5 ส.ค. 2020 เวลา 01:22 • ความคิดเห็น
ว่าด้วยเรื่องของการกรองข้อมูลข่าวสารในยุคนี้
1
ทำไม ตำรวจ ถึงได้ พูดอะไร อย่างที่ชูวิทย์ พูดไม่ได้?
หลายๆ ครั้ง ที่เรา อ่านข่าว แล้วเราก็ สรุปเลย แน่ๆว่า ต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ ผู้รับผิดชอบ ออกมาพูดไปอีกเรื่อง หรือไม่ฟันธง จนเรา สงสัยมาก ว่า อะไรกัน เห็นอยู่ทนโท่ ยังไม่พูดความจริงอีก?
แต่เราเชื่อ สิ่งที่ คนที่เราเชื่อถือในเรื่องนั้นๆ เป็นต้น ว่า ชูวิทย์ทันที แม้จะเป็นเพียงการพูดลอยๆ
จริงๆ เรื่องนี้ มันก็มีหลายแง่มุม และ มีมุมกลับของมันเหมือนกันนะครับ
ด้วย ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ, ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และข้อกฎหมาย มัน เป็นสิ่งที่ค้ำคอ ผู้รับผิดชอบอยู่ การพูดอะไรตามความรู้สึกหรือกระแส อาจจะตกงาน พ่วง ติดคุกกันได้ง่ายๆ และ ในอีกแง่หนึ่ง ก่อนที่จะสรุป หรือพูดอะไรออกไป ก็ต้อง มี ข้อมูล หลักฐาน ที่ชัดเจน ไม่งั้นก็เงิบ แล้วเงิบอีก
เรื่องประเภทรีบสรุปเลย ว่า ไม่มีกล้องวงจรปิด ทั้งที่ ภาพ ปรากฎออกมาอย่างทนโท่ และ เป็นเรื่องสมเหตุ สมผล ที่บ่อน จะติดกล้องวงจรปิด อย่างละเอียด เพื่อป้องกัน การเล่นตุกติกของผู้เล่น มันก็ไม่มีใครเชื่อถืออ่ะครับ
ไม่ใช่แค่เรื่องนี้ แต่กับ อีกหลายๆ เรื่อง เช่นเรื่อง เครื่องบินตก ที่เมื่อก่อน มีคน มโน หลังเกิดเหตุ อย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องเป็นราว มีคำอธิบายเหตุการณ์ครบถ้วน ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ในขณะที่ เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน, เจ้าหน้าที่ทางการบิน ต้องตรวจสอบ ทุกอย่าง อย่างละเอียด ใช้เวลาอีกหลายเดือน หรือเป็นปี กว่าจะสรุป รายงาน หนาเป็นปึก ออกมา ซึ่งคนทั่วไป ก็ไม่มีใครไปอ่านอีก
ก็อาจจะคล้ายๆ กับ การที่คนทั่วไป ชอบความเท็จที่หอมหวาน มากกว่า ความจริง ที่ขม ต้องการเดี๋ยวนี้ จะเอาเดี๋ยวนี้ พวกโหนกระแสที่มีจิตวิทยาสูง หรือบางครั้งไม่ต้องสูง แค่ เขียนอะไรออกมา เกาะ กระแส ก็ได้รับความนิยมแล้ว
สมัยที่ผมเรียน มีหัวข้อหนึ่ง ที่ผมมองว่า มีความจำเป็นมากๆ ยิ่งยุคข้อมูลข่าวสาร ทะลัก ยิ่งมีความจำเป็นยิ่งขึ้น นั่นคือ การ แยกแยะ ข้อมูลที่เชื่อถือได้ ออกจาก ข้อมูลที่เชื่อถือไม่ได้ วิจารณญาณ แต่ละคน อาจจะแตกต่างกันออกไป แต่ ข้อมูลที่ได้ รับการพิสูจน์แล้ว มีหลักฐาน มีผลการทดสอบ ทดลองซ้ำๆ เยอะๆ ข้อมูล ที่สั่งสมมา ย่อมมีความน่าเชื่อถือ มากกว่า ข้อมูลแบบปากต่อปาก ที่พูดกันลอยๆ หรือแม้แต่ ผลการทดลอง หรือ เอกสารทางวิชาการ บางรายการ ก็ต้องไปดูในรายละเอียดด้วย ว่า ขอบเขตแค่ไหน และสรุป อยู่ภายในขอบเขต และเงื่อนไขไหน ไม่ใช่ ทำนิดเดียว แล้วสรุปแบบ ครอบจักรวาล อันนี้ ไม่ได้นะครับ
ถ้าเอาแบบละเอียดกว่านี้ การวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติ จะไปถึงขั้นว่า ข้อมูลนี้ มี % ความน่าเชื่อถือ (เชื่อมั่น) กี่% เพื่อประกอบการตัดสินใจกันเลยทีเดียว
สำหรับ ข่าวสารยุคโซเชียล แนะนำง่ายๆ ว่า ถ้ามีข่าว ประหลาดๆ
1. ให้ดูชื่อสำนักข่าวก่อน ถ้าประหลาดๆ ก็ให้เอ๊ะ ไว้ก่อน
2. ให้ตรวจสอบกับ สำนักข่าวใหญ่ๆ ก่อน ว่าลงข่าวเดียวกันไหม แต่ก็อาจจะมีกรณี ที่รับข่าวลวงจากแหล่งเดียวกัน แล้วเผยแพร่กัน ก็เป็นไปได้
3. รอสักพัก ไม่ต้องรีบร้อน เดี๋ยวจะมีคนไปขุดมาเอง ว่าภาพที่เอามาประกอบข่าวนั้น คือ ข่าวนั้นจริงๆ หรือไปเอาข่าวเก่า มาปั่น
สุดท้ายนี้ หลักกาลามสูตรครับ นำมาปรับใช้ได้เสมอกับทุกเรื่อง
กาลามสูตร 10 ประการ
1. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก
6. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน
7. อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
8. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเห็นรูปการณ์ว่าน่าจะเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา
ต่อเมื่อใดที่รู้ และเข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศล เป็นอกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
อ้างอิง
หนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ของ พระภาสกร ภูริวฑฒโน (ภาวิไล)
โฆษณา