5 ส.ค. 2020 เวลา 00:05 • หนังสือ
***Highlight ไป...แทบไม่ช่วยอะไร!!!***
Robert Fowler และ Ann Barker
ได้ทำการทดลองกับนักศึกษาป.ตรี
ให้ศึกษาบทความทางวิทยาศาสตร์
เพื่อเตรียมตัวสอบในสัปดาห์ถัดไป
โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
***กลุ่มที่ 1***
(กลุ่มควบคุม)
ให้อ่านบทความโดยไม่มีการเน้นข้อความใดๆ
***กลุ่มที่ 2***
ให้อ่านบทความ
โดยเน้นข้อความใดๆ ก็ได้ตามใจเลย
***กลุ่มที่ 3***
ให้อ่านบทความที่มีการเน้นข้อความเรียบร้อยแล้ว
จากกลุ่มที่ 2 (กลุ่มนี้ไม่ได้เน้นข้อความเอง)
1 สัปดาห์หลังจากศึกษาบทความดังกล่าว
นักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มทำการศึกษาบทความเดิม
เป็นเวลา 10 นาที
นั่นคือ...
กลุ่มแรก ศึกษาบทความที่ไม่มีการเน้นข้อความ
กลุ่มที่ 2 และ 3 ศึกษาบทความที่มีการเน้นข้อความ
ทั้ง 3 กลุ่มทำแบบทดสอบเกี่ยวกับบทความนั้น
ผลปรากฏว่า...
ทั้ง 3 กลุ่มได้ผลการสอบออกมาพอๆ กัน
ไม่มีกลุ่มไหนดีไปกว่ากัน
จึงสรุปว่า...การเน้นข้อความไม่ได้ช่วยอะไรครับ
นอกจากนั้น
ยังพบว่า...นักศึกษาที่เน้นข้อความเยอะๆ
(ไม่สามารถแยกแยะไอเดียที่สำคัญจริงๆ ได้)
ทำผลสอบออกมาได้แย่กว่า
คนที่เน้นข้อความน้อยๆ ด้วยซ้ำ
นอกจากนี้ยังมีการทดลองแบบเดียวกัน
ตามมาอีกจำนวนหนึ่ง
ซึ่งให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกันครับ
*************
อีกการทดลองหนึ่ง
Sarah Peterson แบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม
ให้ศึกษาบทเรียนทางประวัติศาสตร์
โดยกลุ่มที่ 1
ให้เน้นข้อความสำคัญ
และทบทวนข้อความที่เน้นไว้ก่อนสอบ
กลุ่มที่ 2
ให้เน้นข้อความสำคัญ
แต่ทบทวนเนื้อหาที่ไม่มีการเน้นข้อความใดๆ
ก่อนสอบ
กลุ่มที่ 3
ศึกษาโดยไม่มีการเน้นข้อความใดๆ
และทบทวนเนื้อหาที่ไม่มีการเน้นข้อความใดๆ
ก่อนสอบเช่นกัน
ในคำถามที่ใช้สอบนักเรียน
ครึ่งนึงเป็นคำถามที่ถามข้อเท็จจริงในเนื้อหา
ปรากฏว่าทั้ง 3 กลุ่มทำได้พอๆ กัน
อีกครึ่งนึงของคำถาม
วัดการสรุปความเข้าใจในเนื้อหา
ปรากฏว่านักเรียนกลุ่มแรก
ที่เน้นข้อความตอนเรียนและทบทวน
ทำคะแนนได้แย่กว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 ด้วยซ้ำ
คุณคงมีคำถามในใจว่าทำไมนะ?
มีทฤษฎีนึงอธิบายว่า...
สาเหตุที่การเน้นข้อความไม่ได้ช่วยอะไร
เป็นเพราะมันจำกัดความสนใจของเรา
ให้พยายามแยกแยะความเป็นจริง
ซึ่งทำให้เรามองข้ามการเชื่อมต่อ
ของไอเดียต่างๆ ไปได้
นี่คือสาเหตุที่ทำให้นักเรียนตอบคำถาม
ด้านความเข้าใจในเนื้อหาไม่ดีเท่ากับ
กลุ่มที่เรียนรู้แบบไม่เน้นข้อความ
อีกปัญหาหนึ่งที่พบสำหรับการเน้นข้อความ
หรือขีดเส้นใต้ของนักเรียน คือ
เน้นข้อความมากเกินไป
ไม่สามารถแยกแยะไอเดียที่สำคัญจริงๆ
ออกมาได้นั่นเอง
ลองนำไปคิดดูนะครับ
ต่อไปเราจะอ่านหนังสือแบบเน้นข้อความดีหรือเปล่า?
เหรียญมักมี 2 ด้าน
ในดีมีเสีย ในเสียมีดีครับ
แล้วแต่เราจะพิจารณาด้านไหนครับ
โฆษณา