30 ก.ค. 2020 เวลา 16:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ย้อนรอยวิกฤตเศรษฐกิจ ตอนที่ 1: วิกฤตต้มยำกุ้ง
ปี พ.ศ. 2563 ประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า อัตรการขยายตัวของ GDP จะหดตัวประมาณ -8% การขยายตัวของเศรษฐกิจจะมีลักษณะเหมือนเครื่องหมายถูกหางยาว หรือ เครื่องหมายไนกี้ กล่าวคือ เศรษฐกิจจะหดตัวอย่างรวดเร็ว แต่จะค่อยๆฟื้นตัว โดยคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจจะกลับไปสู่ภาวะเท่ากับก่อนเกิดโควิดต้องใช้เวลาถึง 2 ปี เลยทีเดียว
บทความนี้จะพาไปย้อนรอย วิกฤตต้มยำกุ้ง ในปี พ.ศ. 2540
อัตราการขยายตัว GDP ของไทย ในช่วงเกิดวิกฤต ที่มา ธนาคารโลก
วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดจากช่วงเวลานั้นประเทศไทยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีค่าเท่ากับ 25 บาท ประกอบกับช่วงเวลานั้นประเทศไทยเปิดเสรีทางการเงิน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน โดยเปิดกิจการวิเทศธนกิจ หรือ BIBF (Bangkok International Banking Facility) กู้เงินจากต่างประเทศมาปล่อยกู้เงินในประเทศ ทำให้เงินลงทุนไหลจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ในช่วงเวลาดังกล่าวการกู้เงินทำได้ง่าย นักลงทุนไทยนิยมกู้เงินเพื่อเก็งกำไรในที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และหุ้น เช่น นำเงินไปลงทุนซื้อบ้านและขายต่อได้กำไร เมื่อคนส่วนใหญ่เห็นว่าการลงทุนในบ้านทำกำไรได้ง่าย จึงแห่กันลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ก่อให้เกิดภาวะฟองสบู่
1
สัญญาณวิกฤต เมื่อการส่งออกของไทยหดตัวอย่างน่าใจห่าย
เมื่อปี 2539 ค่าเงินหยวนของจีนเอ่อนตัวลง ทำให้ราคาส่งออกของจีนถูกลง การส่งออกของไทยลดลงอย่างมาก ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเริ่มชะลอตัว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนชาวต่างชาติลดลง นักลงทุนต่างชาติเริ่มถอนเงินทุนออกนอกประเทศ ทำให้ความต้องการเงินดอลลาร์ฯเพิ่มมากขึ้น ค่าเงินบาทที่แท้จริงเริ่มอ่อนลง (สมมติว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง คือ 30 บาทเท่ากับ 1 ดอลลาร์ฯ) แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้นประเทศไทยยังใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ แบงค์ชาติจึงนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นเงินดอลลาร์มาซื้อเงินบาท เพื่อรักษาอัตราแลกเปลี่ยนไว้ที่ 25 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์
1
การโจมตีค่าเงินบาทจากนักค้าเงินต่างชาติ
นักค้าเงินชาวต่างชาติ อย่าง George Soros เห็นโอกาสทำกำไรจึงโจมตีค่าเงินบาท โดยนำเงินบาทที่ตุนไว้มาแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐ ในอัตรา 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ ตามที่แบงค์ชาติกำหนดไว้ แล้วเอาเงินดอลลาร์ไปขายเป็นเงินบาทในตลาดต่างประเทศ เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยน และเมื่อนักค้าเงินชาวต่างชาติโจมตีค่าเงินบาทเรื่อยๆ ทำให้ค่าเงินบาทที่แท้จริงอ่อนลง จำนวนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของแบงค์ชาติเพื่อใช้ในการปกป้องอัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์เริ่มร่อยหรอถึงระดับวิกฤต จาก 4 หมื่นล้านดอลลาร์ เหลือเพียง 2.8 พันล้านดอลลาร์
ในที่สุด เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2540 รัฐบาลไทยต้องยอมแพ้ ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท มีผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงตามมูลค่าตลาด เป็น 29 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ และเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2540 ประเทศไทยต้องกู้เงินจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF จำนวน 17,000 ล้านเหรียญดอลลาร์ เพื่อพยุงเศรษฐกิจและทุนสำรองระหว่างประเทศ แต่ค่าเงินบาทยังอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยในต้นปี 2541 ค่าเงินบาทอ่อนลงถึง 56 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ผลกระทบที่ตามมา คือ นักธุรกิจไทยที่กู้เงินจากต่างประเทศมีหนี้สินเพิ่มจากเดิมหลายเท่าตัว หลายธุรกิจที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ต้องปิดกิจการ เกิดการเลิกจ้างงาน สถาบันการเงินจำนวน 56 แห่งจาก 58 แห่ง ปิดกิจการลง รัฐบาลต้องใช้นโยบายรัดเข็มขัด ตั้งงบประมาณเกินดุล 1 % ของ GDP ปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT จาก 7 % เป็น 10 %
บทเรียนจากวิกฤตต้มยำกุ้ง คือ การใช้จ่ายเกินตัว หรือ ความโลก นั่นเอง อย่างไรก็ตาม วิกฤตครั้งนี้ ก่อให้เกิดผลดีหลายอย่าง เช่น ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสีย หรือ NPL ผลค่าเงินบาทอ่อนลง ทำให้ราคาสินค้าส่งออกของไทยถูกลง ไทยสามารถส่งออกได้มากขึ้น จนในที่สุดเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวกลับมาได้
โฆษณา