8 ส.ค. 2020 เวลา 05:00 • การศึกษา
กลางดึกเคยตื่นขึ้นมาแล้วขยับตัวไม่ได้ มีเสียงวิ้งในหู
จะพูดก็ไม่ได้ เหมือนโดนทับหน้าอก แถมเห็นอะไรแปลกๆ อีก
นั่น! คุณโดนผีอำเข้าแล้ว
วันนี้มีเรื่องเกี่ยวกับผีอำมาเล่าให้ฟังกัน โดยเห็นจากเพื่อน (อีกแล้ว) โพสถามในโซเซี่ยล
บวกกับตัวเองมีประสบการณ์เคยเป็นมาก่อน เรื่องมันมีอยู่ว่า
คำว่า ผีอำ หรือ sleep paralysis
จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้คำจำกัดความไว้ว่า
อาการที่ปรากฏเมื่อเวลานอนเคลิ้มไปว่ามีคนปลุกปลํ้า หรือยึดคร่าให้มีอาการเหนื่อยหอบจนตื่นขึ้น
มีความเชื่อในหลากหลายวัฒนธรรมที่พูดถึงเรื่องผีอำไว้ เช่น
ญี่ปุ่น มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งเมื่อนอนหลับแล้วถูกผีนั่งทับและจับปลายขา
แคนนาดา มีเรื่องเล่าว่า ผีอำเกิดจากแม่มดมาทับลำตัว
ไทย ก็มีความเชื่อว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจากฝีมือของภูติผี
แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
ผีอำเป็นอาการหนึ่งของความผิดปกติในตอนเรานอนหลับที่เราจะรู้สึกว่าไม่สามารถขยับตัว หรือส่งเสียงใดๆ แต่เรายังสามารถหายใจ และลืมตาได้
อาการนี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่หลายวินาที จนถึงหลายนาที จะหายก็ต่อเมื่อมีคนปลุก หรือรอเวลาจนอาการนี้ค่อยๆหมดไป หรือลองพยายามขยับตัวดู
การเกิดผีอำนี้สามารถเกิดขึ้นขณะเริ่มหลับ หรือ เกิดขึ้นขณะกำลังจะตื่น
พอถึงตรงนี้ของเล่าเกี่ยวกับ วงจรการนอนหลับ (sleep cycles) ของเรา
จะมีลักษณะการนอนหลับเป็น 2 ระดับ
Rapid Eye Movement Sleep (REM)
สมองเราจะยังตอบสนองต่อสิ่งเร้า แต่ร่างกายจะไม่ทำงาน (เราจะฝันหรือถูกผีอำในระดับนี้)
การเต้นของหัวใจ การหายใจ การขยับของตาจะเพิ่มขึ้น
ในการนอนหลับที่ระดับนี้จะช่วยเสริมสร้างเรื่องความจำ และหลั่งสารแห่งความสุขที่ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย เช่น เซโรโทนิน (serotonin)
การมีระดับเซโรโทนินที่ต่ำ จะส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าได้
และ
Non Rapid Eye Movement Sleep (NREM)
สมองจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าน้อยลง ร่างกายจะผ่อนคลาย พักผ่อนเต็มที่ แบ่งเป็น
ระดับที่ 1
เริ่มเปลี่ยนจากตื่นเป็นนอนหลับ ระดับนี้จะตื่นได้ง่าย หรือเมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกเหมือนตกจากที่สูง กล้ามเนื้อกระตุกกระทันหัน
ระดับที่ 2
หัวใจเริ่มเต้นช้าลง กล้ามเนื้อจะเริ่มผ่อนคลาย อุณหภูมิร่างกายลดลง
เตรียมพร้อมที่จะหลับลึก
ระดับที่ 3 และ 4
เข้าสู่การหลับลึก คลื่นสมองจะลดลง ในระดับนี้เราจะตื่นยากมาก
ภาพจาก www.researchgate.net
จากกราฟ การนอนหลับของเราจะวนตั้งแต่ NREM ระดับที่ 1 ถึง ระดับที่ 4 แล้วกลับมาที่ REM และวนกลับไปอีกครั้ง จะสังเกตุได้ว่าเราจะหลับฝันเป็นช่วงๆ หลายครั้งต่อกันบ้าง ไม่ต่อกันบางที่ภาวะ REM นี่เอง
โดยตอนที่เรานอนหลับสมองเราจะสั่งให้กล้ามเนื้อของเราผ่อนคลายและหยุดนิ่ง
การตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ จะลดน้อยลงในภาวะ REM เพื่อไม่ให้เราขยับไปมาตามที่เราฝัน
(ถ้าเราฝันว่าวิ่งหนีผีอยู่ เราจะลุกขึ้นมาวิ่งจริงๆไม่ได้)
แต่หากในขณะนั้นการนอนหลับถูกรบกวน เราจะสะดุ้งตื่นขึ้น ภาวะนี้จะยังคงอยู่
เเม้ว่าสมองเราจะตื่นแล้วแต่ร่างกายเรายังหลับ ทำให้เราไม่สามารถขยับตัวหรือพูดได้
พอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นสมองเราก็จะเกิดการตีความ ทำให้เกิดภาพหลอนตามสิ่งที่เราคิดออกมา
(เราจะแยกไม่ออกระหว่างเรื่องจริง หรือจินตนาการ ทำให้บางเหตุการณ์เรารู้สึกสมจริงมาก)
เห็นเป็นเงาดำบ้าง
เสียงเเปลกประหลาดบ้าง
รู้สึกว่าตัวเราจะลอยขึ้นจนติดเพดานบ้าง
พยายามขยับตัวรู้สึกว่าขยับแต่ตัวเราจริงๆไม่ได้ขยับบ้าง
เห็นสภาพแวดล้อมรอบห้อง แต่ขยับไม่ได้ (อันนี้ประสบการณ์ตรงทั้งหมดเลย)
ภาพจาก www.archunt.com
ในแต่ละคืนมีประชากรบนโลกไม่น้อยกว่า 8 เปอร์เซ็นต์ เกิดอาการผีอำ และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แต่จะเป็นบ่อยที่ช่วงอายุ 14-30 ปี
โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด การใช้ยาบางประเภท
สภาพแวดล้อมในการนอนหลับ การเข้านอนไม่เป็นเวลา
พบว่าการนอนหงายมีโอกาสเกิดผีอำมากกว่าการนอนตะแคงถึง 4 เท่า
แต่เมื่อเกิดอาการนี้แล้ว ลองพยายามตั้งสติ ขยับนิ้วดู หรือพยายามเอาลิ้นไปดันเพดานปาก จะช่วยได้
(อันนี้ลองทำเอง ฮ่าๆ อยากเล่าเสริมว่าแต่ก่อนเคยมีอาการผีอำนี้บ่อยมากๆ บ่อยจนงง
เลยลองหาข้อมูลดูว่าเกิดจากอะไร พอรู้เเล้วลองปรับตัวอาการที่ว่ามานี่ก็หายไปเลยนะ
นานๆจะเป็นที แต่พอเป็นก็พอรู้ว่าจะเกิดจากอะไร ต้องทำยังไง แต่บางทีสติแตกไง
พยายามดิ้นให้หลุดอยุ่ก็มีบ้าง)
ที่มา
โฆษณา