทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ทางคณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจกำหนดบทลงโทษ
(3)หากสุนัขและสัตว์เลี้ยงจากบ้านใดออกมาในที่สาธารณะ โดยไม่มีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิดพร้อมสายลากจูงลากไว้ จะถูกเจ้าหน้าที่นิติบุคคลใช้วิธีใด วิธีหนึ่ง จับมากักขังไว้ และให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงมารับกลับไปได้ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการเป็นผู้กำหนดบทลงโทษ และหากไม่มีผู้ใดมารับสุนัขและสัตว์เลี้ยงคืนภายใน 3 วัน จะจัดส่งสุนัขและสัตว์เลี้ยงให้เทศบาล หรือส่งไป สถานที่เหมาะสมต่อไป พร้อมทั้งเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการจัดส่งนั้นด้วย ทั้งนี้เจ้าหน้าที่นิติบุคคลจะไม่รับผิดชอบต่อสุขภาพของ สุนัขและสัตว์เลี้ยงในระหว่างการควบคุมแต่อย่างใด
(4)หากสุนัขและสัตว์เลี้ยงจากบ้านใด ออกมาถ่ายอุจจาระในบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งรวมถึง ถนน ทางเท้า พุ่มไม้ สวนหย่อม สนามหญ้า และบริเวณบ้านข้างเคียง จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผู้ดูแลจะต้องจัดการเก็บ
กวาด ให้เรียบร้อยในทันที หากได้รับการร้องเรียนจากสมาชิก หรือพนักงานรักษาความปลอดภัยให้คณะกรรมการเป็นผู้มีอำนาจกำหนดบทลงโทษเจ้าของสัตว์เลี้ยง
(5)หากสุนัขและสัตว์เลี้ยงจากบ้านใดออกมาในที่สาธารณะโดยไม่มีผู้จูงไว้ เกิดประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บ หรือเกิดอันตรายแก่ชีวิต เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใดทั้งสิ้น และหากอุบัติเหตุนั้นทำให้ผู้ประสบเหตุเกิดความเสียหายตามมา และผู้ประสบเหตุได้รับเสียหาย ความเดือดร้อน และแจ้งให้คณะกรรมการทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ทางคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้มีอำนาจกำหนดบทลงโทษเจ้าของสัตว์เลี้ยงยกเว้นโดยเจตนา
ข้อ 41.สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องสะอาดอยู่เสมอ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมม จนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
ข้อ 42. เมื่อสัตว์ตาย เจ้าของต้องกำจัดซากให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงหรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ
ข้อ 43. ต้องจัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรง ตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ มีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ โดยถูกสุขลักษณะ
ข้อ 44. ต้องควบคุมสัตว์เลี้ยงไม่ให้ส่งเสียงรบกวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน
ข้อ 45. จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตามประเภทของสัตว์อย่างสม่ำเสมอทุกปี อาทิ การฉีดวัคซีนป้งอกันโรงพิษสุนัขบ้า เป็นต้น และในกรณีที่มีเหตุควรสงสัยว่าสัตว์ที่เลี้ยงนั้นเป็นโรค อันอาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลทั่วไป ให้แยกกักสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทราบเพื่อแจ้งเรื่องนี้ต่อไปยังปศุสัตว์จังหวัดกรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไป
ข้อ 46. กรณีสมาชิกฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้มีหนังสือแจ้งเตือนแล้ว ยังคงเพิกเฉย และฝ่าฝืนระเบียบนี้อยู่ สมาชิกผู้ฝ่าฝืนต้องจ่ายค่าปรับอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนระเบียบ ครั้งละ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน) ทุกครั้งที่พบการฝ่าฝืน
ข้อ 47. ให้คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ หรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสมาชิก และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ โดยไม่ขัดแย้งกับระเบียบนี้
กฎระเบียบหมวดที่ 8
เงินกองทุน และค่าใช้จ่าย
ข้อ 48. สมาชิกอาจร่วมกันจัดตั้งกองทุนไว้เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการบริหาร จัดการ หรือเพื่อการพัฒนา ปรับปรุงและซ่อมแซม หรือจัดซื้อทรัพย์สินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยเรียกเก็บจากสมาชิก เฉลี่ยตามอัตราส่วนที่ที่ประชุมใหญ่กำหนดเงินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ประกอบด้วยรายได้และดอกเบี้ยของเงินแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
(1) เงินกองทุนเดิมที่มีอยู่แล้ว
(2) เงินกองทุนสมทบที่ผู้จัดสรรที่ดินจัดให้
(3) เงินกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่
(4) เงินค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากสมาชิก รวมทั้งค่าทวงถาม และเบี้ยปรับจากผู้ที่ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับและระเบียบนี้
(5) เงินกองทุนที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ
(6) เงินช่วยเหลือจากภาครัฐ เอกชน หรือเงินบริจาคโดยไม่มีเงื่อนไข
(7) เงินค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้รับโอนจากผู้จัดสรรที่ดินตามข้อบังคับ
ข้อ 49. สมาชิกแต่ละรายต้องออกค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา การจัดการ สาธารณูปโภค รวมถึงบริการสาธารณะต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละเดือนตามมติที่ประชุมใหญ่จะกำหนด อัตราการจัดเก็บ ให้สมาชิกชำระเป็นการล่วงหน้าและต้องชำระภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากผู้มีอำนาจเรียกเก็บ โดยชำระ ณ สำนักงานที่ตั้งของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือ โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
อัตราที่กำหนดไว้นี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมทางสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งจะได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่
ข้อ 50. ให้เจ้าหน้าที่นิติบุคคลจัดเก็บค่าใช้จ่ายประจำเดือนตามข้อ 49. จากสมาชิกทุกรายตามขนาดพื้นที่ดินของสมาชิก ในอัตราตารางวาละ 25 บาทต่อเดือน (ยี่สิบห้าบาทต่อตารางวาต่อเดือน) โดยแบ่งการชำระเป็นรายเดือน แต่เพื่อให้การดำเนินการนิติบุคคลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและใช้เงินตามวัตถุประสงค์ สมาชิกควรชำระค่าส่วนกลางล่วงหน้า 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน 12 เดือน ให้ชำระภายในวันที่ 30 ของเดือน มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปี
ข้อ 51. ให้สมาชิกทุกรายเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายประจำเดือน ตามอัตราที่กำหนดในข้อ50
ข้อ 52. การจัดเก็บค่าใช้จ่ายตามข้อ 50. หรือเงินอื่นใดจากสมาชิก ให้ผู้รับเงินออกหลักฐานเป็นหนังสือให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้ง โดยหลักฐานดังกล่าวทุกฉบับต้องลงลายมือชื่อผู้จัดการนิติบุคคล หรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายและมีสำเนาเก็บไว้ที่สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร 1 ฉบับ
ข้อ 53.สมาชิกที่ชำระเงินค่าใช่จ่ายล่าช้ากว่าที่กำหนด หรือค้างชำระค่าใช้จ่าย หรือชำระค่าใช้จ่ายด้วยเช็คแต่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) ให้เจ้าหน้าที่นิติบุคคลทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระ โดยให้ทวงถามเดือนละไม่เกิน 1 ครั้ง พร้อมกับแจ้งให้สมาชิกทราบว่าหลังจากสมาชิกได้รับหนังสือทวงถามแล้ว 7 วันยังไม่ชำระ นอกจากต้องชำระค่าทวงถามครั้งละ 500บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน) แล้วยังต้องชำระค่าปรับในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนเงินที่ค้างชำระต่อเดือนเศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน โดยต้องชำระทั้งค่าปรับและค่าทวงถามในวันที่ชำระค่าใช้จ่ายที่ค้างชำระ
(2) ให้เจ้าหน้าที่นิติบุคคลติดต่อสมาชิกที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายตามข้อ 53 (1) ให้มาประนอมหนี้ตามแนวทางที่คณะกรรมการเห็นสมควร
(3) ให้คณะกรรมการมีอำนาจในการพิจารณาลดค่าใช้จ่ายที่ค้างชำระ หรือยกเว้นค่าทวงถามหรือค่าปรับให้แก่สมาชิกได้ตามที่เห็นสมควร โดยกำหนดหลักเกณฑ์หรือแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสมาชิก และนิติบุคคลบ้านจัดสรรได้โดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้
ข้อ 54. การรับ การจ่ายและการเก็บรักษาเงินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามข้อ 52. ให้อยู่ในความรับผิดชอบของกรรมการฝ่ายบริหารทั่วไป ผู้จัดการนิติหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย โดยให้มีเงินสดหมุนเวียนในมือแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) และเปิดบัญชีฝากเงินไว้กับธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้ ตามประเภทของเงินฝากและวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้จ่าย ตามรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
(1)เงินบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และซ่อมแซมสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะประจำปี ตามข้อ 48. (2) และ (4) เพื่อใช้ในการบริหารจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และเป็นค่าจ้างเจ้าหน้าที่นิติบุคคล พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความสะอาด รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมสาธารณูปโภคที่ใช้งบประมาณไม่เกิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) เช่นค่าซ่อมถนน ไฟฟ้า ประปา หรืองานสาธารณูปโภคอื่นๆ และเครื่องมือ เครื่องใช้ประจำสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
(2)เงินเพื่อการซ่อมแซมและบำรุงสาธารณูปโภคตามข้อ 48. (2) และ (4) เพื่อใช้เป็นค่าสร้างหรือซ่อมแซมสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะที่ต้องใช้งบประมาณตั้งแต่ 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
(3)เงินค้ำประกันสาธารณูปโภคตามข้อ 48. (7) เพื่อใช้เป็นค่าสร้าง หรือ ซ่อมแซมสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะ ซึ่งต้องใช้งบประมาณมาก และเงินเพื่อการซ่อมแซมตามข้อ 54. (2) ไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ
ข้อ 55. การถอนเงินฝาก หรือ โยกย้ายบัญชีเงินฝาก หรือปิดบัญชีเงินฝากจะกระทำมิได้เว้นแต่คณะกรรมการจะมีมติให้ความเห็นชอบแล้ว และให้เป็นไปตามระเบียบนี้ การโยกย้ายหรือการโอนเงินจากบัญชีเงินฝาก ต้องเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีที่เป็นขื่อของ “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ” เท่านั้น
ข้อ 56. การเบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้เบิกถอนด้วยเช็คเท่านั้น โดยให้ประธาน และรองประธาน หรือคนใดคนหนึ่ง ร่วมกับกรรมการที่รับผิดชอบด้านการบัญชีและการเงิน หรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายรวมกันไม่น้อยกว่าสามคน ลงลายมือชื่อในเช็คเพื่อสั่งจ่าย และการเบิกถอนเงินแต่ละเดือนให้คำนวณค่าใช้จ่ายในเดือนนั้นเป็นเกณฑ์ การถอนเงินจากบัญชีเงินฝากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้เบิกด้วยเช็ด โดยระบุชื่อผู้รับ และขีดคร่อม
ข้อ 57. การเบิกถอนเงินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ข้อ 56. ต้องเป็นการเบิกถอนสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและสมาชิก ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในข้อ 54. ดังต่อไปนี้
(1)ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ค่าจ้างพนักงาน ที่ต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน และเครื่องมือเครื่องใช้ประจำสำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ตามข้อ54
(2) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม สาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะซึ่งใช้งบประมาณจากเงินค่าใช้จ่ายตามข้อ 54.
(3)ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับการจัดการบริการสาธารณะ เพื่อสวัสดิการ หรือสาธารณะประโยชน์อื่นๆ ของสมาชิกซึ่งที่ประชุมใหญ่มีมติเห็นชอบแล้ว รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมใหญ่ซึ่งคณะกรรมการ หรือ สมาชิกจัดให้มีการประชุมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือระเบียบนี้
(4)ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
การเบิกถอนเงินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ข้อ 56 ต้องเบิกเงินตามหมวดวัตถุประสงค์ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีในหมวดนั้นๆ ห้ามเบิกเงินข้ามหมวดงบประมาณ ยกเว้น คณะกรรมการมีมติเห็นชอบ การใช้เงินข้ามหมวดวัตถุประสงค์ แต่ต้องรายงานให้สมาชิกทราบถึงเหตุผลในการเบิกเงินข้ามหมวด ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่มีมติใช้เงินข้ามหมวดวัตถุประสงค์
ข้อ 58. การเบิกถอนเงินตามข้อ 57. ให้ผู้จัดการนิติบุคคลเสนอผ่านกรรมการที่รับผิดชอบในเรื่องนั้นๆ พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอให้ประธานพิจารณาและลงนามอนุมัติ เมื่อได้รับการอนุมัติแล้วจึงเสนอให้กรรมการที่มีอำนาจลงนามตามข้อ 56. เพื่อลงลายมือในเช็คสั่งจ่ายเงินต่อไป
ข้อ 59. การเบิกถอนเงิน การโยกย้ายหรือโอนเงินของกรรมการที่ได้รับมอบหมาย หากฝ่าฝืนระเบียบนี้ จะไม่ผูกพันนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และถ้าการเบิกถอนเงินที่ฝ่าฝืนระเบียบ ทำให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้รับความเสียหาย กรรมการที่ลงลายมือชื่อในเช็คต้องรับผิดชอบในความเสียหายซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็นการส่วนตัว
ข้อ 60. ประธานมีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงิน เพื่อใช้ในการบริหารกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้ครั้งละไม่เกิน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) กรณีเบิกถอนเกินกว่านั้นต้องขอมติจากที่ประชุมคณะกรรมการก่อน
ในกรณีที่มีเหตุการณ์พิเศษ ฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และ / หรือเพื่อป้องกันความเสียหาย ความสงบสุขของสมาชิก ให้ประธานมีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินเพิ่ใช้ในการบริหารเหตุการณ์ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ได้ครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)แล้วต้องรายงานให้สมาชิกทราบภายใน 10 วันนับแต่วันเบิกเงิน กรณีเบิกถอนเกินกว่านั้น ต้องขอมติจากที่ประชุมคณะกรรมการ หรือมติที่ประชุมใหญ่ หรือ แล้วแต่ กรณี ดังนี้
(1)อนุมัติวงเงินไม่เกิน 10,001 บาท ถึง 50,000 บาท จะต้องให้คณะกรรมการนิติบุคคลมีมติเป็นเอกฉันท์
(2)อนุมัติวงเงินเกิน 50,001 บาท แต่ไม่ถึง 100,000 บาท จะต้องให้คณะกรรมการนิติบุคคลมีมติเป็นเอกฉันท์และแจ้งสมาชิกทราบถึงวัตถุประสงค์การเบิกเงิน หากมีสมาชิกคัดค้าน ให้ดำเนินการเบิกเงิน และใช้ตามวัตถุประสงค์ต่อไป
(3)อนุมัติวงเงินเกิน 100,001 บาท ขึ้นไป ต้องมีมติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกอย่างน้อย 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
ข้อ 61. การจัดให้มีการประกันอัคคีภัย และภัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร รวมทั้งภัยจากความรับผิดชอบต่าง ๆ โดยความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ โดยนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นผู้เอาประกัน และเป็นผู้รับผลประโยชน์ แทนทั้งหมดจากการประกันภัย เพื่อสามารถใช้เงินนั้นในการซ่อมแซมความเสียหาย หากเกิดขึ้นตามที่เอาประกันไว้ หรือในการใช้เงินนั้น จ่ายค่าชดเชยความเสียหายกรณีที่ทรัพย์สินเสียหายทั้งหมดและคณะกรรมการต้องเรียกประชุมใหญ่ทันที เพื่อลงมติว่าจะทำการก่อสร้างหรือจัดทำใหม่หรือไม่ ในกรณีที่มีมติให้ก่อสร้างคณะกรรมการจะต้องทำการจัดหา ผู้รับเหมาเพื่อก่อสร้างขึ้นใหม่ โดยใช้เงินที่ได้รับจากบริษัทประกัน
ข้อ 62. ในกรณีคณะกรรมการครบวาระการดำรงตำแหน่ง หรือ มีวาระการดำรงตำแหน่งเหลือน้อยกว่า เก้าสิบวัน ห้ามมิให้พิจารณา และ /หรือ มีมติในเรื่องใดๆ ที่ต้องใช้งบประมาณ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพื่อป้องกัน และ/หรือบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และไม่อาจเรียกประชุมคณะกรรมการได้ทัน
กฎระเบียบหมวดที่ 9
บัญชี และการเงิน
ข้อ 63 . ให้คณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายรับ-รายจ่ายประจำปี เสนอต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อขออนุมัติ การใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ภายใน 45 วัน นับจากวันสิ้นงวดบัญชี
ข้อ 64. ให้เจ้าหน้าที่นิติบุคคล จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายเงิน ตามมาตรฐานหลักการบัญชีและงบดุลเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของสมาชิก เก็บไว้ ณ สำนักงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และปิดประกาศให้สมาชิกได้ทราบและเห็นได้ชัดทุกเดือน
ข้อ 65. เมื่อมีเหตุต้องบันทึกรายการในบัญชีเกี่ยวกับกระแสเงินสดของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้บันทึกรายการในวันที่เกิดเหตุนั้น สำหรับเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับกระแสเงินสดให้บันทึกรายการในสมุดบัญชีภายในสามวัน นับแต่วันที่มีเหตุอันจะต้องบันทึกรายการนั้น และการลงบัญชีต้องมีเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สมบูรณ์ครบถ้วนตามมาตรฐานการบัญชี
ข้อ 66. ให้คณะกรรมการนิติบุคคลรายงานงานกิจการ งบดุล บัญชีรายรับ - รายจ่าย ซึ่งผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมาย ตรวจสอบ และรับรองแล้วต่อคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดปทุมธานี ภายใน สามเดือน นับจากวันสิ้นงวดการบัญชี และประกาศรายงานดังกล่าวโดยเปิดเผยให้สมาชิกทราบโดยกำหนดให้วันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันเปิดงวดบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และกำหนดให้ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสิ้นงวดการบัญชีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ข้อ 67. รายงานกิจการงบดุลซึ่งเสนอที่ประชุมใหญ่ตามข้อ 65. ให้มีรายการแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และทุนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ตามมาตรฐานการบัญชีด้วย และให้เก็บรักษารายงานดังกล่าว พร้อมทั้งมติที่ประชุมใหญ่ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องไว้ ณ สำนักงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อให้สมาชิกสามารถตรวจสอบได้
ข้อ 68. ในกรณีที่คณะกรรมการ มีข้อบกพร้องเกี่ยวกับการเงิน หรือการบัญชีตามรายงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือรายงานของคณะอนุกรรมการตามที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดปทุมธานี หรือคณะกรรมการนิติบุคคล กระทำการไม่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ จนทำให้เกิดข้อบกพร่องเสียหาย หรือเสียผลประโยชน์ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือสมาชิก ให้คณะกรรมการจัดสรร
ที่ดินจังหวัดปทุมธานี แจ้งเป็นหนังสือให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องตามวิธีการที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดปทุมธานี กำหนดนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือคณะกรรมการนิติบุคคล ต้องดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องให้แล้ว
เสร็จ ภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถ้าไม่แก้ไขภายในระยะเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดปทุมธานี อาจมีคำสั่งดังต่อไปนี้
(1)ให้ระงับการปฏิบัติงานบางส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดข้อบกพร่อง เสียหาย หรือเสียผลประโยชน์ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือสมาชิก
(2) ให้หยุดดำเนินการชั่วคราว เพื่อปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องนั้นให้เสร็จตามวิธีการ และภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดปทุมธานี กำหนด
ข้อ 68. กรณีสมาชิกประสงค์จะขอตรวจสอบ หรือขอสำเนาเอกสารบัญชีหรือรายงานต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่นิติบุคคลดำเนินการให้ตามที่ขอ โดยมีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่ายได้เท่าที่จำเป็น
กฎระเบียบหมวดที่ 10
สิทธิ และหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ 69. มีหน้าที่ต้องออกค่าใช้จ่าย และเงินกองทุนตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ ข้อ 48(4)
ข้อ 70. มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม”ข้อบังคับ”ฉบับนี้ และกฎระเบียบที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และ / หรือที่ประชุมใหญ่
ข้อ 71. มีสิทธิในการเรียกประชุมใหญ่ตามความในข้อบังคับ
ข้อ 72. มีสิทธิใช้สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎระเบียบข้อบังคับ
กฎระเบียบหมวดที่ 11
บทกำหนดลงโทษ
ข้อ 73. ในกรณีที่สมาชิกไม่ชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าว ตามข้อ 49. หรือกรณีที่เช็คซึ่งชำระให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินสมาชิกจะต้องรับผิดชอบเสียค่าปรับในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละเดือน คำนวณ รวมค่าปรับด้วย เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน
ในกรณีค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีอำนาจในการระงับการให้บริการสาธารณะหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค
1
ในกรณีค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้คณะกรรมการโดยประธานคณะกรรมการหรือผู้ได้รับมอบอำนาจกระทำการแทน ทำหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดปทุมธานี เกี่ยวกับการค้างชำระค่าใช้จ่ายดังกล่าว เพื่อระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ในที่ดินแปลงจัดสรรของผู้ค้างชำระ
จนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน และให้ถือว่า หนี้ค่าบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภคเป็นหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์ เหนือที่ดินแปลงจัดสรร ของผู้ค้างชำระ
ข้อ 74. สมาชิกหรือผู้ใช้ประโยชน์ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ หรือทำความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ ผู้จัดการนิติบุคคล โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและ/หรือ ที่ประชุมใหญ่ มีอำนาจในการงดให้บริการสาธารณะ และมีอำนาจริบเงินค่าประกันหรือเรียกเก็บค่าเสียหาย และ/หรือ ระงับมิให้ ดำเนินการ หรือสั่งการให้รื้อถอนส่วน ใด ๆ รวมทั้งสั่งการให้ปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในสภาพเดิมโดยเป็นค่าใช้จ่ายของสมาชิกนั้น
ข้อ 75.หากสมาชิก หรือบริวาร หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยคณะกรรมการมีอำนาจ ดำเนินการในฐานะผู้เสียหาย หรือตัวแทนผู้เสียหาย โดยการนำมาตรการในข้อ 76.มาบังคับใช้กำหนดเป็นเบี้ยปรับ หรือกำหนดมาตรการในการดำเนินการตามมาตรการนั้น รวมทั้งแจ้งความฟ้องร้องสมาชิกหรือบริวาร หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้น ให้ปฏิบัติตามระเบียบ และ / หรือให้ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อ 76. ในกรณีที่สมาชิกกระทำการฝ่าฝืน ระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการ มีอำนาจในการพิจารณากำหนดบทลงโทษ
1
กฎระเบียบหมวดที่ 12
การจัดการสาธารณูปโภคบริการสาธารณะ และการบริหารหมู่บ้าน
ข้อ 77.การจัดการบริการสาธารณะและการบริหารหมู่บ้าน ให้ผู้จัดการนิติบุคคล โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นผู้จัดการ ตามอำนาจ และข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้ในระเบียบนี้ ทุกประการ โดยรวมถึงการออกกฎข้อบังคับ บทเฉพาะกาล หรือกฎเกณฑ์ข้อบังคับเพิ่มเติมอื่น ๆ โดยทั่วไปและการจัดระบบความปลอดภัยต่าง ๆ จัดพนักงานรักษาความปลอดภัย ตรวจสอบการ เข้า - ออก และการจัดการอื่น ๆ ตามความจำเป็นเหมาะสม รวมทั้งการจ้างพนักงานนิติบุคคล จ้างผู้ดำเนินการต่าง ๆ และกำหนดเงินและค่าใช้จ่ายที่สมควรในการนั้น ๆ
ข้อ78.ในกรณีที่ดินแปลงจัดสรรถูกเวนคืนบางส่วน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ให้สมาชิกซึ่งถูกเวนคืนที่ดินแปลงจัดสรรดังกล่าวหมดสิทธิในการเป็นสมาชิก และคณะกรรมการ จัดประชุมใหญ่ภายใน 30วันเพื่อทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอัตราการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย และการลงคะแนนเสียง ตลอดจนสิทธิ และหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริงทันที พร้อมแจ้งให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดปทุมธานี ทราบ
ข้อ 79.กรณีบุคคลภายนอกใช้สาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะ จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการ และ / หรือที่ประชุมใหญ่
กฎระเบียบหมวดอื่น ๆ
ข้อ 80. การจอดรถภายในพื้นที่สาธารณประโยชน์ ห้ามจอดในจุดห้ามจอด จอดในเส้นสีขาว-แดง หรือจอดตายไม่มีการขยับเป็นเวลานานตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ไม่ว่าจะหน้าบ้านหรือถนนเมน หากฝ่าฝืน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีสิทธิ์ทำตามกฎข้อบังคับ โดยเรียกเก็บค่าจอดในจุดห้ามจอด ล็อคล้อในจุดห้ามจอด หรือ ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจให้นำรถออกจากพื้นที่ กรณีติดต่อเจ้าของรถไม่ได้หรือจอดนานเกิน 1 เดือนเป็นต้น
หมายเหตุ อัตราค่าปรับในการจอดในที่ห้ามจอดจะแจ้งอีกครั้งหลังประชุมวิสามัญประจำปี ประมาณต้นปี 25...
ประธานคณะกรรมการ
“นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ”
โฆษณา