7 ส.ค. 2020 เวลา 15:00 • สุขภาพ
อาจจะฟังดูแปลกนิดหน่อยที่คนทำงานสาย Digital จะมีอัตรา Burn Out มากกว่าคนทำงานสายอื่นทั้งๆ ที่สายงานดิจิทัลหรือเทคโนโลยียังเป็นสายงานที่ยังคงอยู่รอดได้ในช่วงนี้เป็นอันดับต้นๆ ทั้งค่าจ้างและ Job Security ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดีมากเมื่อเทียบกับสายงานท่องเที่ยวหรือการทำธุรกิจขนาดย่อม
หลังจากที่เราผ่านการปรับตัวระลอกใหญ่มาสักพัก (และอาจจะมีระลอกสองตามมารึเปล่าก็ต้องลุ้นกันไป) หลายๆคนเริ่มปรับตัวกับการทำงานแบบ New Normal ได้แล้ว แต่เชื่อว่าหลายคนคงจะมีความรู้สึกเหนื่อยกับการปรับตัวบ้างล่ะ
ไม่ใช่คุณคนเดียวที่คิดแบบนี้ จากการสำรวจคนพบว่าช่วงนี้คนทำงานต่างก็พร้อมใจกันเกิดอาการ Burnout โดยมิได้นัดหมาย โดยเฉพาะงานด้านสาย Tech และ Digital จากผลสำรวจในอเมริกาพบว่า Tech Worker 57% กำลังรู้สึกเหนื่อย หมดไฟในการทำงาน และจากการศึกษาโดยสมาคมจิตวิทยาอเมริกันยังมีข้อมูลว่า ประชาชนวัยผู้ใหญ่ในอเมริกาถึงในสี่ที่กล่าวว่าพวกเขารู้สึกเหนื่อยล้ากับการทำงานในช่วงเวลานี้เป็นพิเศษ
ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า Tech Worker ทำงานหนักสุดๆในช่วงเวลานี้ และการระบาดใหญ่ต่างก็มีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนทำงานทุกคนจนเรียกได้ว่าโควิดทำให้เกิด BurnOut Phenomenon ครั้งใหญ่
เรามาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด BurnOut Phenomenon บ้าง
1.คลื่นความแปรปรวนในช่วงต้นของการระบาด
ยังจำช่วงแรกๆ ที่เราได้ยินข่าวโควิดได้มั้ย ตอนนั้นเรารู้สึกยังไง? เราต้องผ่านช่วงเวลาแห่งความสิ้นหวังในเดือนแรกที่ผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นทุกวันๆ ไปทำงานด้วยความหวาดผวา ภาวนาว่าเมื่อไหร่จะ Lock Down ประเทศ นี่คือคลื่นลูกแรกที่นำความเครียดมาให้เรา
BurnoutIndex.org เครื่องมือประเมินอาการ Burn Out ฟรีโดย Yerbo ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสนับสนุนสถานที่ทำงานยืนยันปัญหาเหล่านี้กับพนักงาน 100,000 รายทั่วโลก
ตัวชี้วัดสี่ประการของอาการ Burn Out ได้แก่
- ความอ่อนเพลียและเหนื่อยล้า
การถูกถากถาง, ดูถูกในที่ทำงาน
- ขาดความเห็นอกเห็นใจและได้รับอารมณ์รุนแรง
- การสูญเสียประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
จากการสำรวจนี้พบว่า ช่วงต้นปีมีสัญญาณของความเหนื่อยล้าเพิ่มขึ้นในหมู่คนทำงาน (โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี) ในทั้งสี่ตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือปัจจัยเรื่องการใช้อารมณ์รุนแรง ซึ่งเพิ่มขึ้น 17% จะเห็นได้ว่าการที่ธุรกิจต้องเอาตัวรอดภายใต้ความกดดัน ทำให้คนทำงานระดับหัวหน้ามีความเครียดสูง และยังส่งผลอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิตของพนักงาน
2. การกู้คืนที่ไม่มีวันได้คืน
ไม่ใช่เพลง Getsunova แต่นี่คือเรื่องจริง กู้คืนในที่นี้หมายถึง การพยายามกอบกู้สถานการณ์เพื่อทำให้ทุกอย่างกลับไปเป็นเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นรายได้ ความมั่นคง หรือวิถีชีวิตการทำงานแบบเดิมที่เคยเป็น แต่แน่นอนการพยายามทำให้ทุกอย่างกลับคืนมานั้นช่างยากเย็นแสนเข็ญ
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา บางคนที่เคยโฟกัสแต่งานๆๆ ทำทุกอย่างไปตาม Routine เลยเริ่มกลับมามองตัวเองมากขึ้น เริ่มตั้งคำถามเพื่อหาความหมายในชีวิตการทำงานตั้งแต่เริ่มเกิดวิกฤติ เช่น การตั้งคำถามกับตัวเองว่า
“ฉันไม่แน่ใจว่าทำไมฉันจึงมาทำงาน”
“เราจะทำงานนี้ไปอีกเรื่อยๆจริงๆเหรอ”
“ชีวิตนี้ต้องการอะไรกันแน่”
นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนถึง Burn Out ช่วงนี้กันเยอะมากๆ
อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่จะ Burn Out ผลสำรวจยังพบเช่นกันว่า พนักงานบางส่วนยังคงรู้สึกผูกพันในการทำงานในองค์กรที่ปรับตัวและช่วยหาทางแก้ปัญหาให้พนักงาน รวมถึงมีบางส่วนที่สนุกกับการทำงานมากขึ้นเมื่อข้อจำกัดเรื่องระยะทางไม่ใช่ปัญหา และยังเปิดโอกาสได้ทดลองเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อนในหน้าที่การงาน ดังนั้นสังคมในที่ทำงานจึงสำคัญมากๆ ที่จะรักษาแรงใจของทุกคนให้เป็นปกติและมีแรงฮึดสู้ต่อ
ความเหนื่อยหน่ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งจากการสูญเสียความหมายในการทำงานมากเกินไปนั้นเกิดขึ้นกับทุกคนได้อยู่แล้ว แต่เจ้า Covid ก็คือตัวเร่งที่มาคนตะกอนตกค้างอยู่ในใจเราให้ขุ่นมัวขึ้นมาอีกครั้ง จึงไม่แปลกเลยทีหลาย ๆ คนช่วงนี้จะรู้สึกวิตกกังวล รู้สึกหมดไฟในการทำงาน CareerVisa ขอเป็นกำลังใจให้คนทำงานช่วงนี้ทุกคนให้ต่อสู้ผ่านไปได้
ช่องทางการติดตามข่าวสารจาก CareerVisa
LINE@: @CareervisaTH
ดาวน์โหลด Careervisa Application :
อ้างอิง Fastcompany
โฆษณา